Abstract:
การศึกษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมในถิ่นอาศัยของฟองน้ำทะเลบริเวณชายฝั่งทะเลภาคตะวันออกของไทย จำนวนทั้งสิ้น 7 สถานี (5 เกาะ) โดยเก็บตัวอย่าง 3 ครั้ง คือ เดือนมกราคม 2557 เดือนตุลาคม 2557 และเดือนธันวาคม 2557 เพื่อตรวจวัดคุณภาพน้ำทางด้านกายภาพและเคมี และเก็บตัวอย่างฟองน้ำทะเลและ
แพลงก์ตอนพืช ผลการศึกษา พบว่า คุณภาพสิ่งแวดล้อมทางทะเลในบริเวณดังกล่าว มีค่าพิสัยของพารามิเตอร์ต่าง ๆ ดังนี้ อุณหภูมิ 24.9-31.0 °C ความเค็ม 28-32 ppt ความเป็นกรด- ด่าง 8.2-8.4 ออกซิเจนละลาย 5.7-8.2 mg/L ความโปร่งแสง 1.2-9.3 m สารแขวนลอย 8.8-21.2 mg/L แอมโมเนียทั้งหมด 2.4-23.3 μg/L แอมโมเนียรูปที่ไม่มีอิออน 0.5-3.0 μg/L ไนไตรท์ ND-14.3 μg/L ไนเตรท 2.2-55.4 μg/L ฟอสเฟต ND-20.0 μg/L และซิลิเกต 72.5-327.5 μg/L ซึ่งความแปรปรวนของทุกพารามิเตอร์ มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสาคัญ (P<0.01) แต่ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับเวลาและสถานี เมื่อเปรียบเทียบค่าพารามิเตอร์คุณภาพ
น้ำกับค่ามาตรฐานคุณภาพน้ำทะเลชายฝั่งเพื่อเพื่อการอุตสาหกรรมและท่าเรือ และการอนุรักษ ์ทรัพยากรธรรมชาติ พบว่า ส่วนใหญ่อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน
แต่อย่างไรก็ตาม ควรจะมีการตรวจติดตามเฝ้าระวังต่อไป เพื่อป้องกันไม่ให้คุณภาพน้าทะเลเสื่อมโทรมลงฟองน้ำที่พบจากการสำรวจทั้งหมด 40 ชนิด จาก 33 สกุล 27 วงศ์ และ 10 อันดับ จากฟองน้ำที่ทำการสำรวจทั้งหมด พบว่า บริเวณเขตอุตสาหกรรมและท่าเรือหมู่เกาะสีชัง จังหวัดชลบุรี พบฟองน้ำทะเลมีความหลากหลายมากที่สุดจำนวน 24 ชนิด รองลงมาคือบริเวณเขตอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ หมู่เกาะมัน จังหวัดระยอง พบ 21 ชนิดและบริเวณเขตอุตสาหกรรมและท่าเรือ เกาะสะเก็ด จังหวัดระยอง พบ 16 ชนิด ฟองน้าที่พบเหล่านี้เป็นฟองน้ำที่พบได้ทั่วไปในบริเวณอ่าวไทยฝั่งตะวันออก และเขตอินโดแปซิฟิค กลุ่มของฟองน้ำที่พบมากที่สุดคือ Order Haplosclerida 13 ชนิด รองลงมาคือ Order Poecilosclerida พบ 10 ชนิด และพบว่าฟองน้ำที่อาจจะสามารถมาใช้เป็นดัชนีชี้วัดถึงสภาพแวดล้อมทางทะเลได้ ตัวอย่างเช่น Paratetilla bacca (Selenka), Biemna fortis (Topsent), Oceanapia sagittaria (Sollas) Coelocarteria singaporensis (Carter), และIrcinia mutans (Wilson) มักพบในบริเวณที่มีการตกตะกอนค่อนข้างสูง O. sagittaria (Sollas) and C. singaporensis (Carter) มีรูปทรงการเจริญที่เรียกว่า “Fistule” ซึ่งฟองน้ำจะสร้างท่อยืดยาวขึ้นจากลาตัวฟองน้ำและมักพบฝังตัวในบริเวณพื้นท้องทะเลที่อ่อนนุ่มจากการตกตะกอนซึ่งถ้าเราพบฟองน้ำเหล่านี้สร้างท่อขึ้นไปสูงมากขึ้นเท่าใดอาจจะสามารถคาดคะเนได้ว่าบริเวณนั้นอาจจะมีการตกตะกอนสูงมาก
แพลงก์ตอนพืชที่พบจากการสารวจ 78 สกุล แบ่งเป็น Class Cyanophyceae 4 สกุล Class Chlorophyceae 1 สกุล Class Euglenophyceae 1 สกุล Class Bacillariophyceae 59 สกุล Class Dictyochophyceae 1 สกุล และ Class Dinophyceae 12 สกุล สกุลที่มีความหนาแน่นเซลล์เฉลี่ยสูงสูด
ได้แก่ Skeltonema, Chaetoceros, Bacteriastrum, Guinardia, Pseudonitzschia และ Thalassionema ตามลำดับ และพบการสะพรั่งของ Skeltonema sp. ในเดือน มกราคม บริเวณเกาะสะเก็ด ความหนาแน่นเซลล์เฉลี่ยของแพลงก์ตอนพืชมีค่าสูงในเดือนมกราคม และต่าสุดในเดือน ธันวาคม พื้นที่ศึกษาวิจัยที่พบปริมาณแพลงก์ตอนพืชสูงสุดทั้ง 3 ครั้ง คือบริเวณเกาะสเก็ด และต่าสุดคือหมู่เกาะมัน ความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพน้าทะเลและแพลงก์ตอนพืช มีความสัมพันธ์กับค่าความลึก ค่าความโปร่งใส ซิลิเกตและตะกอนแขวนลอย