Abstract:
วัตถุประสงค์ การวิจัย เพื่อ 1.) พัฒนาระบบการเรียนการสอน ( Instructional system) ฟิสิกส์พื้นฐานระดับอุดมศึกษาโดยการศึกษาบทเรียน (lesson study) และ 2.) ประเมินผลระบบการเรียนการสอนวิชาฟิสิกส์ พื้นฐานระดับอุดมศึกษา โดยการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์การเรียนและทัศนคติของผู้เรียนระหว่างก่อนและหลังเรียน และสอบถามความพึงพอใจของผู้เรียนต่อระบบการเรียนการสอนฟิสิกส์พื้นฐานระดับอุดมศึกษา ที่พัฒนาจากการวิจัยครั้งนี้
เครื่องมือ (instrument) เก็บรวบรวมข้อมูล คือ 1.) แบบวัด/ แบบทดสอบ ผลสัมฤทธิ์การเรียนวิชาฟิสิกส พื้นฐานระดับอุดมศึกษา 2.) แบบสอบถาม สาเหตุ/ปัจจัย ที่ส่งผลต่อการเรียนรู้ฟิสิกส์พื้นฐานระดับอุดมศึกษา 3.) แบบวัดทัศนคติของผู้เรียนต่อวิชาฟิสิกส์ และ 4.) แบบสอบถามความคิดเห็น/ พึงพอใจของผู้เรียน ต่อระบบการเรียนการสอนฟิสิกส พื้นฐานระดับอุดมศึกษา ซึ่งทุกฉบับมีค่าความเชื่อมั่นตามวิธีการของครอนบาค (Cronbach’s alpha coefficient) มากกว่า 0.80 กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้สอนและผู้เรียนฟิสิกส์ พื้นฐานระดับอุดมศึกษา ของมหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตจันทบุรี มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ระหว่างปีการศึกษา 2556-2557 โดยแบ่งเป็นกลุ่มให้ข้อมูลเพื่อออกแบบระบบฯ ประกอบด้วยผู้สอน 10 คน และ
ผู้เรียน 251 คน และกลุ่มทดลองใช้และปรับปรุงระบบประกอบด้วยผู้สอน 6 คน และผู้เรียน 215 คน ขั้นตอนการดำเนินการวิจัย
1. ศึกษาสภาพปัญหาการเรียนการสอนฟิสิกส ระดับอุดมศึกษาที่เป็นอยู่ โดยศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวของ สัมภาษณ ผู้สอน สัมภาษณ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการศึกษา สนทนากลุ่ม (Focus group) ผู้เรียนและผู้สอน ให้ผู้ที่กำลังเรียนหรือผ่านการเรียนฟิสิกส พื้นฐานระดับอุดมศึกษามาแล้วเขียนบรรยาย
เกี่ยวกับสภาพปัญหาการเรียนการสอนฟิสิกส ของตนเองขณะเรียนอุดมศึกษา
ส่งแบบสอบถาม สาเหตุ/ปัจจัยที่ส่งผลต่อ การเรียนรูปฟิสิกส์พื้นฐานระดับอุดมศึกษาไปยังผู้เรียนจำนวน 250 คน จากนั้นวิเคราะห ข้อมูลและสรุปเป็นสภาพปัญหาการเรียนการสอนฟิสิกส พื้นฐานระดับอุดมศึกษาที่เป็นอยู่ และแนวทางการจัดการเรียนการสอนฟิสิกส์ พื้นฐานระดับอุดมศึกษา
2. ออกแบบระบบการเรียนการสอนฟิสิกส พื้นฐานระดับอุดมศึกษา แล้วนำไปวิพากษ์ และปรับปรุงด้วยกระบวนการกลุ่มสนทนา (Focus Group) โดยผู้สอนและผู้เรียนซึ่งมาจากทั้ง 3 สถาบันกลุ่มตัวย่าง และผู้ทรงคุณวุฒิด้านการเรียนการสอนฟิสิกส์ จากสถาบันอุดมศึกษาต่าง ๆ ครอบคลุมทุกบริบทสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทย
