DSpace Repository

ประสิทธิผลของผลิตภัณฑ์ลูกกลิ้งพริกในการลดอาการปวดกล้ามเนื้อและข้อเรื้อรัง

Show simple item record

dc.contributor.author สุนันทา โอศิริ
dc.contributor.author สุภาภรณ์ ปิติพร th
dc.contributor.author สมบูรณ์ วณิชโยบล th
dc.contributor.author ผกากรอง ขวัญข้าว th
dc.contributor.author ณัฐดนัย มุสิกวงศ์ th
dc.contributor.author พินิต ชินสร้อย th
dc.contributor.author ลักขณา สมประสงค์ th
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะการแพทย์แผนไทยอภัยภูเบศร
dc.date.accessioned 2019-03-25T08:45:54Z
dc.date.available 2019-03-25T08:45:54Z
dc.date.issued 2554
dc.identifier.uri http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/171
dc.description.abstract การศึกษาประสิทธิภาพผลของยาลูกกลิ้งพริกในการลดอาการปวดกล้ามเนื้อและข้อเรื้อรัง โดยการวิจัยทางคลินิก แบบ Randomized single blind controlled trial ในผู้ที่มีอาการปวดข้อหรือปวดกล้ามเนื้อมานานมากกว่า 6 เดือน ที่เป็นผู้ป่วยนอกของโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร โรงพยาบาลกุดชุม และโรงพยาบาลวังน้ำเย็น ผู้ป่วยจะถูกแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม โดยวิธีการจับสลากให้ใช้ยาลูกกลิ้งพริก (0.025% capsaicin cream) เปรียบเทียบกับยาหลอก ทาบริเวณกล้ามเนื้อหรือข้อวันละ 4 ครั้งนาน 4 สัปดาห์ ทำการประเมินผล 5 ครั้ง โดยประเมินก่อนเริ่มศึกษา สิ้นสุดสัปดาห์ที่ 1,2,3 และ 4 ตามลำดับ โดยเปรียบเทียบระดับความรู้สึกปวด โดยรวมใช้ Visual analog scale(VAS) 0-10 ระดับความรู้สึกโดยรวม (Patient’s global assessment) 5 ระดับ ประเมินความพึงพอใจต่อการใช้ยา 5 ระดับ และผลข้างเคียงจากการใช้ยา ผลการศึกษาในผู้ป่วย 132 คน แบ่งเป็นกลุ่มที่ใช้ยาลูกกลิ้งพริก 69 คน กลุ่มที่ใช้ยาหลอก 63 คน สัดส่วนเพศชายต่อเพศหญิง อายุเฉลี่ย และดัชนีมวลกาย ทั้งสองกลุ่มไม่แตกต่างกัน (p = 0.227, 0.523, 0.739 ตามลำดับ) ผู้ป่วยส่วนใหญ่มีอาการ Muscle pain 37 คน (68.52%) และ 43 คน (86%) ตามลำดับ ก่อนเข้ารับราชการและหลังจากใช้ยาไปแล้ว 4 สัปดาห์พบว่า ความถี่ในการปวด อาการปวดขณะนอน จำนวนครั้งของการปวด การออกกำลังกายเพื่อลดปวด ทั้งสองกลุ่มไม่แตกต่างกัน (p = 0.512, 0.113, 0.223, 0.681) ก่อนเข้ารับการรักษาค่าเฉลี่ยความรุนแรงของอาการปวดทั้งสองกลุ่มไม่แตกต่างกัน (5.54±2.19 และ 5.67±2.01) (p=0.63) แต่หลังเข้ารับการรักษาแล้ว ความรุนแรงของอาการปวดมีแนวโน้มลดลงในทั้งกลุ่มยาลูกกลิ้งพริกและยาหลอกโดยไม่แตกต่างกันภายใน 2 สัปดาห์แรก แต่เมื่อสัปดาห์ที่ 3 และ 4 พบว่ากลุ่มผู้ใช้ยาลูกกลิ้งมีค่าเฉลี่ยความรุนแรงของอาการปวดต่ำกว่ากลุ่มผู้ใช้ยาหลอกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (3.36±1.74 และ4.25±1.62)(2.94±1.16 และ 3.83±1.74) (p = 0.019, 0.024) ผลวิเคราะห์ความพึงพอใจพบว่าผู้ใช้ยาลูกกลิ้งพริกมีความพึงพอใจมากกว่ากลุ่มยาหลอกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p = 0.039) พบอาการข้างเคียงที่มีอาการแสบร้อนในกลุ่มผู้ใช้ยาลูกกลิ้งพริก 15 ราย (15.6 %) มีอาการคันและผื่นแดงอย่างละ 1 ราย และพบอาการแสบร้อน 1 รายในกลุ่มหลอก อาจสรุปได้ว่ายาลูกกลิ้งพริกสามารถลดระดับความรุนแรงของอาการปวดได้ดีกว่ายาหลอก โดยต้องใช้ระยะเวลาการรักษาประมาณ 3-4 สัปดาห์ แต่ก็พบผลข้างเคียงมากกว่า จึงควรมีการปรับปรุงสูตรสำหรับยานี้เพื่อลดอาการปวดแสบร้อน th_TH
dc.description.sponsorship งานวิจัยนี้ได้รับการสนับสนุนจาก งบประมาณเงินรายได้ คณะการแพทย์แผนไทยอภัยภูเบศร มหาวิทยาลัยบูรพา พ.ศ. 2554 en
dc.language.iso th th_TH
dc.publisher คณะการแพทย์แผนไทยอภัยภูเบศร มหาวิทยาลัยบูรพา th_TH
dc.subject พริก - - การใช้รักษา th_TH
dc.subject พริกขี้หนู th_TH
dc.subject สมุนไพร - - การใช้รักษา - - วิจัย th_TH
dc.subject สาขาวิทยาศาสตร์เคมีและเภสัช th_TH
dc.title ประสิทธิผลของผลิตภัณฑ์ลูกกลิ้งพริกในการลดอาการปวดกล้ามเนื้อและข้อเรื้อรัง th_TH
dc.title.alternative Pain relief of chili roll-on in chronic musculoskeletal pain en
dc.type Research th_TH
dc.year 2554


Files in this item

Files Size Format View

There are no files associated with this item.

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account