DSpace Repository

จุลินทรีย์ทะเล: แหล่งใหม่ของสารตัวยาและผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร

Show simple item record

dc.contributor.author รวิวรรณ วัฒนดิลก th
dc.contributor.author ณิษา สิรนนท์ธนา th
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล
dc.date.accessioned 2019-03-25T09:08:38Z
dc.date.available 2019-03-25T09:08:38Z
dc.date.issued 2558
dc.identifier.uri http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1740
dc.description.abstract จากผลการดำเนินงานวิจัยทั้ง 6 โครงการย่อยในปีที่ 2 ซึ่งแต่ละโครงการวิจัยได้ดำเนินการวิจัยตามแผนงาน สรุปได้ดังนี้ ในปีที่ 2 ทำการเก็บตัวอย่างฟองน้ำทะเลบริเวณหมู่เกาะเต่า อ.เกาะพงัน จ.สุราษฎร์ธานีระหว่างวันที่ 24-24 เมษายน 2557 จำนวน 8 จุดสำรวจ พบมากที่สุด Order Haplosclerida(15 ชนิด(รองลงมาคือ Order Poeciloscleridaโดยพบฟองน้ำ Biemantrirhaphis(Topsent, 1897)รายงานเป็นครั้งแรกในน่านน้ำไทย และฟองน้ำ Clionaorientalis Thiele, 1900, Axinyssamertoni(Hentschel, 1912), CladocroceburaphaPutchakarn, de Weerdt, Sonchaeng& van Soest, 2004 รายงานเป็นครั้งแรกในพื้นที่หมู่เกาะเต่า จากนั้นทำการศึกษาฤทธิ์การยับยั้งเชื้อแบคทีเรียของเชื้อแบททีเรียที่แยกจากฟองน้ำทะเล พบว่าให้ผลที่น่าสนใจ ทำการแยกเชื้อแอคติโนมัยซีทจากตัวอย่างจากดินตะกอนป่าชายเลนของจังหวัดชุมพรสามารถแยกเชื้อแอคติโนมัยซีท 16 ไอโซเลท และเชื้อแอคติโนมัยซีท 24 ไอโซเลต ถูกแยกจากดินบริเวณป่าชายเลน ปากแม่น้ำพังราด จังหวัดระยอง จากข้อมูลทางสัณฐานวิทยาและ การวิเคราะห์ผนังเซลล์ทางเคมีแอคติโนมัยซีทจากทั้งสองบริเวณอยู่ในแฟมิลี Micromonosporaceaeได้แก่ Micromonspora, Salinispora, Spirilliplanesและ Virgisporangiumเป็นต้น ผลจากการทดสอบฤทธิ์ยับยั้งเชื้อจุลินทร์ทรีย์เบื้องต้นด้วยเทคนิค cross streak กับเชื้อ MRSA, Bacillus subtilis, Candida albicansพบแอคติโนมัยซีท 2 ไอโซเลต และ 4 ไอโซเลท จากจังหวัดชุมพรและระยองสามารถสร้างสารยับยั้งจุลินทรีย์ที่ทดสอบ ตามลำดับ ทำการปรับปรุงสายพันธุ์แอคติโนมับซีท 6 สายพันธุ์ (CH 54-8, A3-3, CP-PH 3-2, CP-PH 3-12, CH8-4A, และ RY 2-20)ด้วยการเหนี่ยวนำด้วยแสงอัลตราไวโอเลต พบว่าส่วนมากแต่ละสายพันธุ์มีการสร้างสารออกฤทธิ์ได้มากขึ้นเพียงเล็กน้อยยกเว้นแอคติโนมัยซีท RY 2-20 ที่สร้างสารลดลง และ CP-PH3-12 เป็นสายพันธุ์ที่สามารถสร้างสารที่สกัดได้จากทั้งภายในเซลล์และที่สร้างออกมาในอาหารเลี้ยงเชื้อมากขึ้นกว่าเดิม 6 เท่า และ 2 เท่าตามลำดับ ทำการทดสอบฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระกับสารสกัดของเชื้อแอคติโนมัยซีทที่แยกจากดินตะกอนป่าชายเลนของจังหวัดชุมพรและระยองพบว่าเชื้อแอคติโนมัยซีท 6 สายพันธุ์ แสดงฤทธิ์ฤทธิ์กำจัดอนุมูลอิสระ DPPH ได้แก่ CP-PH 3-2, CP-PH3-13, CP-PH 3-22, CP-PH 8-4B, CP3-1 และ RY2-20 โดยที่ CP-PH 3-22 มีฤทธิ์กำจัดอนุมูลอิสระ DPPH ดีที่สุด (IC50 74.04-+2.1 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร) ขณะที่สายพันธุ์ CP-PH 3-2, CP-PH 3-13, CP-PH3-22 และ RY2-20 ออกฤทธิ์กำจัดอนุมูลอิสระ ABTS ดีที่สุด โดยมีค่า IC50 เท่ากับ 63.3-+6.9, 55.21-+1.3, 74.04-+2.1 และ 66.12-+5.4 ไมโครกรัมต่อมิลลิตร ตามลำดับ ส่วนของเชื้อแอคติโนมัยซีทที่แสดงฤทธิ์ต้านเชื้อจุลินทรีย์ที่น่าสนใจ ได้แก่ เชื้อ CH54-5,A1-3 ซึ่งแยกได้จากดินป่าชายเลน จ.จันทบุรีและดินชายฝั่งทะเล จ.