dc.contributor.author | ณัฐศุภา สิงหสุต | |
dc.contributor.author | กุลธิดา กล้ารอด | |
dc.contributor.author | คุณาวุฒิ วรรณจักร | |
dc.contributor.author | จันทร์ทิพย์ นามสว่าง | |
dc.contributor.author | นงนุช ล่วงพ้น | |
dc.contributor.author | พรพรหม สุระกุล | |
dc.contributor.author | พรพิมล เหมือนใจ | |
dc.contributor.author | พิมลพรรณ ทวีการ วรรณจักร | |
dc.contributor.author | ศิริรัตน์ เกียรติกูลานุสรณ์ | |
dc.contributor.author | อรชร บุญลา | |
dc.date.accessioned | 2025-07-03T01:18:03Z | |
dc.date.available | 2025-07-03T01:18:03Z | |
dc.date.issued | 2567 | |
dc.identifier.uri | https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/17471 | |
dc.description.abstract | ภายหลังจากการติดเชื้อโควิด-19 ผู้ป่วยส่วนมากจะพบกลุ่มอาการหลังติดเชื้อโควิด-19 ซึ่งส่งผลกระทบต่อระบบการทำงานต่างๆ ของร่างกาย เช่น ระบบทางเดินหายใจ ระบบหัวใจและหลอดเลือด ระบบประสาท และระบบทางเดินอาหาร นำไปสู่การลดลงของคุณภาพชีวิต ในผู้ป่วยที่ติดเชื้อไวรัสโควิด-19 อาจพบระดับความผิดปกติที่ต่างกันของสมรรถภาพทางกาย สมรรถภาพปอดและมีภาวะอาการที่คงอยู่ภายหลังจากการติดเชื้อโควิด-19 อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีการศึกษาใดในประเทศไทยที่สำรวจผลกระทบระยะยาวของภาวะอาการหลังโควิด-19 ที่มีต่อสมรรถภาพทางกาย สภาวะจิตใจ และคุณภาพชีวิต ในผู้ป่วยที่หายจากโรคโควิด-19 วัตถุประสงค์: เพื่อ 1) สำรวจอาการหลังโควิด-19 ที่เกิดขึ้นในผู้ป่วยที่หายจากโรคโควิด-19 ทางด้านร่างกาย ด้านจิตใจ คุณภาพชีวิต และภาวะอาการหลังโควิด-19 เพื่อศึกษาความสัมพันธ์และ/หรือตัวแปรทำนายระหว่างปัจจัยทางด้านร่างกาย ด้านจิตใจ คุณภาพชีวิต และภาวะอาการหลังโควิด-19 (การวิจัยระยะที่ 1) และ 2) เพื่อเปรียบเทียบภาวะอาการหลังโควิด-19 และสมรรถภาพร่างกายระหว่างกลุ่มผู้ป่วยที่มีและไม่มีรอยโรคหรือพยาธิสภาพในปอด (การวิจัยระยะที่ 2) วิธีดำเนินงานวิจัย: การวิจัยในระยะที่ 1 อาสาสมัครจะเป็นผู้ที่มีอายุมากกว่า 18 ปี จำนวน 460 คน ซึ่งหายจากการติดเชื้อโควิด-19 โดย ผู้เข้าร่วมวิจัยจะทำการตอบแบบสอบถามออนไลน์เกี่ยวกับข้อมูลพื้นฐาน ข้อมูลอาการและการรักษาในระหว่างการติดเชื้อโควิด-19 ข้อมูลภาวะอาการภายหลังติดเชื้อโควิด-19 รวมถึงแบบประเมินด้านร่างกาย ด้านจิตใจ และคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย เพื่อนำมาสร้างสมการตัวแปรในการทำนายระหว่างปัจจัยทางด้านร่างกาย ด้านจิตใจ คุณภาพชีวิต และภาวะอาการหลังโควิด-19 สำหรับการวิจัยในระยะที่ 2 อาสาสมัครจะเป็นผู้ที่มีอายุมากกว่า 18 ปี จำนวน 80 คน แบ่งเป็นผู้ป่วยกลุ่มสีเขียว (ไม่มีรอยโรคหรือพยาธิสภาพในปอด) จำนวน 40 คนและกลุ่มสีเหลือง/แดง (มีรอยโรคหรือพยาธิสภาพในปอด หรือกลุ่มเสี่ยง 608) จำนวน 40 คน ผู้ป่วยทั้งสองกลุ่มจะได้รับการตอบแบบประเมินเกี่ยวกับข้อมูลพื้นฐาน ข้อมูลอาการและการรักษาในระหว่างการติดเชื้อโควิด-19 ข้อมูลภาวะอาการภายหลังติดเชื้อโควิด-19 การทดสอบสมรรถภาพทางกายและสมรรถภาพปอด โดยทำการเก็บข้อมูลและติดตามผล จำนวนทั้งหมด 3 ครั้ง ได้แก่ ครั้งที่ 1 ระยะ 0 เดือน ครั้งที่ 2 ระยะ 3 เดือน และครั้งที่ 3 ระยะ 6 เดือน เพื่อเปรียบเทียบภาวะอาการหลังโควิดที่เกิดขึ้นภายหลังหายจากการติดเชื้อโควิด-19 และสมรรถภาพร่างกาย