DSpace Repository

การศึกษาชีววิทยาบางประการของปลาแมนดาริน, Synchiropus splendidus (Herre, 1927) ในที่กักขัง

Show simple item record

dc.contributor.author เสาวภา สวัสดิ์พีระ th
dc.contributor.author วิรชา เจริญดี th
dc.contributor.author วิไลวรรณ พวงสันเทียะ th
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล
dc.date.accessioned 2019-03-25T09:08:34Z
dc.date.available 2019-03-25T09:08:34Z
dc.date.issued 2558
dc.identifier.uri http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1689
dc.description.abstract การทดลองครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทำการศึกษาพฤติกรรมการดำรงชีวิต พฤติกรรมการอาศัยอยู่ การซ่อนตัว การกินอาหาร การสืบพันธุ์ การเจริญพันธุ์ ระยะเวลาที่ปลาแมนดารินวัยอ่อนสามารถที่จะระบุเพศได้ รวมถึงการผสมพันธุ์ ซึ่งเป็นข้อมูลพื้นฐานสำคัญ เพื่อนำไปสู่การพัฒนาเทคโนโลยีการเพาะเลี้ยงปลาแมน ดารินในเชิงพาณิชย์ต่อไป ผลการศึกษาพบว่า พ่อแม่พันธุ์แมนดารินที่ใช้ในการทดลอง เพศผู้มีขนาดน้ำหนักเฉลี่ย 4.44+0.32 กรัม ความยาวเหยียดเฉลี่ย 6.05+0.70 เซนติเมตร เพศเมียมีขนาดน้ำหนักเฉลี่ย 3.97 +0.70 กรัม ความยาวเหยียดเฉลี่ย 5.44+0.70 เซนติเมตร จากการสังเกตพฤติกรรมการเกี้ยวพาราสีและการสืบพันธุ์ในระบบเลี้ยง พบว่า ปลาแมนดารินจะเริ่มมีการเกี้ยวพาราสีในช่วงเวลาหลังท้องฟ้าเริ่มมืด (ช่วงเวลา 18.30 น.) และจะเริ่มการผสมพันธุ์เวลา 19.01 น. ระยะเวลาที่เกี้ยวพาราสีและผสมพันธุ์จะใช้เวลาประมาณ 22 วินาที หลังจากการผสมพันธุ์ครั้งแรกผ่านไปแล้ว และจะมีการเกี้ยวพาราสีและผสมพันธุ์กันอีกครั้ง เวลาประมาณ 19.55 น. จะห่างจากการผสมพันธุ์ครั้งแรกเป็นเวลา 54 นาที สิ้นสุดการเฝ้าสังเกตเวลา 20.30 น. ปลาแมนดารินสามารถแยกเพศได้ในอัตราส่วน เพศผู้ : เพศเมีย เท่ากับ 16:9 ตัว (N=25) โดยเพศผู้เปลี่ยนเพศเมื่ออายุเฉลี่ย (+SE) 197.50+4.92 วัน มีน้ำหนักตัวเฉลี่ยเท่ากับ 0.82+.04 กรัม มีความยาวเหยียด เฉลี่ย 10.34 +0.22 เซนติเมตร เพศเมียเปลี่ยนเพศเมื่ออายุเฉลี่ย (+SE) 223.78+ 4.98 วัน มีน้ำหนักตัวเฉลี่ยเท่ากับ 0.60+.036 กรัม มีความยาวเหยียดเฉลี่ย 10.42+0.29 เซนติเมตร ความสมบูรณ์เพศของแมนดารินหลังจากการจับคู่เมื่อสามารถแยกเพศได้แล้ว จากการศึกษาลักษณะภายนอกที่มีการเปลี่ยนแปลงส่วนของหัวเพศผู้จะมีขนาดที่ใหญ่กว่าเพศเมีย และครีบหลังจะมีความยาวมากกว่าเพศเมียอย่างชัดเจน ส่วนเพศเมียจะมีขนาดเล็กกว่าเพศผู้ มีขนาดส่วนหัวที่เล็กกว่าและครีบหลังสั้นกว่าเพศผู้ชัดเจน โดยเพศผู้มีน้ำหนักอยู่ในช่วง 5.36-6.06 กรัม น้ำหนักเฉลี่ยเท่ากับ 5.62 + 0.38 กรัม ความยาวเหยียดเท่ากับ 105.67 เซนติเมตร โดยเพศเมียมีน้ำหนักอยู่ในช่วง 2.73-3.22 กรัม น้ำหนักเฉลี่ยเท่ากับ 3.01+ 0.25 กรัม ความยาวเหยียดเฉลี่ยเท่ากับ 65.24 + 9.08 เซนติเมตร และสามารถผสมพันธุ์วางไข่ได้ครั้งแรกเมื่ออายุ 527 วัน จำนวนตัวอ่อนเท่ากับ 54 ฟอง ปลาแมนดารินสามารถวางไข่ได้ตลอดทั้งปี ที่อุณหภูมิน้ำ 24-28.4 องศาเซลเซียส การเจริญพัฒนาของคัพภะ แบ่งออกเป็น 8 ระยะ ได้แก่ Zygote