DSpace Repository

ฟองน้ำทะเล: ดัชนีชี้วัดทางชีวภาพที่เป็นทางเลือกใหม่ในการใช้ตรวจติดตามมลพิษจากโลหะหนักบริเวณชายฝั่งทะเลภาคตะวันออกของไทย

Show simple item record

dc.contributor.author แววตา ทองระอา th
dc.contributor.author ฉลวย มุสิกะ th
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล
dc.date.accessioned 2019-03-25T09:08:43Z
dc.date.available 2019-03-25T09:08:43Z
dc.date.issued 2558
dc.identifier.uri http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1808
dc.description.abstract แผนงานวิจัยนี้ประกอบด้วย โครงการวิจัยย่อย 2 โครงการ คือ คุณภาพสิ่งแวดล้อมใน ถิ่นอาศัยของฟองน้ำทะเลบริเวณชายฝั่งทะเลภาคตะวันออกของไทย และ การติดตามการสะสม ของโลหะหนักในฟองน้ำทะเลบริเวณชายฝั่งทะเลภาคตะวันออกของไทย ระยะเวลาทําการศึกษา 2 ปี ระหว่างปี พ.ศ. 2557-2558 มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการใช้ฟองน้ำทะเลเป็นดัชนีชี้วัดทางชีวภาพ ในการตรวจติดตามมลพิษจากโลหะหนักบริเวณชายฝั่งทะเลภาคตะวันออกของไทย โดยทําการศึกษา ในพื้นที่ 3 บริเวณ คือ หมู่เกาะมัน และเกาะสะเก็ด จังหวัดระยอง และหมู่เกาะสีชัง จังหวัดชลบุรี รวม 7 สถานี มีการสํารวจและเก็บตัวอย่างน้ำทะเล ดินตะกอน และฟองน้ำทะเลรวมทั้งสิ้น 6 ครั้ง ระหว่างเดือนมกราคม พ.ศ. 2557 ถึง เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2558 ผลการศึกษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมในถิ่นอาศัยของฟองน้ำทะเล พบว่า คุณภาพน้ำทะเลใน บริเวณพื้นที่ศึกษา ส่วนใหญ่มีค่าอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพน้ำทะเลของไทยตามประเภทการใช้ ประโยชน์คุณภาพน้ำทะเลในแต่ละพื้นที่ ดังนี้ คุณภาพน้ำทะเลเพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ สําหรับพื้นที่หมู่เกาะมัน และคุณภาพน้ำทะเลเพื่อการอุตสาหกรรมและท่าเรือสําหรับพื้นที่เกาะ สะเก็ดและหมู่เกาะสีชัง ดินตะกอนมีสภาพเป็นด่าง โดยมีค่าความเป็นกรด-ด่างอยู่ในช่วง 8.1-9.2 มี ปริมาณสารอินทรีย์ค่อนข้างต่ำอยู่ในช่วง 0.2 - 2.1 % และส่วนใหญ่มีลักษณะเป็นดินทราย การสํารวจ ประชากรแพลงก์ตอนพืช พบทั้งสิ้น 85 สกุล แพลงก์ตอนพืชที่มีความชุกชุมมากที่สุดทุกสถานีและทุก เดือนที่สํารวจ คือ กลุ่มไดอะตอม บริเวณที่พบความหนาแน่นแพลงก์ตอนพืชสูงสุด คือ เกาะสะเก็ด รองลงมา คือ หมู่เกาะสีชัง และ หมู่เกาะมัน ตามลําดับ ความหลากหลายทางชีวภาพของฟองน้ำทะเล พบทั้งสิ้น 54 ชนิดจาก 41 สกุล 31 วงศ์ 10 อันดับ การสะสมโลหะหนัก 7 ชนิด ได้แก่ Cd, Cu, Fe, Hg. Ni, Pb และ Zn ในฟองน้ำทะเล จํานวน 20 ชนิด รวม 184 ตัวอย่าง พบว่า ฟองน้ำทะเลมีการสะสม Cd, Cu, Hg. Ni และ Zn ไว้ได้มากกว่า ความเข้มข้นของโลหะหนักดังกล่าวที่มีอยู่ในน้ำทะเลและในดินตะกอน ยกเว้น Fe และ Pb ซึ่งพบใน ดินตะกอนมากว่าในฟองน้ำทะเล และยังพบว่าในบริเวณเดียวกัน ฟองน้ำทะเลต่างชนิดกันมีการ สะสมโลหะหนักได้ต่างกันด้วย โดยฟองน้ำทะเลที่อาจจะใช้เป็นดัชนีชี้วัดทางชีวภาพในการตรวจ ติดตามมลพิษจากโลหะหนักได้ดีในบริเวณ หมู่เกาะมัน และ หมู่เกาะสีชัง คือ Petrosia (Petrosia) sp. “vase” และ Clathria (Thalysias) rein wardti และบริเวณเกาะสะเก็ด คือ Paratetilla bacca และ Oceanapia sagittaria เพราะเป็นฟองน้ำชนิดเด่นในพื้นที่ แต่อย่างไรก็ ตามควรได้มีการศึกษาในลักษณะนี้ซ้ำอย่างต่อเนื่องทั้งในบริเวณนี้และบริเวณอื่น ๆ ด้วย เพื่อเป็นการ ยืนยันผลและให้ได้ข้อมูลมากขึ้น เนื่องจากเป็นองค์ความรู้ที่ไม่พบว่ามีการรายงานมาก่อนในประเทศไทย th_TH
dc.description.sponsorship โครงการวิจัยประเภทงบประมาณเงินรายได้ จากเงินอุดหนุนจากรัฐบาล (งบประมาณแผ่นดิน) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2557-2558 en
dc.language.iso th th_TH
dc.publisher สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล มหาวิทยาลัยบูรพา th_TH
dc.subject ฟองน้ำทะเล th_TH
dc.subject มลพิษ th_TH
dc.subject โลหะหนัก th_TH
