Abstract:
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนารูปแบบการดูแลผู้สูงอายุแบบไปกลับในโรงพยาบาลมหาวิทยาลัย โดยแบ่งการดำเนินการเป็น 3 ระยะ การศึกษาครั้งนี้ดำเนินการในระยะที่ 2 ซึ่งเป็นการพัฒนารูปแบบการดูแลผู้สูงอายุแบบไปกลับ กลุ่มตัวอย่าง คือผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียที่เกี่ยวข้องในการพัฒนารูปแบบการดูแลผู้สูงอายุ ประกอบด้วยกลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการดูแลผู้สูงอายุในแต่ละสาขาวิชาชีพ ผู้บริหารองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น เจ้าหน้าที่องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น บุคลากรให้บริการในให้บริการสุขภาพทั้งภาครัฐ และเอกชน ผู้นาชุมชน อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ผู้สูงอายุ ญาติและ
ผู้ดูแลผู้สูงอายุจำนวน 50 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นคำถามปลายเปิดซึ่งใช้แนวทางในการสัมภาษณ์และการสนทนากลุ่ม
ผลการศึกษาพบว่า สภาพการณ์ปัจจุบันเกี่ยวกับรูปแบบการดูแลผู้สูงอายุแบบไปกลับนั้นยังไม่มีความชัดเจนทั้งในเรื่องของมาตรฐานของการบริการ และนโยบายในการสนับสนุน สำหรับความคาดหวังของผู้รับบริการพบว่าสถานที่ตั้งที่เหมาะสมควรจะเป็นการจัดตั้งในชุมชน และรูปแบบกิจกรรมหรืองานบริการควรมีความเหมาะสมกับบริบทของปรัชญา พันธกิจ วิสัยทัศน์ และเป้าหมายของการจัดรูปแบบบริการของศูนย์ดูแลแบบไปกลับ รวมทั้งควรจะเป็นตามความต้องการของผู้สูงอายุและญาติด้วย