DSpace Repository

ผลของการจัดการทางกายภาพบำบัดในพระสงฆ์ที่มีภาวะข้อเข่าเสื่อม

Show simple item record

dc.contributor.author ภูริชญา วีระศิริรัตน์
dc.contributor.author กฤติกา หงษ์โต
dc.contributor.author พรพิมล เหมือนใจ
dc.contributor.author จันทร์ทิพย์ นามสว่าง
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะสหเวชศาสตร์
dc.date.accessioned 2019-03-25T09:08:31Z
dc.date.available 2019-03-25T09:08:31Z
dc.date.issued 2558
dc.identifier.uri http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1645
dc.description.abstract โรคข้อเข่าเสื่อมคือ การสึกของผิวข้อเข่าจากการใช้งานหนักเป็นเวลานาน ทากิจกรรมที่เกิดการเสียดสีของข้อเข่า ซึ่งสาเหตุดังกล่าวมักเกิดขึ้นมากในกลุ่มของพระสงฆ์ ดังนั้นผู้ป่วยจึงควรทราบถึงวิธีในการดูแลรักษาอาการข้อเข่าเสื่อมเบื้องต้นด้วยตัวเอง เพื่อลดภาระค่าใช้จ่ายในการรักษา รวมถึงประหยัดเวลาในการเดินทางไปโรงพยาบาล โดยเฉพาะอย่างยิ่งยังไม่เคยมีการศึกษาใดที่ศึกษาในพระสงฆ์ที่อาศัยอยู่ในวัด ดังนั้นผู้วิจัยจึงมีความสนใจที่จะทาการเปรียบเทียบผลของการจัดการทางกายภาพบาบัดในพระสงฆ์ที่มีภาวะข้อเข่าเสื่อมก่อนและหลังการรักษา โดยอาสาสมัครที่เข้าร่วมจานวน 12 คน อายุระหว่าง 50-70 ปี ได้รับการรักษาโดยวางแผ่นประคบร้อน การยืดกล้ามเนื้อขา การออกกาลังกายเพิ่มความแข็งแรงกล้ามเนื้อขา และได้รับคาแนะนาในการปฏิบัติตัวจากหนังสือคู่มือการดูแลตัวเอง 3 ครั้ง/สัปดาห์ เป็นเวลา 4 สัปดาห์ ซึ่งอาสาสมัครทุกคนได้รับการตรวจประเมินข้อเข่า วัดระดับความรุนแรงของอาการปวดโดยใช้ Visual Analog Scale (VAS) ประเมินภาวะความบกพร่องความสามารถของข้อเข่าโดยใช้ The Western Ontario and McMaster Universities Osteoarthritis Index (WOMAC) และวัดองศาการเคลื่อนไหวของข้อเข่าก่อนการรักษา ทันทีหลังการรักษา 4 สัปดาห์ 1 เดือน และ 3 เดือน ผลจากการศึกษาครั้งนี้ เมื่อเปรียบเทียบความแตกต่างก่อนและหลังการรักษา พบว่ามีค่าระดับความรุนแรงของอาการปวด และWOMAC function ลดลงแตกต่างกันอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ทันทีหลังการรักษา 1 เดือน และ 3 เดือน และค่าWOMAC pain และ stiff ลดลงแตกต่างกันอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ 1 เดือน และ 3 เดือน (p<0.05) แต่ค่าองศาการเคลื่อนไหวของข้อเข่า พบว่าไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติ (p>0.05) จากผลการศึกษาจึงสรุปได้ว่าการจัดการทางกายภาพบาบัดสามารถเป็นทางเลือกหนึ่งในการรักษาพระสงฆ์ที่มีภาวะข้อเข่าเสื่อมเพื่อลดอาการปวด และเพิ่มความสามารถในการทางานของข้อเข่าได้อย่างมีประสิทธิภาพหลังจากการติดตามผลที่ 3 เดือน th_TH
dc.description.sponsorship โครงการวิจัยประเภทงบประมาณเงินรายได้จากเงินอุดหนุนรัฐบาล (งบประมาณแผ่นดิน) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2557 en
dc.language.iso th th_TH
dc.publisher คณะสหเวชศาสตร์. มหาวิทยาลัยบูรพา th_TH
dc.subject กายภาพบำบัด th_TH
dc.subject ข้อเข่าเสื่อม th_TH
dc.subject สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ th_TH
dc.title ผลของการจัดการทางกายภาพบำบัดในพระสงฆ์ที่มีภาวะข้อเข่าเสื่อม th_TH
dc.title.alternative Effect of physical therapy management in monk with oa knee. en
dc.type งานวิจัย
dc.year 2558
dc.description.abstractalternative Knee osteoarthritis (OA) is a degeneration and overuse of the joint. The self-management program is very important in the monk with knee OA because have good cost effectiveness and no need for hospitalization. None of the previous studies in the monk with knee OA. Thus, the aim of this study was to compare the effect of physical therapy management in the monk with knee OA. Twelve subjects aged 50-70 years. The participants received hot pack, stretching, strengthening exercise and self-management program for 3 times/weeks, 4 weeks. Visual analog scale (VAS), The Western Ontario and McMaster Universities Osteoarthritis Index (WOMAC) and Range of Motion (ROM) for each subjects were measured at baseline, immediate, 4 weeks, 1 month and 3 months. The results showed significantly decreased pain, WOMAC-Pain, WOMAC-function and, WOMAC-stiff in 1 month and 3 months (p<0.05) and no significant in ROM. This study concludes, physical therapy management in monk with knee OA can efficiently reduce pain and WOMAC. As a result, physical therapy management may be a better choice for treatment in the monk with knee OA at 3 months. en


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account