DSpace Repository

ชุมชนฟองน้ำทะเลและเอคไคโนเดิร์มกับความแปรผันของสภาพภูมิอากาศในพื้นที่ปกปักพันธุกรรมพืชทางทะเล หมู่เกาะแสมสาร จังหวัดชลบุรี

Show simple item record

dc.contributor.author สุเมตต์ ปุจฉาการ
dc.contributor.author คมสัน หงภัทรคีรี
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล
dc.date.accessioned 2019-03-25T09:08:37Z
dc.date.available 2019-03-25T09:08:37Z
dc.date.issued 2558
dc.identifier.uri http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1735
dc.description.abstract จากการสำรวจติดตามการเปลี่ยนแปลงของชุมชนฟองน้ำทะเลและเอคไคโนเดิร์มในพื้นที่ปกปักพันธุกรรมพืชทางทะเล เกาะแสมสารและเกาะใกล้เคียง อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี ในปีงบประมาณ 2557 ตั้งแต่เดือนมกราคม 2557 ถึงเดือนธันวาคม 2557 จ้านวน 18 สถานีสำรวจ โดยการดำน้ำแบบเครื่องช่วยหายใจใต้น้ำตามเส้นสำรวจเป็นระยะทาง 100 เมตร จากการสำรวจ พบฟองน้ำทะเลทั้งหมด 12 ชนิด จาก 12 สกุล 11 วงศ์ และ 4 อันดับ ฟองน้ำเหล่านี้เป็นฟองน้ำที่พบได้ทั่วไปในบริเวณอ่าวไทยฝั่งตะวันออกและเขตอินโดแปซิฟิค ฟองน้ำทะเลที่พบมีการแพร่กระจายมากที่สุดคือ Monanchora unguiculata โดยพบทุกสถานี และมีความหนาแน่นมากที่สุดคือ 13.22 โคโลนีต่อ 100 ตารางเมตร กลุ่มของฟองน้ำที่พบมากที่สุดคือ Order Poecilosclerida พบ 6 ชนิดซึ่งเป็นฟองน้ำที่เคลือบตามวัตถุใต้น้ำ รองลงมาคือ Order Haplosclerida 3 ชนิด รูปแบบการแพร่กระจาย ของฟองน้ำทะเลพบว่า ฟองน้ำทะเล 6 ชนิดที่มีแบบแผนการกระจายแบบอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม, 5 ชนิดที่มีแบบแผนการกระจายแบบสม่ำเสมอ และ 1 ชนิดที่มีแบบแผนการกระจายแบบอิสระ ความมากชนิดมีค่าเฉลี่ยทุกสถานีเท่ากับ 6.4 ชนิด ดัชนีความสม่ำเสมอมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 0.721 ดัชนีความหลากหลายทางชีวภาพมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 1.291 จากการวิเคราะห์โครงสร้างของชนิดฟองน้ำทะเลในแต่ละพื้นที่ศึกษาโดยการจัดกลุ่มความคล้ายคลึงกันที่ระดับความคล้ายคลึงกัน 75% สามารถแบ่งชุมชนของฟองน้ำได้ออกเป็น 11 กลุ่มคือ กลุ่มที่ 1 ประกอบด้วย 5 สถานีสำรวจ กลุ่มที่ 2 ประกอบด้วย 4 สถานีสำรวจ และกลุ่มที่ 3-11 มี 1 สถานีสำรวจเท่ากัน ส้าหรับเอคไคโนเดิร์มพบ 10 ชนิดจาก 4 กลุ่มประกอบด้วย ดาวขนนก 1 ชนิด ดาวทะเล 1 ชนิด เม่นทะเล 5 ชนิดและปลิงทะเล 3 ชนิด เอคไคโนเดิร์มที่พบเป็นชนิดที่พบทั่วไปในแนวปะการังในอ่าวไทย เอคไคโนเดิร์มที่มีการแพร่กระจายมากที่สุดคือ Diadema setosum โดยพบทุกสถานีและมีความชุกชุมมากที่สุด 71.39 ตัวต่อ 100 ตารางเมตร รูปแบบการแพร่กระจายของเอคไคโนเดิร์มพบว่า 7 ชนิดที่มีแบบแผนการกระจายแบบสม่ำเสมอ และ 3 ชนิดที่มีแบบแผนการกระจายแบบอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม ความมากชนิดมีค่าเฉลี่ย 3.4 ชนิด ดัชนีความสม่ำเสมอมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 0.346 ค่าดัชนีความหลากหลายทางมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 0.415 จากการวิเคราะห์โครงสร้างของชนิดเอคไคโนเดิร์ม สามารถแบ่งชุมชนของเอคไคโนเดิร์มได้ออกเป็น 7 กลุ่มคือ กลุ่มที่ 1 ประกอบด้วย 10 สถานีสำรวจ กลุ่มที่ 2 และกลุ่มที่ 3 มี 2 สถานีเท่ากัน และกลุ่มที่ 4 – กลุ่มที่ 7 1 สถานีเท่ากัน คุณภาพน้ำทะเลในบริเวณพื้นที่ศึกษามีค่าเฉลี่ยอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพน้ำทะเล ประเภทที่ 1 คุณภาพน้ำทะเลเพื่อ การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ th_TH