3. ทดลองใช้ระบบการเรียนการสอนฟ0สิกส พื้นฐานระดับอุดมศึกษา โดยกระบวนการศึกษาบทเรียน โดยทดลองกับผู้เรียน 4 ครั้ง/รอบ ดังนี้
รอบที่ 1 กลุ่มผู้เรียนจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ธัญบุรี สาขาชีววิทยาประยุกต์ จำนวน 12 คน โดยทดลองต่อเนื่องให้ครบทุกขั้นตอนของระบบใช้เวลารวมประมาณ 8 ชั่วโมงหรือ 1 วัน ในวันเสาร หรืออาทิตย์ ซึ่งไม่มีการเรียนการสอนปกติ เพื่อป้องกันไม่ให้สิ่งต่าง ๆ รบกวนหรือส่งผลน้อยสุด รอบที่ 2 กลุ่มผู้เรียนจากมหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี สาขาสถิติจำนวน 13 คน และสาขาเกษตรศาสตร จำนวน 10 คน โดยทดลองภายใต้สภาพการเรียนการสอนปกติ ตามวันเวลาที่ตารางเรียนกำหนด โดยใช้ระยะเวลาประมาณ 2 สัปดาห ซึ่งระหว่างนี้อาจได้ผลกระทบจากปัจจัยและสิ่งรบกวนภายนอกในระหว่างการทดลอง
รอบที่ 3 กลุ่มผู้เรียนจากมหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตจันทบุรี สาขาเทคโนโลยีทางการเกษตรจำนวน 15 คน โดยทดลองภายใต้สภาพการเรียนการสอนปกติ ตามวันเวลาที่ตารางเรียนกำหนด โดยใช้ครึ่งภาคเรียน ช่วงหลัง ซึ่งระหว่างนี้อาจได้ผลกระทบจากปJจจัยและสิ่งรบกวนภายนอกในระหว่างการทดลอง
รอบที่ 4 กลุ่มผู้เรียนจากมหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตจันทบุรี สาขาเทคโนโลยีทางทะเล จำนวน 119 คน โดยทดลองภายใต้สภาพการเรียนการสอนปกติ ตามวันเวลาที่ตารางเรียนกำหนดต่อเนื่องตลอดภาคเรียน ซึ่งระหว่างนี้อาจได้ผลกระทบจากปัจจัย/ สิ่งรบกวนภายนอกระหว่างการทดลอง โดยการทดลองแต่ละครั้ง/รอบ จะมีผู้สอน 1 คน ผู้ช่วยสอน 1-2 คน และผู้วิจัย เพื่อสังเกตพฤติกรรมการเรียนของผู้เรียนและเก็บข้อมูลต่าง ๆ ระหว่างการทดลอง จากนั้นประเมินผลการทดลอง
โดยการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์การเรียนและทัศนคติต่อวิชาฟิสิกส ์ ระหว่างก่อนและหลังเรียนและความพึงพอใจ และปรับปรุงระบบฯ เพื่อนำไปทดลองในครั้ง/รอบ ถัดไปผลการทดลอง
1. ระบบการเรียนการสอนฟิสิกส์ พื้นฐานระดับอุดมศึกษาซึ่งได้จากการวิจัยครั้งนี้ มีดังนี้
แนวคิด/หลักการ
1.1 ด้านความสอดคล้อง ; ระบบฯ ต้อง สอดคล้องกับการเรียนการสอนฟิสิกส์ระดับอุดมศึกษา สอดคล้องกับทฤษฏีการเรียนรู้ผู้ใหญ่และสอดคล้องกัทฤษฏีการเรียนรูปของออซูเบล
1.2 ด้านความยึดหยุ่น ; ระบบต้องสามารถปรับ/ ประยุกต์ ใช้ได้กับมหาลัยได้ทุกแห่ง โดยเฉพาะนักศึกษาที่มีศักยภาพการเรียนฟิสิกส์ ระดับกลาง ซึ่งมีจำนวนมากและมีความตั้งใจ
1.3 สามารถนำ หลัก/ ทฤษฏี/ รูปแบบ/ วิธีสอน ฯลฯ มาร่วมหรือผสมผสานกับระบบฯ ได้
1.4 สามารถนำเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) มาผสมผสานกับระบบฯ ได้
1.5 สามารถพัฒนาทักษะต่าง ๆ เช่น ทักษะต่าง ๆ ในศตวรรษที่ 21
กลุ่มผู้เรียนเป้าหมาย