Period; Cleavage Period; Blastula Period; Gastrula Period; Segmentation period; Pharyngulal period; Hatching period; Early larval period ภายหลังการปฏิสนธิ (+SD)12 ชั่วโมง + 2 ชั่วโมง ตัวอ่อนจึงฟักออกจากไข่ ลูกปลาแมนดารินในระยะแรกเกิดมีขนาดความยาวเหยียดเฉลี่ยเท่ากับ 1.51 + 0.02 มิลลิเมตร การเจริญพัฒนาของวัยอ่อน แบ่งตามลักษณะการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญได้แก่ ระยะที่ อายุแรกเกิด- 3 วัน ขนาดความยาวเหยียดเฉลี่ย (1.81+ 0.02 มม.) รูปร่างลักษณะลำตัวแบน ปลายหางแหลม; อายุ 5-10 วัน ขนาดความยาวเหยียดเฉลี่ย (2 + 0.03 มม.) รูปร่างเปลี่ยนแปลงจากลักษณะของลำตัวที่แบนเป็นรูปร่างที่ชัดเจนขึ้น ขนาดของส่วนท้องขยายใหญ่ขึ้นอย่างชัดเจน หางกว้างขึ้นแต่ยังไม่มีสี และเริ่มมีสีของลำตัวคือเขียวอมน้ำตาลอ่อนมีจุดดำเล็กๆตามลำตัว; อายุ 18 วัน ขนาดความยาวเหยียดเฉลี่ย (6.80±2.63 มม.) เริ่มมองเห็นจุดดำและจุดเขียวขี้ม้าตามส่วนหัวและลำตัวชัดเจนขึ้นรูปร่างของลำตัวก็มีการเปลี่ยนแปลงมีข้อปล้องเกิดขึ้น; อายุ 20 วัน ขนาดความยาวเหยียดเฉลี่ย (5.15±0.72 มม.) เริ่มมีลายเกิดขึ้นเล็กน้อยบริเวณส่วนหัวและตรงกลางของลำตัว; อายุ 25 วัน ขนาดความยาวเหยียดเฉลี่ย (6.06±0.70 มม.) ลายและสีบริเวณส่วนหัวและลำตัวเริ่มมีสีเขียวขี้ม้าเข้ม ผสมน้ำตาลอ่อนและมีจุดขาวเล็กๆ ตามลำตัว; อายุ 30-35 วัน ขนาดความยาวเหยียดเฉลี่ย (7.35±1.42 มม.) เริ่มมีสีส้มอ่อนเกิดขึ้นผสมกับสีน้ำตาลอ่อนเล็กน้อยบริเวณส่วนหัวและลำตัว สังเกตเห็นลายและสีส้มอ่อนบริเวณส่วนหัวและลำตัวชัดเจนในวันที่ 35; อายุ 40 วัน ขนาดความยาวเหยียดเฉลี่ย (7.64 ± 2.25 มม.) บริเวณครีบหลังเริ่มมีสีน้ำตาลอ่อนเกิดขึ้น และบริเวณคอดหางมีสีน้ำตาลอมเขียวเข้ม; อายุ 45 วัน ขนาดความยาวเหยียดเฉลี่ย (8.45±2.9 มม.) ลำตัวเริ่มมีลวดลายสีฟ้า เลนส์ตานอกสุดเป็นสีส้มชัดเจนและบริเวณปลายหางเริ่มมีสีน้ำเงิน เกิดขึ้น; อายุ 50-60 วัน ขนาดความยาวเหยียดเฉลี่ย (12.23 ± 2.40 มม.) เริ่มมีสีน้ำเงินเกิดขึ้นบริเวณ ครีบอกปลายครีบหลัง และปลายหางเกิดและจะเป็นสีน้ำเงินชัดเจนในวันที่ 60; อายุ 80 วัน ขนาดความยาวเหยียดเฉลี่ย (16.06 ± 1.25 มม.) สีส้มตามลำตัวเริ่มชัดเจนขึ้น มีสีและลวดลายที่สม่ำเสมอ; อายุ 90 วัน ขนาดความยาวเหยียดเฉลี่ย (18.19 ± 1.28 มม.) รูปร่าง ลวดลาย สีสัน ชัดเจนเหมือนกับพ่อแม่พันธุ์ทุกประการ th_TH
dc.language.iso th th_TH
dc.publisher สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล มหาวิทยาลัยบูรพา th_TH
dc.subject ปลา - - การเพาะเลี้ยง th_TH
dc.subject ปลา - - การเลี้ยง th_TH
dc.subject ปลาแมนดาริน th_TH
dc.subject สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา th_TH
dc.title การศึกษาชีววิทยาบางประการของปลาแมนดาริน, Synchiropus splendidus (Herre, 1927) ในที่กักขัง th_TH
dc.title.alternative Some biology of mandarinfish, Synchiropus splendidus(Herre, 1927) in captive system en
dc.type Research
dc.year 2558


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account