Abstract:
งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาแบบภาคตัดขวาง โดยมีการประเมินการรับสัมผัสสาร Organic solvent และการประเมินสภาวะสุขภาพเบื้องต้น รวมถึงประเมินความสามารถในการทำงานโดย จำนวนตัวอย่าง
ทั้งหมดในการศึกษามี 250 คน เป็นเพศชายทั้งหมด 100 % แบ่งเป็นกลุ่มศึกษา 150 คนและกลุ่มเปรียบเทียบ 100 คน กลุ่มศึกษามีอายุเฉลี่ย 44.13 ปี และ 33.04 ปี สำหรับกลุ่มเปรียบเทียบ กลุ่มศึกษา
ในแต่ละวันส่วนใหญ่ทำหน้าที่หลักเกี่ยวกับการประมง น้อยกว่าหรือเท่ากับ 5 ชั่วโมงต่อวัน ร้อยละ 47.3 และทำงาน 7 วันต่อสัปดาห์ ร้อยละ 68.0 มีการใช้อุปกรณ์ป้องกัน ระบบทางเดินหายใจทุกครั้งเพียงร้อยละ 0.7 โดยส่วนใหญ่มีการใช้ผ้าปิดจมูก ร้อยละ 100.0 การ ประเมินสภาวะสุขภาพเบื้องต้น พบว่า ร้อยละ 70.0 ที่มีความสมบูรณ์ของเม็ดเลือดในภาพรวมปกติ ค่า SGOT ปกติ ร้อยละ 52.7 ค่า SGPT ปกติ ร้อยละ 78.7
การทำงานของไต โดยค่า BUN และ Creatinine ปกติ ร้อยละ 95.3 และ 92.0 ตามลำดับ และร้อยละ 76.0 สมรรถภาพปอดในภาพรวม ปกติ และระดับความสามารถในการทำงาน อยู่ในระดับดี ร้อยละ 70.0
ในการเก็บตัวอย่างอากาศใช้ Organic Vapor Monitor (3M 3500) ติดตัวบุคคลในระดับการ หายใจของกลุ่มศึกษา พบว่า กลุ่มศึกษา (n=150) มีค่าเฉลี่ย ± ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของ Toluene 26.17 ± 51.480 ppb, Xylene 247.55 ± 43.110 ppb, Acetone 49.56 ± 38.067 ppb และ Hexane 121.82 ± 177.847 ppb และมีการเก็บตัวอย่างปัสสาวะหลังสิ้นสุดการทำงาน พบว่า กลุ่มศึกษา (n=150) มีค่าเฉลี่ย ± ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของ Hippuric acid 382.85 ± 384.061 mg/g creatinine และ Methylhippuric acid 20.09 ± 96.495 mg/g creatinine นอกจากนี้การเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของ ปริมาณระดับความเข้มข้นของสาร Organic solvent ระหว่างกลุ่มศึกษาและกลุ่มเปรียบเทียบ พบว่า สาร Xylene มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (p = 0.029) และเมื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของความสามารถในการทำงานระหว่างกลุ่มศึกษาและกลุ่มเปรียบเทียบ พบว่า มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (p = 0.001) และเมื่อหาความสัมพันธ์ พบว่าปริมาณระดับความเข้มข้นของสาร Organic solvent ในบรรยากาศการท างานแบบติดตัวบุคคลและ Hippuric acid และ Methylhippuric acid กับความสามารถในการท างานของกลุ่มศึกษา
พบว่าไม่มีความสัมพันธ์กัน แต่พบว่า เกล็ดเลือด, FEV1, FEV1/FVC มีความสัมพันธ์กับความสามารถในการท างานของกลุ่มศึกษา (p = 0.027, p = 0.035 และ p = 0.022 ตามลำดับ)
จากผลการศึกษานี้ทำให้ตระหนักได้ว่า กลุ่มศึกษาควรได้รับการจัดให้มีโปรแกรมการส่งเสริมสุขภาพ การตรวจสุขภาพและการอบรมให้ความรู้ ความเข้าใจถึงอันตรายและวิธีการป้องกันของ สภาพแวดล้อม
ในการท างานรวมถึงการแนะนำให้ใช้อุปกรณ์ป้องกันระบบทางเดินหายใจที่ถูกต้อง และเหมาะสมต่อไปในขณะปฏิบัติงาน
This research was a cross sectional study. The objectives were to evaluate organic solvent exposure, metabolites, health examination and work ability among fishermen in Rayong province. We sampled 250 persons; 150 cases who worked as fishermen in Rayong province and 100 office workers were assigned as the controls. Mean of age of the cases was 44.13 years old; whereas mean age of controls was 33.04 years old. Forty seven point three percent of the case group worked less than or equal to 5 hours per day, 7 days per week (68.0%). Zero point seven percent always used respiratory protection; however, most of them used only cotton masks
(100.0%). Seventy point zero percent had normal blood cell count, normal SGOT (52.7%), normal SGPT (78.7%), normal kidney function (BUN 95.3% and Creatinine 92.0 %). Lung function test was normal (76.0%). Most of them had work ability at a good level (70.0%).
Air samples were measured by personal “Organic Vapor Monitor (3M 3500)” attached to the lapel of the cases. Results of the study group (n=150) showed average ± SD Toluene level of 26.17 ± 51.480 ppb, Xylene 247.55 ± 43.110 ppb, Acetone 49.56 ± 38.067 ppb and Hexane 121.82 ± 177.847 ppb. Urine samples were collected after the work shift. Results of urine samples (n=150) showed average + SD level of Hippuric acid at 382.85 ± 384.061 mg/g creatinine and Methylhippuric acid was 20.09 ± 96.495 mg/g creatinine. The average comparison of concentration of xylene was significantly different between the study and the control group at 0.05 significant level (p =0.029). However, the relationship between organic solvent, hippuric acid, methylhippuric acid and work ability of the study group were not significant. For the relationship between Plt, FEV1, FEV1/FVC and work ability of the study group were significant at 0.05 level (p=0.027, p=0.035 and p=0.022, respectively). The subjects of this study were fishermen in Rayong province; nevertheless we should be concerned about health promotion program and organize training in order to provide knowledge and understanding of the hazardous environment in the working place and protection. The authors recommended that the use of correct and suitable respiration protective equipment should be used.