DSpace Repository

กรรมการบริษัททับซ้อน : ข้อได้เปรียบหรือข้อเสียเปรียบสำหรับองค์กรมหาชน

Show simple item record

dc.contributor.author ธงชัย ศรีวรรธนะ
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. วิทยาลัยพาณิชยศาสตร์
dc.date.accessioned 2019-03-25T08:45:54Z
dc.date.available 2019-03-25T08:45:54Z
dc.date.issued 2552
dc.identifier.uri http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/173
dc.description.abstract งานวิจัยชิ้นนี้ถูกออกแบบให้มีการศึกษาและเก็บข้อมูลทั้งในเชิงปฐมภูมิและทุติยภูมิ เป็นการวิจัยเชิงปริมาณเสริมด้วยการวิจัยเชิงคุณภาพ มีคำถามวิจัยเริ่มต้นที่ว่าการมีเครือข่ายกรรมการทับซ้อนในรูปแบบใด (เครือข่ายแบบแน่แเฟ้น หรือเครือข่ายแบบหลวม) จะส่งผลต่อระดับรายได้และกำไรของบริษัทมหาชนตามรายชื่อในตลาดหลักทรัพย์หรือไม่และในระดับใด ในการเก็บข้อมูลเพื่อทดสอบสมมติฐาน นักวิจัยได้เก็บข้อมูลประชากรบริษัทจดทะเบียนในนตลาดหลัทรัพย์จำนวน 491 บริษัท โดยพิจารณารายชื่อกรรมการบริษัททั้งหมดจำนวน 7,135 ตำแหน่งระหว่างปี 2003 ถึง 2008 มีการจัดเก็บข้อมูลผลการดำเนินการทางการเงินของปีถัดมาเพื่อสะท้อนผลกระทบของลักษณะกรรมการซับซ้อน มีการเก็บข้อมูลของตัวแปรควบคุม คือ ขนาดสินทรัพย์ กรรมการบริษัทภายนอก และจำนวนกรรมการทับซ้อนภายใน ผลงานวิจัยพบว่าเครือข่ายกรรมการทับซ้อนแบบแน่นแฟ้นส่งผลในทิศทางบวก ในขณะที่เครือข่ายกรรมการทับซ้อนแบบหลวมส่งผลในทิศทางลบต่อผลการดำเนินการทางการเงินของบริษัทมหาชนที่ทำการศึกษาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ผลการวิจัยเชิงคุณภาพนำเสนอภาพที่มีของกรรมการทับซ้อนที่น่าสนใจ ว่ากรรมการทับซ้อนเป็นเรื่องปกติที่เกิดขึ้นได้ เป็นการสร้างการยอมรับของสังคมมากกกว่าสร้างความได้เปรียบด้านอื่นๆ กรรมการทับซ้อนที่นั่งหลายองค์กรมากเกินไป (สร้างเครือข่ายแบบหลวม) ไม่น่าจะทำประโยชน์ได้เต็มที่โดยเฉพาะถ้าเป็นกรรมการบริหารเต็มเวลา เครือข่ายกรรมการทับซ้อนแบบแน่นแฟ้นในเครือข่ายองค์ขนาดใหญ่ที่มีองค์ความรู้ใกล้เคียงกันเป็นประโยชน์ในเรื่องของการตรวจสอบและการแชร์องค์ความรู้เชิงลึกระหว่างสมาชิก ทำให้องค์กรน่าจะสามารถนำองค์ความรู้ดังกล่าวไปใช้ประโยชน์และส่งผลให้ผลการดำเนินการทางการเงินพัฒนาในทางที่ดีขึ้นได้ งานวิจัยได้อภิปรายผลการวิจัยโดยวิเคราะห์ในเชิงลึกถึงบริษัทมหาชนที่ถือหุ้น โดยภาครัฐ วิเคราะห์เครือข่ายกรรมการทับซ้อนระหว่างประเทศไทยและประเทศต่างๆมีการนำเสนอรายชื่อกรรมการทับซ้อนที่มีชื่อมากกว่าสามบริษัทมหาชนในปี 2008 จากนั้นทำการวิเคราะห์ผลกระทบตามพระราชบัญญัติการแข่งขันทางการค้า พ.ศ.2542 และได้อภิปรายถึงการตรวจสอบความถูกต้องภายในและภายนอกของเครื่องมือวิจัย ได้มีการนำสนอแนวทางในการบริหารและจัดการเครือข่ายกรรมการทับซ้อนตามมุมมองหลักบรรษัทภิบาลอันเป็นมาตราฐานสากล อภิปรายถึงการต่อยอดทางวิชาการ ข้อจำกัดของงานวิจัยต่างๆ และนำเสนอบทสรุปเป็นการปิดท้าย Abstract This research collected primary and secondary data using quantitative research techniques triangulated by qualitative method. The main research question is to explore impacts of strong and weak interlocking directors (7135 names) who appeared to sit as board of directors in 491 public firms during 2003 and 2008, the research recorded firms’ financial performances and lagged them for one year to reflect the impacts of interlocking directorate networks. Additionally, total assets, number of outside director, directorship duality were controlled for their contributions toward financial performances. The statistical results confirmed most hypotheses indicating that strong-tie networks of interlocking directorates significantly contribute positively toward public firms’ financial outcomes whereas the weak-tie network of interlocking directorates hampered the financial outcomes. Qualitative research provided interesting pictures portraying that interlocking directorates are typical efforts of public firms in gaining social legitimacy rather than building competitive advantage. Most director agreed that busy directors (i.e., directors who working for weak-tie networks) do not fully contribute to firms’ performance, particularly if they involve in one of the full- time managerial positions. Strong-tie network of interlocking directorates, on the other hand, can be very be very beneficial in terms of monitoring and controlling firm’s performances. This research discusses interesting aspects of publicly traded government enterprises, compares interlocking directorates in Thailand and other developed countries, and presents details of interlocking directorates who sit on more than three public firms in 2008. Further, impacts of interlocking directorates are reviewed using concepts from Thailand’s antitrust act issued in B.E. 2542. The research also explains its limitation and its internal and external validities, proposes managerial guidelines which follow concepts of corporate governance, and ends with overall conclusions. th_TH
dc.description.sponsorship ได้รับทุนอุดหนุนการวิจัยประเภทโครงการสนับสนุนการวิจัยเพื่อส่งเสริมการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจและสังคม ประจำปี 2552 จากสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ en
dc.language.iso th th_TH
dc.publisher วิทยาลัยพาณิชยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา th_TH
dc.subject การกำกับดูแลกิจการ th_TH
dc.subject คณะกรรมการบริษัท th_TH
dc.subject บริษัท - - การบริหาร th_TH
dc.subject สาขาเศรษฐศาสตร์ th_TH
dc.title กรรมการบริษัททับซ้อน : ข้อได้เปรียบหรือข้อเสียเปรียบสำหรับองค์กรมหาชน th_TH
dc.title.alternative Interlocking directorates: advantages or liabilities for public firms en
dc.type Research th_TH
dc.year 2552


Files in this item

Files Size Format View

There are no files associated with this item.

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account