DSpace Repository

การพัฒนาสารสนเทศด้านสุขภาพของผู้สูงอายุ (ปีที่ 2)

Show simple item record

dc.contributor.author เวธกา กลิ่นวิชิต
dc.contributor.author คนึงนิจ อุสิมาศ
dc.contributor.author ยุวดี รอดจากภัย
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะแพทยศาสตร์
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะสาธารณสุขศาสตร์
dc.date.accessioned 2019-03-25T09:08:31Z
dc.date.available 2019-03-25T09:08:31Z
dc.date.issued 2557
dc.identifier.uri http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1629
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อเป็นการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความต้องการและพัฒนาฐานข้อมูลสารสนเทศสุขภาพของผู้สูงอายุในภาคตะวันออก ดำเนินการวิจัย 4 ขั้นตอน คือ 1) การศึกษาความต้องการของผู้ใช้งานระบบ 2) การออกแบบระบบ 3) การพัฒนาระบบสารสนเทศด้านสุขภาพ และ 4) การนำเสนอและทดลองใช้งานระบบ ในขั้นตอนที่ 1 ใช้เทคนิคเดลฟาย ประชากร เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการดูแลผู้สูงอายุและระบบสารสนเทศ กลุ่มตัวอย่างได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง (Purposive sampling) จำนวน 28 คน ประกอบด้วย กลุ่มผู้บริหารสถานพยาบาล 5 คน ผู้ปฏิบัติงานด้านการดูแลผู้สูงอายุในชุมชน 5 คน ผู้สูงอายุในชมรมผู้สูงอายุในพื้นที่ภาคตะวันออก 5 คน สมาชิกในครอบครัวหรือญาติผู้ดูแล 5 คน อาจารย์ในสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษา สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศ 5 คน และนักวิชาการคอมพิวเตอร์ หรือผู้ปฏิบัติงานด้านสารสนเทศในสถานพยาบาล 3 คน เครื่องมือที่ใช้เป้นแบบสอบถามโดยให้ผู้เชี่ยวชาญตอบแบบสอบถาม 3 รอบ ผ่านการหาคุณภาพของเครื่องที่พิจารณาความเที่ยงตรง โดยผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน และได้ค่าความเชื่อมั่น 0.88 ใช้ค่าสถิติ ค่ามัธยฐาน ฐานนิยม และค่าพิสัยระหว่างคลอไทล์ เพื่อคัดเลือกหัวข้อความต้องการใช้ระบบสารสนเทศด้านสุขภาพผู้สูงอายุในภาคตะวันออกที่จะนำไปพัฒนาระบบโปรแกรมฐานข้อมูลในขั้นตอนการออกแบบและพัฒนาต่อไป ในขั้นตอนสุดท้าย คือ การทดลองใช้ระบบ ได้ตรวจสอบประสิทธิภาพของระบบสารสนเทศก่อนการนำไปใช้จริง โดยผู้เชี่ยวชาญทดสอบระบบฐานข้อมูล จำนวน 7 คน ประกอบด้วย นักวิชาการคอมพิวเตอร์ จำนวน 4 ท่าน และอาจารย์ในสาขาเทคโนโลยีทางการศึกษา 3 ท่าน ทำการทดสอบ 5 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านความสามารถในการทำงานของโปรแกรม 2) ด้านความถูกต้องในการทำงานของโปรแกรม 3) ด้านความสะดวกและง่ายต่อการใช้งานของโปรแกรม 4) ด้านความเร็วในการทำงานของโปรแกรม และ 5) ด้านการรักษาความปลอดภัยของโปรแกรม เครื่องมือที่ใช้เป้นแบบสอบถามประมาณค่า 5 ระดับ โดยผ่านการหาคุณภาพของเครื่องมือ วิเคราะห์ค่าความเที่ยงตรง และค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบาค ได้ค่าความเชื่อมั่น 0.94 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทั้งนี้ แบบสอบถามที่ใช้ผ่านการพิจารณาจากคณะกรรมการพิจารณาจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ของมหาวิทยาลัยบูรพา ผลการศึกษาวิจัย พบว่า 1. ความต้องการใช้ข้อมูลสารสนเทศตามความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญ ประกอบด้วย 3 ด้าน คือ ด้านระบบบริการสุขภาพ ด้านพฤติกรรมสุขภาพ และด้านสถานการณ์สุขภาพ 2. สารสนเทศที่เหมาะสมในการพัฒนารูปแบบระบบสารสนเทศด้านสุขภาพของผู้สูงอายุในภาคตะวันออก ด้านระบบบริการสุขภาพ มีสารสนเทศที่จำเป็นสำหรับผู้สูงอายุ จำนวน 4 รายการ คือ 1) ประเภทของบริการสุขภาพที่มีอยู่ในภาคตะวันออก 2) ข้อมูลระบบบริการสุขภาพ 3) ค่าใช้จ่ายด้านการรักษาพยาบาล 4) การเข้าถึงข้อมูลของระบบบริการสุขภาพ 3 กองทุน 3. สารสนเทศที่เหมาะสมในการพัฒนารูปแบบระบบสารสนเทศด้านสุขภาพของผู้สูงอายุในภาคตะวันออก ด้านสถานการณ์สุขภาพผู้สูงอายุ มีสารสนเทศที่จำเป็นสำหรับผู้สูงอายุ จำนวน 4 