Abstract:
งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาแบบภาคตัดขวาง โดยมีการประเมินการรับสัมผัสสารเคมีในกลุ่ม Aromatic Hydrocarbons และรูปแบบการใช้ชีวิต รวมถึงการประเมินระดับไนตริคออกไซด์ของลมหายใจออกของตำรวจจราจรที่ปฏิบัติงานในเขตภาคตะวันออก โดยจำนวนตัวอย่างทั้งหมดในการศึกษามี 366 คน เป็นเพศชายทั้งหมด 100 % แบ่งเป็นกลุ่มศึกษา 186 คนและกลุ่มเปรียบเทียบ 180 คน กลุ่มศึกษามีอายุเฉลี่ย 44.90 ปี และ 34.66 ปี สำหรับกลุ่มเปรียบเทียบ กลุ่มศึกษามีสภาพการทำงานในแต่ละวันในหน้าที่หลักอยู่ระหว่าง 11- 12 ชั่วโมงต่อวัน ร้อยละ 42.5 และทำงาน 6 วันต่อสัปดาห์ ร้อยละ 37.1 มีการใช้อุปกรณ์ป้องกันระบบทางเดินหายใจทุกครั้งเพียงร้อยละ 20.4 โดยส่วนใหญ่มีการใช้ผ้าปิดจมูก ร้อยละ 80.7 และรู้จักอันตรายจากการสัมผัสสารเคมีในกลุ่ม Aromatic Hydrocarbons เพียงร้อยละ 10.8 เท่านั้น รูปแบบการใช้ชีวิตของกลุ่มศึกษา มีการรับประทานอาหารเช้า, ครบ 5 หมู่ และรับประทานผักทุกวัน (ร้อยละ 73.7, 24.2 และ 26.3 ตามลาดับ) มีชั่วโมงการนอนหลับปกติ 6 ชั่วโมง ร้อยละ 36.0 มีความเครียดที่ทำงาน (บ่อย ๆ รวมกับเป็นบางครั้ง) ร้อยละ 64.5 และกลุ่มศึกษารู้สึกมีความสุขเมื่อดูโดยรวม ร้อยละ 86.7 และพบว่าส่วนใหญ่มีคะแนนของรูปแบบการใช้ชีวิต อยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 86.0
ในการเก็บตัวอย่างอากาศใช้ Organic Vapor Monitor (3M 3500) ติดตัวบุคคลในระดับการหายใจของกลุ่มศึกษา พบว่า กลุ่มศึกษา (n=181) มีค่าเฉลี่ย ± ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของ Toluene 129.43 ± 38.906 ppb, Xylene 282.56 ± 57.536 ppb, Acetone 59.38 ± 21.916 ppb, Hexane 115.38 ± 51.926 ppb, Cyclohexane 150.78 ± 51.828 ppb และ Ethyl benzene 22.23 ± 66.189 ppb และมีการเก็บตัวอย่างปัสสาวะหลังสิ้นสุดการทำงาน พบว่า กลุ่มศึกษา (n=178) มีค่าเฉลี่ย ± ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของ Hippuric acid 457.04 ± 625.580 mg/g creatinine และ Methylhippuric acid 2.64 ± 23.524 mg/g creatinine และระดับไนตริคออกไซด์ของลมหายใจออกของกลุ่มศึกษา
(n =177) ส่วนใหญ่อยู่ในระดับต่า (< 25 ppb) ร้อยละ 84.2 มีค่าเฉลี่ย ± ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน17.60 ± 9.442 ppb นอกจากนี้เมื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของปริมาณระดับความเข้มข้นของสารเคมีในกลุ่ม Aromatic Hydrocarbons ระหว่างกลุ่มศึกษาและกลุ่มเปรียบเทียบ พบว่า สาร Toluene มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (p < 0.001) และพบว่าค่าเฉลี่ยปริมาณระดับไนตริคออกไซด์ของลมหายใจออกของกลุ่มศึกษาและกลุ่มเปรียบเทียบ มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (p =0.003) และเมื่อหาความสัมพันธ์พบว่าปริมาณระดับความเข้มข้นของสารเคมีในกลุ่ม Aromatic Hydrocarbons ในบรรยากาศการทำงานแบบติดตัวบุคคลและ Hippuric acid และ Methylhippuric acid กับปริมาณระดับไนตริคออกไซด์ของลมหายใจออกของกลุ่มศึกษาไม่มีความสัมพันธ์กัน แต่พบว่ารูปแบบการใช้ชีวิตกับปริมาณระดับไนตริคออกไซด์ของลมหายใจออกของกลุ่มศึกษามีความสัมพันธ์กัน (r=-0.149, p=0.048) จากผลการศึกษานี้ทำให้ตระหนักได้ว่า กลุ่มศึกษามีการสัมผัสสารเคมีในกลุ่ม Aromatic Hydrocarbons และปริมาณระดับไนตริคออกไซด์ของลมหายใจออกในขณะทางานและควรจัดให้มีโปรแกรมการส่งเสริมสุขภาพและการอบรมให้ความรู้ ความเข้าใจถึงอันตรายและวิธีการป้องกันของสารเคมีในกลุ่มดังกล่าวและสารไนตริคออกไซด์ของลมหายใจออกรวมถึงการแนะนำให้ใช้อุปกรณ์ป้องกันระบบทางเดินหายใจที่ถูกต้องและเหมาะสมต่อไป