ระหว่างกลุ่มผู้ป่วยและช่วงระยะเวลาที่แตกต่างกัน ผลการศึกษา: ผลการวิจัยระยะที่ 1 พบว่า ภาวะอาการภายหลังติดเชื้อโควิด-19 ที่พบได้ในกลุ่มผู้ป่วยทุกระดับความรุนแรง คือ อาการล้าง่าย สำหรับผู้ป่วยกลุ่มสีแดงจะพบอาการปวดเมื่อยเนื้อตัวร่วมด้วย ในขณะที่ผู้ป่วยบางส่วนไม่มีอาการใดๆ จากการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างจำนวนภาวะอาการหลังโควิด-19 และปัจจัยทางด้านร่างกาย ด้านจิตใจ คุณภาพชีวิต พบว่า จำนวนการรักษาการติดเชื้อโควิด-19 ตามมาด้วยภาวะมวลกล้ามเนื้อน้อย จำนวนอาการระหว่างติดเชื้อโควิด-19 ระดับความหอบเหนื่อยขณะทำกิจกรรม ระดับความรุนแรงของโรคโควิดในระดับสีเหลือง และระดับกิจกรรมยามว่าง เป็นตัวแปรที่สามารถทำนายจำนวนภาวะอาการหลังโควิด-19 ในผู้ป่วยที่หายจากการติดเชื้อโควิด-19 ได้อย่างมีนัยสำคัญ (p<0.05) สำหรับผลการวิจัยระยะที่ 2 พบว่า ระยะทางที่ผู้ป่วยสามารถเดินได้ใน 6 นาทีในช่วงระยะ 3 เดือน และ 6 เดือน กลุ่มสีเหลือง/แดงมีระยะทางที่เดินได้ลดลงอย่างมีนัยสำคัญ เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มสีเขียว (p<0.05) เมื่อติดตามผลการศึกษาที่ระยะ 6 เดือน พบว่า จำนวนภาวะอาการหลังโควิด-19 จำนวนครั้งที่ผู้ป่วยสามารถลุกนั่งได้ใน 1 นาที เวลาที่ผู้ป่วยใช้ในการลุก-นั่ง 5 ครั้ง มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ เมื่อเปรียบเทียบกับระยะ 0 และ 3 เดือน (p<0.05) และเมื่อเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มสีเขียวและสีเหลือง/แดง พบว่า ตัวแปรด้านสมรรถภาพทางกายทั้งหมดมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ยกเว้นตัวแปรระดับกิจกรรมทางกายที่ไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p>0.05) สรุปผลการศึกษา: ปัจจัยที่ส่งผลต่อภาวะอาการหลังโควิด-19 ส่วนใหญ่เป็นปัจจัยทางด้านร่างกายเป็นหลัก และเกี่ยวข้องกับระดับความรุนแรงของโรคโควิด-19 โดยผลกระทบของระดับความรุนแรงของโรคโควิด-19 ส่งผลต่อภาวะอาการหลังติดเชื้อโควิดหลังจากติดเชื้อโควิด-19 และสมรรถภาพทางกายในกลุ่มผู้ป่วยที่หายจากการติดเชื้อโควิด-19 โดยกลุ่มสีเหลือง/แดงมีแนวโน้มที่จะได้รับผลกระทบทางสุขภาพภายหลังการติดเชื้อโควิด-19 มากกว่ากลุ่มสีเขียว | th_TH |
dc.description.sponsorship | ได้รับทุนอุดหนุนการวิจัย ประเภทเงินรายได้ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 คณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา | th_TH |
dc.language.iso | th | th_TH |
dc.publisher | คณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา | th_TH |
dc.subject | โควิด-19 (โรค) | th_TH |
dc.subject | อาการ (โรค) | th_TH |
dc.subject | โควิด-19 (โรค) -- ผู้ป่วย | th_TH |
dc.title | ภาวะอาการหลังโควิด-19 ในผู้ป่วยที่หายจากโรคโควิด-19 ในประเทศไทย | th_TH |
dc.title.alternative | Post-COVID-19 Syndrome in patients with Post-COVID-19 infection in Thailand | th_TH |
dc.type | Research | th_TH |
dc.year | 2567 | th_TH |