dc.subject สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา th_TH
dc.title ฟองน้ำทะเล: ดัชนีชี้วัดทางชีวภาพที่เป็นทางเลือกใหม่ในการใช้ตรวจติดตามมลพิษจากโลหะหนักบริเวณชายฝั่งทะเลภาคตะวันออกของไทย th_TH
dc.title.alternative Marine sponges: The new alternative bioindicators to monitor heavy metal pollution in the eastern coast of the gulf of Thailand en
dc.type Research
dc.author.email waewtaa@buu.ac.th
dc.author.email musika@buu.ac.th
dc.year 2558
dc.description.abstractalternative This research program was divided into 2 research projects as follows: 1) environmental quality in marine sponge habitats in the eastern coast of the Gulf of Thailand and 2) monitoring the heavy metals accumulation in marine sponges in the eastern coast of the Gulf of Thailand. The period of research program was 2 years from 2014-2015. This study aimed to investigate the use of marine sponges as bioindicator to monitor heavy metal pollution in the eastern coast of the Gulf of Thailand. Seawater, sediments and marine sponge samples were collected six times during January 2014 to November 2015 from 7 stations at Ko Mun and Ko Saket in Rayong province and Ko Si Chang in Chonburi province. The results of environmental quality in marine sponge habitats indicated that the water quality of the study areas was mostly still compiled with Thai Marine Water Quality Standard according to the classification of marine water in each study area. It was compiled with Class 1 natural resource preservation areas at Ko Mun and Class 5 industrial or ports zone at Ko Saket and Ko Si Chang. The sediments were alkaline (pH 8.1 - 9.2) with low organic matter contents (0.2 - 2.1%) and the sediment texture was mostly sand. Seventy eight genera of phytoplankton were recorded. The most abundance phytoplankton at every station and every month surveyed was diatom. The highest cell density of phytoplankton was found at Ko Saket followed by Ko Si Chang and Ko Mun, respectively. Species diversity of marine sponges was investigated and found 54 species of 41 genera, 31 families and 10 orders. The highest species diversity was found at Ko Si Chang (24 species), followed by Ko Mun (21 species) and Ko Saket (14 species), respectively. ccumulation of 7 heavy metals (Cd, Cu, Fe, Hg. Ni, Pb and Zn) in marine ponges was analyzed in 184 samples of 20 species. The results showed that marine sponges accumulated Cd, Cu, Hg. Ni and Zn more than accumulation in seawater and sediments, except Fe and Pb were accumulated in the sediments higher than accumulation in the marine sponges. In the same area, different species of marine sponges can accumulate heavy metals at different concentrations. The sponges that could be used as a bioindicator to monitor heavy metal pollution at Ko Mun and Ko Si Chang were Petrosia (Petrosia) sp. “vase” and Clathria (Thalysias) reinwardti. In addition, at Koh Saket, Paratetilla bacca and Oceanapia sagittari could be used as a bioindicator. This is because they were dominant species in the study areas. However, a continuous monitoring of heavy metals accumulation in marine sponges should be conducted within the study areas as well as other regions. This is to confirm the results and get more valuable data as no available information of heavy metals accumulated in marine sponges has been reported in Thailand en


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account