DSpace Repository

การออกแบบและพัฒนาระบบการเพาะเลี้ยงปลาแมนดาริน, Synchiropus splendidus (Herre, 1927)

Show simple item record

dc.contributor.author ณัฐวุฒิ เหลืองอ่อน th
dc.contributor.author วิรชา เจริญดี th
dc.contributor.author วิไลวรรณ พวงสันเทียะ th
dc.contributor.author ศิริวรรณ ชูศรี th
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล
dc.date.accessioned 2019-03-25T09:08:34Z
dc.date.available 2019-03-25T09:08:34Z
dc.date.issued 2557
dc.identifier.uri http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1694
dc.description.abstract การเลี้ยงปลาแมนดารินเพื่อให้มีการผสมพันธุ์วางไข่ได้ในที่กักขัง จำเป็นต้องจัดสภาพแวดล้อม และจัดหาอาหารให้เหมาะสมกับความต้องการของปลาเพราะระบบที่ดีสามารถช่วยรักษาสภาพแวดล้อมภายในตู้เลี้ยงให้เหมาะสมโดยมีการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมน้อย ช่วยเพิ่มภูมิต้านทานลดอัตราการเกิดโรค เพิ่มอัตราการเจริญเติบโตและรอดตาย รวมทั้งภายในระบบเลี้ยงยังสามารถเพิ่มอาหารธรรมชาติที่มีคุณภาพและปริมาณที่ต้องกับความต้องการของพ่อแม่พันธุ์ ส่งผลให้พ่อแม่พันธุ์มีความสมบูรณ์มากขึ้น ทดสอบระบบเลี้ยงปลาแมนดาริน (Synchiropus splendidus) โดยเปรียบเทียบสัดส่วนของพื้นที่ที่ผลิตอาหารธรรมชาติที่เกิดขึ้นภายในตู้เลี้ยงกับพื้นที่เลี้ยงพ่อแม่พันธุ์ปลาแมนดารินโดยทดลองในตู้กระจกขนาดความหนาแน่น 1 คู่ต่อตู้ ในสัดส่วน 0:1, 1:2, 1:3 และ 1:6 เป็นระยะเวลา 3 เดือน เพื่อตรวจสอบการเจริญเติบโต การสืบพันธุ์ และการผลิตตัวอ่อนของปลาแมนดาริน พบว่าอัตราการรอดตายของพ่อแม่พันธุ์ปลาแมนดาริน มีค่าอยู่ระหว่างร้อยละ 66.7–100 เพศผู้น้ำหนักเฉลี่ยที่เพิ่มขึ้น คือ 3.2+-1.3, 1.6+-0.4, 0.2+-0.1 และ 0.2+-0.1 กรัมตามลำดับ ส่วนเพศ เมียน้ำหนักเฉลี่ยที่เพิ่มขึ้น คือ 1.2+-0.7, 0.8+-0.2, 0.1+-0 และ 0.1+-0 กรัมตามลำดับ จำนวนครั้งในการผสมพันธุ์เฉลี่ย คือ 17+-8, 5+-6, 0+-0 และ 0+-0 ครั้งตามลำดับ จำนวนตัวอ่อนเฉลี่ยต่อครั้ง คือ 64+-86, 42+-21, 0+-0 และ 0+-0 ตัวตามลำดับ ผลการทดลองแสดงให้เห็นว่าสัดส่วนของตู้ที่ต่างกันไม่มีผลต่อการรอดตาย แต่ส่งผลกระทบต่อการเจริญเติบโต การผสมพันธุ์และการผลิตตัวอ่อนของปลาแมนดาริน เปรียบเทียบอัตราการปล่อยพ่อแม่พันธุ์ปลาแมนดาริน เพศผู้ : เพศเมีย 3 ระดับ คือ 1:1, 1:3 และ 1:5 ตัว เป็นระยะเวลา 2 เดือน เพื่อตรวจสอบการเจริญเติบโต การสืบพันธุ์ และการผลิตตัวอ่อนของปลาแมนดาริน พบว่าพ่อแม่พันธุ์ปลาแมนดารินมีอัตราการรอดตาย 100 เปอร์เซนต์ จำนวนครั้งในการผสมพันธุ์เฉลี่ย คือ 3+-2, 22+-8 และ 18+-6 ครั้งตามลำดับ จำนวนตัวอ่อนเฉลี่ยต่อครั้ง คือ 4+-8, 14+-20 และ 8+-15 ตัวตามลำดับ ผลการทดลองแสดงให้เห็นว่าอัตราการปล่อยพ่อแม่พันธุ์ที่ต่างกันไม่มีผลต่อการรอดตายและการเจริญเติบโต แต่ส่งผลกระทบต่อการผสมพันธุ์ที่เพิ่มมากขึ้นแต่ไม่ส่งผลต่อการผลิตตัวอ่อนของปลาแมนดาริน th_TH
dc.language.iso th th_TH
dc.publisher สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล มหาวิทยาลัยบูรพา th_TH
dc.subject การพัฒนาและการออกแบบ th_TH
dc.subject ปลาแมนดาริน th_TH
dc.subject ระบบการเพาะเลี้ยง th_TH
dc.subject สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา th_TH
dc.title การออกแบบและพัฒนาระบบการเพาะเลี้ยงปลาแมนดาริน, Synchiropus splendidus (Herre, 1927) th_TH
dc.title.alternative Design and development of culture mandarinfish, synchiropus splendidus (Herre, 1927) th_TH
dc.type Research th_TH
dc.year 2557


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account