dc.description.sponsorship โครงการวิจัยทุนอุดหนุนการวิจัยงบประมาณเงินรายได้ (เงินอุดหนุนจากรัฐบาล) ประจ้าปี 2557 en
dc.language.iso th th_TH
dc.publisher สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล มหาวิทยาลัยบูรพา th_TH
dc.subject ความผันแปรสภาพภูมิอากาศ th_TH
dc.subject ฟองน้้าทะเล th_TH
dc.subject เอคไคโนเดิร์ม th_TH
dc.subject หมู่เกาะแสมสาร th_TH
dc.subject สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา th_TH
dc.title ชุมชนฟองน้ำทะเลและเอคไคโนเดิร์มกับความแปรผันของสภาพภูมิอากาศในพื้นที่ปกปักพันธุกรรมพืชทางทะเล หมู่เกาะแสมสาร จังหวัดชลบุรี th_TH
dc.title.alternative Marine sponge and echinoderm communities and climate variation in the Marine Plant Genetic. en
dc.type Research
dc.year 2558
dc.description.abstractalternative Species diversity and monitoring of marine sponges and echinoderms had been investigated along the the Marine Plant Genetic Conservation Area, Mo Ko Samaesarn, Sattahip, Chon Buri province, Thailand. The surveys were conducted during January, 2014 to December, 2014, including 18 stations by using Scuba diving and observed transected lines for 100 meters. The result of marine sponges yielded 12 species, from 4 orders, 11 families and 12 genera. These species were commonly found in Gulf of Thailand and the Indo-west Pacific region. The most widely distributed sponge species was Monanchora unguiculata and density was 13.22 colonies/100 m2. The most abundant sponge groups were Poecilosclerida (6 species) and Haplosclerida (3 species). The distribution pattern of sponges were divided into 6 species were clumped, 5 species were uniform and 1 species was random. Species richness of sponge stations was 6.4 species, Evenness index was averaged as 0.721, and Diversity index was averaged as 1.291. The result of cluster analysis showed the 75% similarity of the sponge areas divided into 11 groups: the first group has 5 stations followed by the second group has 4 stations and the third to the eleventh group has 1 station. For echinoderms, 10 species were found including Crinoidea 1 species, Asteroidea 1 species, Echinoidea 5 species and Holothuroidea 3 species. All echinoderms were also commonly found in Gulf of Thailand. The most widely distributed echinoderm was Diadema setosum and density was 71.39 individuals/100 m2. The distribution pattern of echinoderms were divided into 7 species were uniform and 3 species were clumped. Species richness of echinoderm stations was 3.4 species, Evenness index was averaged as 0.346, and Diversity index was averaged as 0.415. The result of cluster analysis showed the 75% similarity of the sponge areas divided into 7 groups: the first group has 10 stations followed by the second and the third were equaled have 2 stations and the fourth to the seventh group has 1 station. Water quality in the study area had an average standard of water quality in Class 1 water quality to conserve natural resources en


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account