ชลบุรี แสดงฤทธิ์ที่รุนแรงต่อการยับยั้งเชื้อ Staphylococcus aureusและ Candida albicans(inhibcans zone 19.25, 19.64; 13.75,7.1 mm ตามลำดับ) ทำการแยกสาร antibiotic pigment จากสารสกัดเชื้อ A1-3 ผลอยู่ในระหว่างการแปลโครงสร้างและประเมินฤทธิ์การยับยั้งเชื้อ นอกจากนี้ได้ทำการศึกษาชนิดกรดไขมันจากเชื้อแอคติโนมัยซีทจากดินป่าชายเลน จ.ชุมพร พบปริมาณรวมกรดไขมันสูงสุดในตัวอย่าง CP-PH 3-9 ปริมาณร้อยละ 41.96 กรดไขมันเป็นชนิดอิ่มตัว (SFAs: 37.63 %TFA)ชนิดกรดไขมันหลักที่พบ ได้แก่ Palmitic acid (C16:0)และ Stearic acid (C18:0)ส่วนกรดไขมันชนิดไม่อิ่มตัวเชิงซ้อน (PUFAs)พบในปริมาณที่ต่ำโดยกรดไขมันชนิดจำเป็น Linoleic acid (C18:2n6)พบในตัวอย่าง CP-PH 8-8 ปริมาณ (0.86-+0.03%TFA)และ a-linolenic acid (C18:3n3)พบในตัวอย่าง CP-PH3-9 ในปริมาณ 0.29-+0.02%TFA จากการนำผลของการเลี้ยงยีสต์ Pichia sp. ไปประยุกต์ใช้ในการเตรียมอาหารปลาสูตรต่างๆเพื่อการศึกษาการเปลี่ยนแปลงระบบภูมิคุ้มกันเบื้องต้นของปลากะพงขาว ผลการทดลองแสดงให้เห็นว่าปรสิต C.lrritansระยะ therontเชื้อตาย และยีสต์ Pichia sp. สามารถกระตุ้นให้ปลาตอบสนองต่อแอนติเจนโดยสร้างแอนติบอดีเพิ่มขึ้น ในปีที่ 2 นี้ได้ดำเนินการจัดฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการการถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านความหลากหลายทางชีวิภาพและเคมีผลิตภัณฑ์ธรรมชาติของจุลินทรีย์ทะเลและฟองน้ำทะเล สัญจรสู่โรงเรียนต่างๆในเขตจังหวัดชลบุรี ได้แก่ โรงเรียนสาธิต “พิบูลบำเพ็ญ” มหาวิทยาลัยบูรพา โรงเรียนสิงห์สมุทร และโรงเรียนชลราษฏรอำรุง เป็นโครงการที่จัดขึ้นโดยคณะผู้วิจัยจากแผนวิจัย “จุลินทรีย์ทะเล: แหล่งใหม่ของสารตัวยาและผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร” ในช่วงเดือนสิงหาคม 2557 โดยมีวัตถุประสงค์สำคัญ 2 ประการ คือ 1) เพื่อถ่ายทององค์ความรู้ที่ได้จากงานวิจัยด้านความหลากหลายทางชีวภาพและเคมีผลิตภัณฑ์ธรรมชาติของจุลินทรีย์ทะเลและฟองน้ำทะเลสู่โรงเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายในเขตจังหวัดชลบุรี 2) เพื่อพัฒนาแนวคิดและทักษะด้านวิทยาศาสตร์ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย โดยโครงการอบรมดังกล่าว กลุ่มเป้าหมายเป็นคณะครูและนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายสายวิทยาศาสตร์ จำนวน 450 คน ปรากฏว่ามีผู้เข้าร่วมโครงการจากโรงเรียนสาธิต “พิบูลบำเพ็ญ” จำนวน 62 คน โรงเรียนสิงห์สมุทร จำนวน 158 คน และโรงเรียนชลราษฏรอำรุง จำนวน 189 คน รวมทั้งสิ้น 409 คิดเป็นร้อยละ 409 คิดเป็นร้อยละ 90.89 ซึ่งถือว่าบรรลุผลได้ตามตัวชี้วัดด้านปริมาณที่กำหนดไว้ และจากการประเมินผลความพึงพอใจต่อการจัดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ ปรากฎว่ามีผู้ตอบแบบประเมินจำนวน 346 คิดเป็ยร้อยละ 84.59 ของผู้เข้าร่วมโครงการอบรมฯ ซึ่งผลการประเมินความพึงพอใจอยู่ในระดับมากด้วยค่าคะแนนเฉลี่ย 4.07 ถือว่าบรรลุได้ตามตัวชี้วัดด้านผลตอบรับ ที่กำหนดระดับความพึงพอใจไว้ที่ระดับมาก th_TH
dc.language.iso th th_TH
dc.publisher สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล มหาวิทยาลัยบูรพา th_TH
dc.subject จุลินทรีย์ทะเล th_TH
dc.subject ตัวยา th_TH
dc.subject ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร th_TH
dc.subject สาขาวิทยาศาสตร์เคมีและเภสัช th_TH
dc.title จุลินทรีย์ทะเล: แหล่งใหม่ของสารตัวยาและผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร th_TH
dc.title.alternative Marine microbes: as the new source for drug agents and food supplements en
dc.type งานวิจัย
dc.year 2558


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account