DSpace Repository

การลดปัจจัยเสี่ยงและส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง (ระยะที่ 1)

Show simple item record

dc.contributor.author อาภรณ์ ดีนาน th
dc.contributor.author สมสมัย รัตนกรีฑากุล th
dc.contributor.author สงวน ธานี th
dc.contributor.author วชิราภรณ์ สุมนวงศ์ th
dc.contributor.author ชัชวาล วัตนะกุล th
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะพยาบาลศาสตร์
dc.date.accessioned 2019-03-25T09:08:30Z
dc.date.available 2019-03-25T09:08:30Z
dc.date.issued 2557
dc.identifier.uri http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1620
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาเพื่อศึกษาภาวะสุขภาพ คุณภาพชีวิตและปัจจัยที่เกี่ยวข้องของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง จำนวน 200 คน ที่มารับบริการ ณ แผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลพระบรมราชเทวี ณ ศรีราชา จังหวัดชลบุรี เครื่องมือวิจัยประกอบด้วย แบบสัมภาษณ์ข้อมูลทั่วไปและการเจ็บป่วย แบบประเมินคุณภาพชีวิตและแบบวัดภาวะซึมเศร้า วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา Pearson’s correlation และ Stepwise multiple regression ผลการวิจัย สามารถสรุปได้ดังนี้ 1.กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 61.5 มีอายุเฉลี่ย 66.65 ปี (SD = 10.59) สถานภาพสมรสคู่ร้อยละ 87.5 ประกอบอาชีพรับจ้าง ร้อยละ 11.0 อาชีพอื่นๆ ร้อยละ 42.0 และไม่ได้ประกอบอาชีพคิดเป็น ร้อยละ 28.0 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนมากกว่า 10,000 บาท ร้อยละ 57.5 มีระยะเวลาการเจ็บป่วยเฉลี่ย 119.05 เดือน (SD = 77.426) มีระยะเวลาการเจ็บป่วยนานกว่า 6 ปี ร้อยละ 72.0 และมีประวัติการนอนพักรักษาในโรงพยาบาล ร้อยละ 59.0 2.ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะสุขภาพอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ ความสามารถในการทำกิจกรรม (r=.266, p<.001) การปรับตัวต่อการเจ็บป่วย (r=.238, p<.001) ภาวะจิตใจและอารมณ์ (r=.276, p<.001) การเคลื่อนไหวและการออกกำลังกาย (r=.212, p=.001) และการปฏิบัติตนตามแผนการรักษาและการควบคุมปัจจัยเสี่ยง (r=.117, p =.049) การรับประทานอาหารที่เหมาะสมกับโรค (r = -.204, =.002) ส่วนภาวะซึมเศร้าพบว่าไม่มีความสัมพันธ์กับการรับรู้ภาวะสุขภาพ (r = -.007, =.46) และเมื่อวิเคราะห์ปัจจัยทำนาย พบว่า ปัจจัยที่สามารถทำนายภาวะ สุขภาพ ได้แก่ ภาวะจิตใจและอารมณ์ (Beta= .238, p<.001) ความสามารถในการทำกิจกรรม (Beta = .226, p <.001) โดยสามารถอธิบายความแปรปรวนร่วมกันได้ร้อยละ 12.6 3.ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ การรับรู้ภาวะสุขภาพโดยรวม (r=.316, p<.001) ความสามารถในการทำกิจกรรม (r=.157, p<.013) การปรับตัวต่อการเจ็บป่วย (r=.186, p<.004ภาวะจิตใจและอารมณ์ (r=.399, p<.001) การรับประทานอาหารที่เหมาะสมกับโรค (r=.-.166, p=.009) และภาวะซึมเศร้า (r = -.356, p<.001) และเมื่อวิเคราะห์ปัจจัยทำนายคุณภาพชีวิต พบว่า ปัจจัยที่สามารถทำนายคุณภาพชีวิต ได้แก่ ภาวะจิตใจและอารมณ์ (Beta= .193, p<.014) ภาวะสุขภาพ (Beta = .261, p <.001) และภาวะซึมเศร้า (Beta = -.251, p=.001) โดยสามารถอธิบายความแปรปรวนร่วมกันได้ร้อยละ 24.9 th_TH
dc.description.sponsorship โครงการนี้ได้รับงบประมาณสนับสนุนการวิจัยจากงบประมาณรายได้ (เงินอุดหนุนจากรัฐบาล) มหาวิทยาลัยบูรพา ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2556 en
dc.language.iso th th_TH
dc.publisher คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา th_TH
dc.subject คุณภาพชีวิต th_TH
dc.subject ปัจจัยเสี่ยง th_TH
dc.subject โรคความดันโลหิตสูง th_TH
dc.subject สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ th_TH
dc.title การลดปัจจัยเสี่ยงและส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง (ระยะที่ 1) th_TH
dc.title.alternative Risk reduction and quality of life improvement for people with essential hypertension (Phase 1)
dc.type Research
dc.year 2557
dc.description.abstractalternative As the increasing rat and burdens to health care system, hypertensive people need to improve their quality of life and reduce the risk of serious complications. The objectives of this descriptive study were to examine health perception, quality of life, and their determinants. A sample was 200-hypertensivene people who received health care services at Queen Savangwattana Memorial Hospital, Chonburi. Instrument was a package of interviewing questionnaire including demographics, health perception, and quality of life. Data were analyzed using descriptive, Pearson’s correlation, and Stepwise multiple regression The results as following: Majority was female (61.5%), age average 66.65 (SD = 10.59), married status (87.5%), employees (72%), income > 10,000 บาท (57.5%), Duration of hypertension average 119.05 months (SD = 77.43), living with hypertension > 6 years (72.0%), experienced admission (59.0%) 2.Significant factors related to health perception included Daily activity (r=.266, p<.001), adaptation (r=.238 p<.001), psychological and emotion (r=.276, p<.001), physical activity and exercise (r=.212, p=.001), adherence and risk control (r=.117, p =.049), specific eating behavior (r = -.204, p =.002. However, no significant relationship between health perception and depression (r = -.007, p =.46). Stepwise Multiple Regression revealed that determinants of health perception included psychological and emotion (Beta= .238, p<.001) Daily activity (Beta = .226, p <.001). Total variance explained 12.6%. 3.Significant factors related to quality of life included health perception (r=.316, p<.001), Daily activity (r=.157, p<.013), adaptation (r=.186, p<.004) psychological and emotion (r=.399, p<.001) specific eating behavior (r=.-.166, p=.009), and depression (r = -.356, p<.001). Stepwise Multiple Regression revealed that determinants of quality of life included psychological and emotion (Beta= .193, p<.014), health perception (Beta = .261, p <.001), and depression (Beta = -.251, p=.001 Total variance explained 24.9. en


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account