dc.description.abstractalternative | Introduction: After being infected with COVID-19, most patients will experience a range of post-infection symptoms that can impact various bodily systems such as the respiratory system, cardiovascular system, nervous system, and digestive system, leading to a decrease in quality of life. In patients with COVID-19, there may be varying levels of physical impairment, lung function impairment, and persistent symptoms following the infection. However, there has been no study in Thailand that investigates the long-term impact of post-COVID-19 symptoms on physical function, mental health, and quality of life in patients who have recovered from COVID-19. Aim of study: 1) To investigate the post-COVID-19 symptoms that occur in patients who have recovered from COVID-19 in terms of physical, mental, quality of life, and post-COVID-19 conditions, and study the relationships and/or predictors between physical, mental, quality of life, and post-COVID-19 conditions (Phase 1) and 2) To compare post-COVID-19 conditions and physical fitness between groups of patients with and without lung scarring or fibrotic changes (Phase 2). Results: Research findings from Phase 1 revealed that post-COVID-19 infection symptoms were found in patients of all severity levels. Common symptoms included fatigue presented in all groups. Patients in the severe group also experienced muscle aches. Some patients, however, did not exhibit any symptoms. From analyzing the relationship between the number of post-COVID-19 symptoms and physical, mental, and quality of life factors, the important variables were the number of COVID-19 treatments, followed by sarcopenia condition, the number of symptoms during COVID-19 infection, level of breathlessness during activities, the severity level of COVID-19 in the yellow category, and the level of leisure activities. These variables could significantly predict the number of post-COVID-19 symptoms in patients who have recovered from COVID-19. (p<0.05) For the results of the second phase of the research, six-minute walk distance (6MWD) at 3 and 6 months, was significantly decreased in the yellow/red group compared to the green group (p<0.05). When following up on the study results at 6 months, the number of post-COVID-19 symptoms, the number of one-minute sit to stand, and the time of five-time sit to stand, were significantly different compared to 0 and 3 months (p<0.05). When comparing the green and yellow/red groups, it was found that all physical fitness variables were significantly differences, except for the physical activity level variable (p>0.05). Conclusion: Factors that affect post-COVID-19 symptoms were mainly related to physical factors and associated with the severity of COVID-19. The impact of the severity of COVID-19 affects post-infection symptoms after contracting COVID-19 and physical function in the group of patients who have recovered from COVID-19. The yellow/red group is more likely to experience long-term health effects after COVID-19 infection compared to the green group. | th_TH |