รายการ คือ 1) โรคเฉียบพลัน/ โรคอุบัติใหม่ 2) โรคเรื้อรัง 3) สุขภาพจิตในผู้สูงอายุ 4) ปัจจัยเสี่ยงทางสุขภาพของผู้สูงอายุ 4. ผลการทอสอบประสิทธิภาพของระบบสารสนเทศ ด้านสุขภาพของผู้สูงอายุในภาคตะวันออกตามความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญด้านเทคนิค พบว่า ในภาพรวมระบบโปรแกรมฐานข้อมูลสามารถทำงานได้ดีในระดับมาก สรุปและข้อเสนอแนะ สารสนเทศด้านสุขภาพมีความสำคัญต่อผู้สูงอายุและผู้ดูแลผู้สูงอายุซึ่งสามารถนำไปใช้ส่งเสริมคุณภาพชีวิตและช่วยแก้ปัญหาทางสุขภาพ ให้ผู้สูงอายุและครอบครัวมีความรู้ที่ทันสมัย นำความรู้ไปพัฒนาศักยภาพในการดูแลตนเองให้ดีขึ้น th_TH
dc.language.iso th th_TH
dc.publisher คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา th_TH
dc.subject ฐานข้อมูล th_TH
dc.subject ผู้สูงอายุ th_TH
dc.subject ระบบสารสนเทศ th_TH
dc.subject สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ th_TH
dc.title การพัฒนาสารสนเทศด้านสุขภาพของผู้สูงอายุ (ปีที่ 2) th_TH
dc.title.alternative Health information for Aging (Phase II) en
dc.type Reaearch
dc.year 2557
dc.description.abstractalternative The purpose of this research was to develop health information for the elderly in the eastern region of Thailand by using 4 steps; 1) Need of user 2) System program design 3) Develop health information system for the elderly 4) Pilot and evaluate. At first step, This study design by using Delphi technique. Population consisted of 28 persons from purposive selection; 5 hospital administrators, 5 care givers, 5 elders, 5 family members of the elderly, 5 instructors of informatics technology and 3 computer workers. Instrument was questionnaire for asking samples 3 times with validity and reliability (r = 0.88) and accreditation by Burapha university ethics committee. Statistics employed were median, mode and interquartile range for selecting topics and content to develop program. Phase of trial program to evaluate the effectiveness in 5 domains such as 1) Functional requirement test 2) Functional test 3) Usability test 4) Performance test and 5) Security test. Tool was questionnaire with validity and reliability ( r= 0.94). Statistics for analysis data were mean and standard deviation. It revealed that; 1. Needs of program users were in 3 topics consisted of 1) health service system 2) health behaviors and 3) health situations in elderly. 2. Health information for the elderly in health service system should be inform them in 4 aspects such as; 1) Existing health services in the east 2) health services in 3 health funds (the national health insurance fund, social security fund and the right of government health care. 3) health services of the cost of medical treatment and 4) Access to information of 3 health funds. 3. Health behaviors for the elderly should be consisted of 3 aspects namely; 1) factors to determinate health behaviors 2) health behaviors 3) health care potential. 4. Health situations in the elderly in 4 aspects; 1) acute/ emerging diseases 2) chronic diseases 3) mental health in elderly and 4) risk factors of elderly health. 5. Testing of the program found that effective in high level In sum, health information is important to aging and care givers which can be used to enhance their quality of life and solve health problems with moderm knowledge to improve their ability of health care. en


Files in this item

Files Size Format View

There are no files associated with this item.

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account