dc.contributor.advisor | ปรีดี ลีลาเศรษฐวงศ์ | |
dc.contributor.author | บุษบา เชิดชู | |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยบูรพา. วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ | |
dc.date.accessioned | 2025-01-21T08:15:03Z | |
dc.date.available | 2025-01-21T08:15:03Z | |
dc.date.issued | 2556 | |
dc.identifier.uri | https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/17381 | |
dc.description | ปัญหาพิเศษ(รป.ม.) -- มหาวิทยาลัยบูรพา, 2556 | |
dc.description.abstract | การศึกษาเรื่อง แรงจูงใจในการปฏิบัติของข้าราชการองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขต อำเภอขลุง จังหวัดจันทบุรี มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของข้าราชการ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอขลุง จังหวัดจันทบุรี และเปรียบเทียบแรงจูงใจใน การปฏิบัติงานของของข้าราชการองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอขลุง จังหวัดจันทบุรี จำแนกตาม เพศ อายุ ระดับการศึกษา ระดับตำแหน่ง และรายได้ โดยเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง คือ ข้าราชการองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอขลุง จังหวัดจันทบุรี จำนวน 125 คน กำหนด ขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรคำนวณของ ยามาเน่ (Yamane) และทำการสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม ส่วนการวิเคราะห์ข้อมูลนั้นใช้สถิติ ค่าความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) ค่าสถิติ t-test สำหรับเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างตัวแปรอิสระที่มี 2 กลุ่มและใช้ สถิติ One-way ANOVA สำหรับเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างตัวแปรอิสระที่มี 3 กลุ่มขึ้นไป โดยกำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลการศึกษาพบว่า ข้าราชการมีแรงจูงใจในการปฏิบัติของข้าราชการองค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอขลุง จังหวัดจันทบุรี โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก อันดับแรกคือ ด้านความสำเร็จในการทำงานของบุคคล รองลงมาคือ ด้านความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน ด้านลักษณะของงานที่ปฏิบัติ ด้านการได้รับการยอมรับนับถือ ด้านสภาพการทำงานและความมั่นคง ด้านความรับผิดชอบ ด้านการปกครองบังคับบัญชา ด้านความก้าวหน้า ด้านนโยบายและการบริหาร และด้านผลประโยชน์ตอบแทน มีภาพรวมอยู่ในระดับน้อย ตามลำดับ ผลการทดสอบสมมติฐาน เพื่อเปรียบเทียบแรงจูงใจในการปฏิบัติของข้าราชการองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอขลุง จังหวัดจันทบุรี จำแนกตามสถานภาพส่วนบุคคล พบว่า ข้าราชการที่มีเพศ อายุ ระดับตำแหน่งและ รายได้ต่างกันมีแรงจูงใจการปฏิบัติงานไม่แตกต่างกัน จึงปฏิเสธสมมติฐานการวิจัย ส่วนข้าราชการ ที่มีระดับการศึกษาต่างกัน มีแรงจูงใจการปฏิบัติงานแตกต่างกัน จึงยอมรับสมมติฐานการวิจัย | |
dc.language.iso | th | |
dc.publisher | วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ. มหาวิทยาลัยบูรพา | |
dc.rights | มหาวิทยาลัยบูรพา | |
dc.subject | มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการจัดการภาครัฐและภาคเอกชน | |
dc.subject | การปกครองท้องถิ่น -- บุคลากร -- ความพอใจในการทำงาน | |
dc.subject | แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ | |
dc.title | แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของข้าราชการองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอขลุง จังหวัดจันทบุรี | |
dc.title.alternative | Work motivation of civil servants at local administrative organizations in Khlung district, Chanthaburi province | |
dc.type | Thesis | |
dc.description.abstractalternative | This study aims 1) to examine level of work motivation of civil servants at the Local Administrative Organizations under the responsibility of Khlung district, Chanthaburi province and 2) to compare work motivation of the studied civil servants classified by sex, age, educational level, position, and salary. Questionnaire is used as data collecting tool. The samples, derived from implementation of Taro Yamane’s formula and simple sampling, consist of 125 civil servants at Local Administrative Organizations in Khlung district, Chanthaburi province. Statistics used for data analysis are frequency, percentage, mean, standard deviation, t-test, and One-way ANOVA at statistical significance of .05. The findings show that holistically the level of work motivation of the civil servants at Local Administrative Organizations in Khlung district, Chanthaburi province is rated high. When considering by aspect, it is found that all aspects including work achievement, interpersonal relation, work features, recognition, working conditions and security, responsibility, supervision, advancement, policy and administration, and remuneration are rated low, respectively. The comparison of work motivation of the studied civil servants shows that the motivation of the personnel with differences of sex, age, position, and salary is not different, but the work motivation of the civil servants with the difference of educational level is different. | |
dc.degree.level | ปริญญาโท | |
dc.degree.discipline | การจัดการภาครัฐและภาคเอกชน | |
dc.degree.name | รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต | |
dc.degree.grantor | มหาวิทยาลัยบูรพา |