DSpace Repository

ความพร่องในการดูแลตนเองในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจ

Show simple item record

dc.contributor.author ศิริวัลห์ วัฒนสินธุ์
dc.date.accessioned 2024-06-07T04:29:05Z
dc.date.available 2024-06-07T04:29:05Z
dc.date.issued 2543
dc.identifier.uri https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/17253
dc.description.abstract โรคหลอดเลือดหัวใจ เป็นสาเหตุของการตายที่สำคัญของพลเมืองไทย โดยเฉพาะจังหวัดชลบุรี ซึ่งมีแนวโน้มที่จะเพิ่มจำนวนมากขึ้น ปัญหาสำคัญประการหนึ่งของผู้ป่วยคือ การปฏิบัติตนไม่ถูกต้องจึงเป็นสาเหตุให้ผู้ป่วยต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลด้วยอาการที่รุนแรงมากขึ้น และอาจถึงแก่กรรมโดยกระทันหัน แต่ปัญหาเหล่านั้นสามารถป้องกันได้ถ้าผู้ป่วยมีความสามารถในการดูแลตนเองได้อย่างถูกต้อง ดังนั้นผู้วิจัยจึงมีความสนใจศึกษาความพร่องในการดูแลตนเองในผู้ป่วยหลอดเลือดหัวใจ และศึกษาความสัมพันธ์และอำนาจการทำนายของเพศ อายุ สถานภาพสมรส ระดับการศึกษา รายได้ของครอบครัว ระยะเวลาการเจ็บป่วย ระดับสมรรถภาพของหัวใจ การรับรู้ภาวะสุขภาพ และบุคลิกภาพกับความพร่องในการดูแลตนเองในผู้ป่วยหลอดเลือดหัวใจ กลุ่มตัวอย่างผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจที่มาติดตามการรักษาที่คลินิกโรคหัวใจ แผนกผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลชลบุรี จำนวน 170 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยแบบสัมภาษณ์ข้อมูลส่วนตัว แบบวัดบุคลิกภาพ และแบบวัดความพร่องในการดูแลตนเองในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจ วิเคราะห์ข้อมูลโดย การหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การหาสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียรสัน และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณแบบขั้นตอน ผลการวิจัยพบว่า 1. กลุ่มตัวอย่างมีความพร่องในการดูแลตนเองโดยรวมในระดับน้อย โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 17.38 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 7.0 โดยพบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีความพร่องในการดูแลตนเองในเรื่องการรับประทานอาหารที่มีน้ำตาลและไขมันมาก ๆ ร้อยละ 87 รองลงมาคือการพูดคุยแลกเปลี่ยนความรู้กับผู้ป่วยโรคเดียวกัน คิดเป็นร้อยละ 74.1 นอกจากนี้ยังพบว่า ผู้ป่วยยังคงมีความพร่องในการดูแลตนเองในเรื่องของปัจจัยเสี่ยงและการป้องกันภาวะแทรกซ้อน คือ การอยู่ในบริเวณที่มีควันบุหรี่หรือผู้สูบบุหรี่ ร้อยละ 64.1 ไม่จับชีพจรและสังเกตอาการผิดปกติขณะออกกำลังกาย ร้อยละ 64.1 2. ตัวแปรที่มีความสัมพันธ์เชิงเส้นตรงกับความพร่องในการดูแลตนเองในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจ ได้แก่ การรับรู้ภาวะสุขภาพ (PH) และเพศหญิง (S) สามารถทำนายความพร่องในการดูแลตนเอง (B) ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยสามารถทำนายได้ร้อยละ 8.6 (R2 = 0.9, R = 0.29) สมการ B = 22.20 -0.83 (PH) -2.19 (S) th_TH
dc.language.iso th th_TH
dc.publisher คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา th_TH
dc.subject สุขภาพและอนามัย -- การดูแลและสุขวิทยา th_TH
dc.title ความพร่องในการดูแลตนเองในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจ th_TH
dc.title.alternative Self-care Deficit in Coronary Heart Disease Patients th_TH
dc.type Research th_TH
dc.year 2543 th_TH
dc.description.abstractalternative Coronary heart disease is one of the most important causes of mortality among Thai people. A large number of coronary heart disease patients in Chonburi province have been found increasingly. The great problem of the coronary heart disease patients is cardiac sudden death. If patients are able to care themself, problems can be prevented. Thus, the purpose of this research was to study the self-care deficit in coronary heart disease patients and to examine the relationships among sex, age, marital status, educational level, family income, the course of disease, the functional class of heart ability, the percieved health status, the behavioral patterns and self-care deficit in coronary heart disease patients. The sample was composed of 170 coronary heart disease patients who followed up at heart clinic, out patient department at Chonburi Hospital. The data was collected by using the structured questionaires including, i.e. the demographic data questionaire, the personal type scale and the self-care deficit of coronary heart disease patients scale. Statistical techniques were inplemented in the process of data analysis including percentage, arithmatic means, standard deviation, Pearson's product moment correlation coeficient and the stepwise multiple regression. The results were as follows: 1. The mean self-care defict of this sample was 17.38 (SD=7.0). Most of patients (87%) did not avoid high carbohydrate and cholesterol in take and did not discuss the self-care knowledge with the other patients (74.1%). Moreover, they were more likely stay at the smoking area (64.1%) and did not check pulse or observed abnormal symptoms while doing exercise (64.1%) 2. The variables were linearly related with self-care deficit in coronary heart disease patients which were percieved health status (PH) and sex (S) could be the predictors of the self-care deficit with statistical significance (p=.001) which could predict up to 8.6 percent(R2= 0.09, R =0.29) The equation was B = 22.20 -0.83(PH) -2.19 (S). en


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account