dc.contributor.author |
ภัทราพร สร้อยทอง |
|
dc.contributor.author |
กรรณิการ์ จันทร์ชิดฟ้า |
|
dc.contributor.author |
สุชาติ ชายหาด |
|
dc.contributor.author |
ภาสิรี ยงศิริ |
|
dc.contributor.other |
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะภูมิสารสนเทศศาสตร์ |
|
dc.date.accessioned |
2019-03-25T09:08:35Z |
|
dc.date.available |
2019-03-25T09:08:35Z |
|
dc.date.issued |
2558 |
|
dc.identifier.uri |
http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1705 |
|
dc.description.abstract |
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) ตรวจสอบ ประเมินพื้นที่เสี่ยงและคุณภาพสิ่งแวดล้อม ชุมชนเมืองและอุตสาหกรรมในพื้นที่ภาคตะวันออก 2) ประเมินศักยภาพและขีดความสามารถรองรับการพัฒนาชุมชนเมืองและอุตสาหกรรมอย่างเหมาะสม 3) เสนอแนะแนวทางในการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมและลดมลพิษ 4) จัดทำฐานข้อมูลสิ่งแวดล้อมชุมชนเมืองและอุตสาหกรรมในพื้นที่ภาคตะวันออก วิธีการวิจัยเป็นการสำรวจข้อมูลภาคสนามและรวบรวมข้อมูลทุติยภูมิเกี่ยวกับคุณภาพสิ่งแวดล้อมด้านน้ำ
และอากาศแล้วนำมาวิเคราะห์ข้อมูลแบบผสมทั้งเชิงประยุกต์และเชิงปริมาณ
ผสมด้วยภูมิศาสตร์สารสนเทศ
ผลการวิจัยพบว่า การพัฒนาพื้นที่ภาคตะวันออกผ่านแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ในช่วงระยะเวลากว่าสี่สิบปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะพื้นที่ชายฝั่งทะเลตะวันออกที่มีแผนพัฒนาชายฝั่งทะเลตะวันออกเป็นแม่แบบในการพัฒนา ผลักดันให้เกิดการพัฒนาและการขยายตัวของภาคอุตสาหกรรมซึ่งส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินและเกิดการพัฒนารูปแบบการกลายเป็นเมืองและอุตสาหกรรมในพื้นที่ตะวันออกอย่างมีนัยสำคัญ โดยรูปแบบการกระจายตัวของเมืองมีการพัฒนาจากรูปแบบวงแหวนคือมีศูนย์กลางในบริเวณหนึ่ง และค่อย ๆ ขยายตัวออกแบบไปโดยในพื้นที่ภาคตะวันออกมีเขตเมืองและศูนย์กลางเมืองหลายแห่งส่งผลให้รูปแบบการกระจายตัวของภูมิภาคมีพัฒนาการกลายเป็นรูปแบบกลุ่มดาว การกลายเป็นเมืองและอุตสาหกรรมก่อให้เกิดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อมและความเป็นอยู่ของประชาชนในพื้นที่ การศึกษาชี้ว่าภาคตะวันออกมีปริมาณมลพิษทั้งทางอากาศและน้ำกระจายอยู่หลายส่วนของภูมิภาค คุณภาพพอากาศมีระดับมลพิษสูงในบางพื้นที่ คุณภาพน้ำผิวดินมีหลายพื้นที่ที่มีค่าความเข้มและปริมาณสูงกว่าค่ามาตรฐานปรากฏเป็นบางพื้นที่ คุณภาพน้ำทะเลชายฝั่งมีสภาพเสื่อมโทรมในบางช่วงเวลาพื้นที่เสี่ยงคุณภาพสิ่งแวดล้อมมากที่สุดในพื้นที่ภาคตะวันออก ได้แก่ พื้นที่มาบตาพุด จังหวัดระยอง
ซึ่งเป็นพื้นที่ที่ปริมาณมลพิษมากเกินกว่าขีดความสามารถในการรองรับมลพิษและมีศักยภาพในการรองรับมลพิษอยู่ในระดับต่ำ เป็นพื้นที่ศูนย์กลางกระจายมลพิษแพร่สู่พื้นที่ใกล้เคียงทั้งภายในจังหวัดระยอง จังหวัดชลบุรี และจังหวัดฉะเชิงเทรา นอกจากนั้นยังมีอีกหลายพื้นที่ที่มีความเสี่ยงที่จะเกิดการปล่อยมลพิษจนเกินขีดศักยภาพ
ในการรองรับมลพิษของพื้นที่ในอนาคต
ข้อเสนอแนะแนวทางในการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมและลดมลพิษ คือ การวางแผนพัฒนาเมืองหรืออุตสาหกรรมด้วยแนวคิดเมืองนิเวศ ผลักดันแนวคิดการผลิตและการพัฒนาเทคโนโลยีที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เพิ่มประสิทธิภาพในการตรวจสอบและควบคุมแหล่งกำเนิด ดำเนินการออกกฎหมายและข้อกำหนดที่จำเป็น และข้อบังคับใช้มาตรการเหล่านั้นอย่างจริงจัง การดำเนินการต่าง ๆ เน้นการมีส่วนร่วมของชุมชนโดยรอบ |
