Abstract:
ในสถานการณ์ที่ประเทศไทยเริ่มเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุโดยที่ยังเตรียมตัวไม่พร้อม การจัดการเพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิตแต่ละด้าน โดยเฉพาะด้านโภชนาการที่มีผลต่อผู้สูงอายุโดยตรงนั้นยังขาดความชัดเจน ฉะนั้นการพัฒนากลไกการส่งเสริมให้ผู้สูงอายุมีภาวะโภชนาการและภาวะสุขภาพดีอย่างยั่งยืนจึงมีความสำคัญมาก ดังนั้นการวิจัยแบบแผนการบริโภคอาหาร ภาวะโภชนาการ และปัจจัยขับเคลื่อนชุมชนผู้สูงอายุสุขภาพดีจึงมีวัตถุประสงค์สาคัญเพื่อสร้างและพัฒนารูปแบบ
การดูแลภาวะโภชนาการและสุขภาพของผู้สูงอายุแบบบูรณาการ โดยใช้รูปแบบวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research: PAR)
แบ่งเป็น 3 ระยะดังนี้
ระยะที่ 1 การประเมินสถานะสุขภาพกายและแบบแผนการบริโภค เลือกการวัดความดันโลหิตน้ำตาลในเลือด ดัชนีมวลกาย ไขมันในเลือด (การเจาะเลือดจากปลายนิ้ว) และโรคประจาตัว กับผู้สูงอายุในชุมชนบางพระจานวน 48 คน ระยะที่2 การพัฒนารูปแบบการดูแลภาวะโภชนาการและสุขภาพของผู้สูงอายุ โดยมีแกนนำสุขภาพ เป็นกลไกหลักในการให้โภชนศึกษาแบบวงน้ำชา ให้มีการปรับพฤติกรรมการบริโภคโดยเริ่มต้นจากสิ่งที่ง่าย ไปจนถึงการสร้างกิจกรรมที่สนใจร่วมกันกับผู้สูงอายุ
และระยะที่ 3 การประเมินรูปแบบการดูแลภาวะโภชนาการและภาวะสุขภาพของผู้สูงอายุที่ได้พัฒนาขึ้น โดย (1) ประเมินสถานะสุขภาพกายและแบบแผน
การบริโภค และชีวเคมีในเลือดซ้า
วิเคราะห์เปรียบเทียบชุดข้อมูลทั้ง 2 โดยใช้สถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย Standard Deviation, Wilcoxon
Sign Rank Test และ (2) ถอดบทเรียนการเรียนรู้จากผู้เกี่ยวข้องผลการศึกษาพบว่ากลุ่มตัวอย่างมากกว่าหนึ่งในสามมีภาวะเสี่ยงต่อโรคอ้วน คือมีดัชนีมวล
กาย เส้นรอบเอว และสัดส่วนเอวกับสะโพกเกินเกณฑ์ ปริมาณไขมันในเลือดอยู่ในระดับสูง และชุมชนนี้อยู่ในแหล่งอาหารทะเล กลุ่มเสี่ยงทั้งหมดเข้าร่วม
กำหนดรูปแบบการดูแลโดยมีแกนนำสุขภาพและสมุดบันทึกรายการอาหารและร่วมกิจกรรมต่อเนื่อง 3 เดือนเมื่อเปรียบเทียบผลค่าความดันโลหิต
ค่าดัชนีมวลกาย ค่าระดับน้ำตาลในเลือด และค่าไขมันในเลือดโดยรวม ก่อนและหลังการทดสอบรูปแบบด้วยสถิติ Wilcoxon Sign Rank test พบว่า ผู้สูงอายุ
มีค่าบ่งชี้สุขภาพดีขึ้น อย่างมีนัยสาคัญ (p<0.05) สำหรับค่า Mean arterial pressure ค่าดัชนีมวลกาย และค่า Triglyceride มีการเปลี่ยนแปลงอย่าง
ไม่มีนัยสำคัญ