DSpace Repository

ประสบการณ์ของบิดามารดาที่ลงนามยินยอมให้บุตรรับการผ่าตัด

Show simple item record

dc.contributor.author นุจรี ไชยมงคล
dc.contributor.author ยุนี พงศ์จตุรวิทย์
dc.contributor.author พจนารถ สารพัด
dc.contributor.author วณิตา ขวัญสำราญ
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะพยาบาลศาสตร์
dc.date.accessioned 2019-03-25T08:45:54Z
dc.date.available 2019-03-25T08:45:54Z
dc.date.issued 2554
dc.identifier.uri http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/170
dc.description.abstract การลงนามยินยอมที่เหมาะสม เป็นความยินยอมที่ได้รับการบอกกล่าวหรือได้รับข้อมูลต่าง ๆ จนกระทั่งเข้าใจอย่างถ่องแท้ และให้การลงนามยินยอมอย่างอิสระดดยปราศจากการบังคับ อย่างไรก็ดีบิดามาดาที่บุตรรับการรักษาด้วยการผ่าตัด ต้องผ่านประสบการณ์หลายอย่างก่อนที่จะให้การลงนามยินยอม การวิจัยเชิงคุณภาพครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อบรรยายประสบการณ์ของบิดามารดาที่ลงนามยินยอมให้บุตรรับการผ่าตัด คัดเลือกผู้ให้ข้อมูลแบบเฉพาะเจาะจง จำนวน 12 คน จากบิดามารดาของเด็กที่ได้รับการผ่าตัดละรับไว้ในหอผู้ป่วยศัลยกรรมเด็ก โรงพยาบาลแห่งหนึ่งในจังหวัดชลบุรี รวบรวมข้อมูลโดยใช้วิธีการสัมภาษณ์แบบเจาะลึกตามแนวคำถามที่กำหนดไว้ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหาและใจความ ผลการวิจัยพบว่า ประสบการณ์ของบิดามารดาที่ลงนามยินยอมให้บุตรได้รับการผ่าตัด ประกอบด้วย 3 ประการ ได้แก่ ความหมายของการลงนามยินยอม สิ่งที่มีผลต่อการตัดสินใจลงนามยินยอม ประการแรกประสบการณ์ของบิดารมารดาที่ลงนามยินยอมในด้านความหมาย หมายถึงเอกสารทางราชการต่าง ๆ ที่จำเป็นต้องลงนามให้เรียบร้อยก่อนรับการผ่าตัด ซึ่งจำแนกเป็น 2 ลักษณะ คือ เพื่อการปกป้องบุคลากรทางการแพทย์จากการถูกฟ้อง และเป็นภาวะจำลอง ประการที่สอง บิดามารดาอธิบาย 2 สิ่งที่มีผลต่อการตัดสินใจลงนามยินยอม คือ มีความมั่นใจในแพทย์ผู้รักษาและความมีชื่อเสียงของโรงพยาบาล และการเคยมีประสบการณ์มาก่อน และประการสุดท้ายสำหรับผลที่เกิดขึ้นตามมาจากการตัดสินใจลงนามยินยอมดังกล่าวนั้นมีทั้งผลดี คือ รู้สึกดีใจและผ่อนคลาย และผลเสีย คือหวั่นใจและวิตกกังวล ผลการศึกษาครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่าพยาบาลและบุคลากรทางการแพทย์ควรตระหนักและเน้นการให้ความสำคัญกับการให้ข้อมูลแก่บิดามารดาก่อนการลงนามยินยอมให้บุตรรับการผ่าตัด โดยมุ่งประเด็นที่ว่าการลงนามยินยอมจะช่วยพิทักษ์สิทธิ ทั้งต่อตัวผู้ป่วยเด็กและบิดามารดา th_TH
dc.description.sponsorship ได้รับทุนสนับสนุนการวิจัย จากเงินงบประมาณแผ่นดิน ปีงบประมาณ 2553 en
dc.language.iso th th_TH
dc.publisher คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา th_TH
dc.subject การให้ความยินยอม (กฎหมายทางการแพทย์) th_TH
dc.subject ความยินยอม (กฎหมาย) th_TH
dc.subject ศัลยกรรม th_TH
dc.subject สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ th_TH
dc.subject สิทธิผู้ป่วย th_TH
dc.title ประสบการณ์ของบิดามารดาที่ลงนามยินยอมให้บุตรรับการผ่าตัด th_TH
dc.title.alternative Parents' experiences of giving consent for their child undergone surgery en
dc.type Research
dc.year 2554
dc.description.abstractalternative Informed consent depends on the full understanding of comprehensive information, obtained freely without coercion. However, parents who have to consent for their children to have surgery can be expected to variously experiences. This Qualitative study aimed to describe experiences of parents giving informed consent for their children undergone surgery. Semi-structured in-depth interviews were carried out with 12 purposive informants. They were parents of children who had undergone surgery admitted in the pediatric surgery ward at a hospital in chonburi province. Content analysis was used to explore the data. Results revealed that parent’ experiences of giving the informed consent for their children to have surgery consisted of 3 main themes. There were meaning of the informed consent, factors influencing the parents agreed to give the consent, and consequences of giving the consent. First, the participants experienced that meaning of the informed consent was an official document that need to be completed before performing a surgery, which categorized into 2 sub-themes of protection of health care personnel from being sued, and necessary and no choice situation second, the parents explained 2 conditions that let them agree to give the consent, including trust the surgeon and the hospital reputation, and having previous experiences. Finally, the parents perceived that giving the informed consent would have its consequences for both sides of positive and negative. For the positive consequence, there were gladness and relief; and for the negative consequence, there were worry and anxiety. These findings suggest that nurse and health care personnel should be aware of and provide information by more focusing on how giving the consent could help protect the rights of patient for both the child and the parent. en


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account