th_TH |
dc.description.sponsorship |
งานวิจัยนี้ได้รับทุนอุดหนุนการวิจัย งบประมาณเงินรายได้ (เงินอุดหนุนรัฐบาล) ประจำปีงบประมาณ 2555 |
th_TH |
dc.language.iso |
th |
th_TH |
dc.publisher |
คณะภูมิสารสนเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
th_TH |
dc.subject |
มลพิษ -- ไทย (ภาคตะวันออก) |
th_TH |
dc.subject |
สาขาสังคมวิทยา |
th_TH |
dc.title |
การตรวจสอบคุณภาพสิ่งแวดล้อมและประเมินศักยภาพและขีดความสามารถรองรับมลพิษในพื้นที่ชุมชนเมืองและอุตสาหกรรมภาคตะวันออก |
th_TH |
dc.title.alternative |
Monitoring environmental quality and evaluation of pollution potential and carrying capacity in Urban Communities and industrial area in Eastern Region |
en |
dc.type |
งานวิจัย |
|
dc.author.email |
phattraporn@buu.ac.th |
|
dc.year |
2558 |
|
dc.description.abstractalternative |
The principal objectives of this research are 1) to investigate and assess the pollution risk areas and environmental quality in the Eastern region of Thailand 2) to evaluate the pollution potential and carrying capacity in urban communities and industrial areas 3) to suggest and recommend the measurement and strategies for pollution mitigation and environment management for the area
4) to produce GIS database the environment and naturat resources of urban and industrial in the
Region. This research uses a mixed method research with the combination of qualitative and quantitative methods. Both qualitative and quantitative data and information are collected and
Analyzed, also the research is applied with the GIS method.
Base on the finding, the Eastern region have been developed since the 5 th of the National Economic and social Development Plan, it is more than 40 years until now. The development
Of Eastern Region is the one result of national policy, Eastern Seaboard development Programme especially the Eastern Seaboard area which is one of the areas that saw rapid economic and industrial development growth. This led to significance changed of land use: urbanization and industrialization. The distributions of Eastern Region urban form begins from the concentric pattern then developed and expanded to the neighbor area become the multiple nuclei or galaxy pattern. The spatial analysis reveals that the urban-industrial development effects to the air and water quality in the area. Analysis of geo-referenced on the environmental quality shows the expansion and density of air and water pollution in many areas. Especially, Map Ta Phut, Rayong province. The pollution have the maximum of the carrying capacity, in the contrast, the ares is very low potential for pollution. There are many pollution risk ares in the region; or over, some area risks to be effected from the pollution which leads to be an over potential for pollution in the near future. The suggestion and recommendation about pollution mitigation and environmental
Management is provided in this research |
en |