กลุ่มผู้เรียนที่มีความสามารถเรียนรู้ฟิสิกส์ ระดับปานกลาง ซึ่งปกติมีจำนวนมาก และเป็นกลุ่มที่แสวงหาวิธีการเรียนรู้ที่จะทำให้ตนเองเรียนรู้ฟิสิกส์ ดีขึ้นกว่าเดิม อย่างไรก็ตามระบบการเรียนการสอนฯ นี้ ยังคงใช้ได้กับผู้เรียนที่มีความสามารถเรียนรู้ฟิสิกส์ ระดับสูง และระดับต่ำด้วย เพียงแต่ต้องปฏิบัติตามวิธีการและขั้นตอนต่าง ๆ ของระบบการเรียนการสอนฯ อย่างจริงจัง สม่ำเสมอ โครงสร้างของระบบการเรียนการสอนฟิสิกส์ พื้นฐานระดับอุดมศึกษาระบบการเรียนการสอนฟิสิกส์ พื้นฐานระดับอุดมศึกษา ประกอบด้วย โครงสร้าง
ขั้นตอน และหน่วยต่าง ๆ ที่มีความสัมพันธ์กัน
2. ผลประเมิน การทดลองใช้ระบบการเรียนการสอนวิชาฟิสิกส์ พื้นฐานระดับอุดมศึกษา
2.1 ด้านผลสัมฤทธิ์การเรียน พบว่าผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์การเรียน หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
2.2 ด้านทัศนคติต่อวิชาฟิสิกส พบว่าหลังเรียนมีทัศนคติในทางดี (บวก) ต่อวิชาฟิสิกส์สูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
2.3 ด้านความคิดเห็น/พึงพอใจ ต่อระบบการเรียนการสอนฟิสิกส์ พื้นฐานระดับอุดมศึกษา พบว่า ผู้เรียนมีความคิดเห็น/พึงพอใจ ในระดับ “มาก”
3. ข้อสรุปสำคัญที่ได้จากการวิจัยครั้งนี้ มีดังต่อไปนี้
3.1 ผู้เรียนฟิสิกส์ พื้นฐานระดับอุดมศึกษาส่วนใหญ่อยู่ในระดับชั้นปีที่ 1 กำลังเข้าสู่วัยผู้ใหญ่เริ่มมีอิสระและความคิดเป็นตัวของตนเอง มีความรับผิดชอบมากขึ้น
ถ้าทราบเหตุผล/ ประโยชน์ ของวิชาฟิสิกส์ ว่ามีความหมายและความสำคัญอย่างไร จะส่งผลให้ความสนใจและตั้งใจเรียนเพิ่มมากขึ้น
3.2 ผู้เรียนฟิสิกส์ พื้นฐานแบ่งได้เป็น 3 กลุ่ม คือ
กลุ่มที่ 1 เป็นผู้เรียนที่มีความสามารถเรียนฟิสิกส์ระดับสูงซึ่งมีจำนวนไม่มาก มีพื้นฐานฟิสิกส์ค่อนข้างดี สามารถเรียนรู้ด้วยตนเองได้ ปกติจะมีวินัยในการเรียนดีมาก
กลุ่มที่ 2 เป็นผู้เรียนมีความสามารถเรียนฟิสิกส์ ระดับปานกลางซึ่งมีจำนวนมาก หรือประมาณมากกว่าร้อยละ 60 ของผู้เรียนทั้งหมด มีพื้นฐานฟิสิกส์ ไม่ดี แต่มีวินัยในการเรียนดีถึงดีมาก
กลุ่มที่ 3 เป็นผู้เรียนที่มีความสามารถเรียนฟิสิกส์ ระดับต่ำหรือต่ำมาก มีพื้นฐานฟิสิกส์ไม่ดีหรือต่ำมาก ทั่วไปจะมีวินัยในการเรียนไม่ดี ไม่สนใจ ไม่ตั้งใจเรียน
ไม่ทำการบ้าน ไม่อ่านทบทวน
3.3 ระบบการเรียนการสอนฟิสิกส์ พื้นฐานระดับอุดมศึกษา ซึ่งพัฒนาได้จากการวิจัยครั้งนี้ จะมีประสิทธิภาพมาก ถ้าผู้เรียนมีวินัยการเรียนสูงไม่ว่าผู้เรียนจะอยู่ในกลุ่มความสามารถเรียนฟิสิกส ์ ระดับ สูง ปานกลาง หรือต่ำ และจะยิ่งมีประสิทธิภาพมากขึ้นถ้าผู้สอนมีประสบการณ์ ในด้านการสอน
และการสร้างแรงจูงใจให้ผู้เรียน แต่ประสิทธิภาพจะน้อยลงเหลือเทียบเท่าการเรียนการสอนฟิสิกส์พื้นฐานทั่ว ๆ ไป ที่มีลักษณะผู้สอนเน้นการบรรยาย ผู้เรียนฟังและจดบันทึก