Abstract:
โรคซึมเศร้ามีความสัมพันธ์กับการทำงานแบบผิดปกติของ hypothalamic-pituitary-adrenal (HPA) axis มีการกระตุ้นระบบประสาทซิมพาเธติคมากว่าปกติ
และเกี่ยวข้องกับการอักเสบ ความผิดปกติใน ประสาทและฮอร์โมนเหล่านี้ทำให้ผู้ป่วยเสี่ยงต่อการเกิดโรคระบบหัวใจและหลอดเลือด ได้มีการเสนอแนะให้นำยาต้านอักเสบ NSAIDs กลุ่ม COX-2 inhibitor มาใช้รักษาร่วมกับยาต้านซึมเศร้าในการรักษาโรคซึมเศร้า แต่ยังไม่มีการยืนยันว่าการให้ยาร่วมแบบนี้จะมีผลเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคระบบหัวใจและหลอดเลือดหรือไม่ คณะผู้วิจัยจึงได้ศึกษาผลของการให้ยาต้านซึมเศร้า fluoxetine (serotonin reuptake inhibitor) ร่วมกับยาต้านอักเสบ celecoxib ต่อความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดในหนูขาวที่เหนี่ยวนำให้เกิดภาวะซึมเศร้าด้วย chronic mild stress (CMS) การศึกษาแบ่งหนูขาวออกเป็น 4 กลุ่ม ดังนี้ 1) กลุ่มควบคุม 2) กลุ่มที่เหนี่ยวนาให้เกิดอาการซึมเศร้าด้วย CMS 3) กลุ่มที่ให้ CMS และ fluoxetine (5 mg/kg/d) 4) กลุ่มที่ให้ CMS และให้ยาร่วม fluoxetine (5 mg/kg/d) และ celecoxib (5 mg/kg/d) โดยให้ยาและความเครียดเป็นเวลา 5 สัปดาห์ แล้วประเมินผลต่อพฤติกรรมซึมเศร้าทดสอบด้วย forced swimming test, การเปลี่ยนแปลงระดับ plasma cortisol, การเพิ่มของน้ำหนักตัว (% body weight gain), การเปลี่ยนแปลงของสารสื่ออักเสบ (PGE2, IL-1, TNF- และ CRP), การเกิด oxidative stress ด้วยการวัดระดับ plasma MAD, การเปลี่ยนแปลงของความดันโลหิต, การเกิดภาวะหลอดเลือดแข็งด้วยการวัด pulse wave velocity (PWV), SDNN index (แทน heart rate variability, HRV) โดยการวิเคราะห์คลื่นชีพจร, และประเมินการตอบสนองของหลอดเลือดต่อสาร (vascular reactivity) ผลการศึกษาพบว่า 1) การให้ fluoxetine อย่างเดียวและเมื่อให้ร่วมกับ celecoxib มีผลลดอาการซึมเศร้าได้บางส่วนและให้ผลใกล้เคียงกัน การให้ยาร่วมกลับมีผลเพิ่ม plasma cortisol ซึ่งบ่งบอกว่าน่าจะมีการกระตุ้น HPA axis มากกว่าการให้ fluoxetine อย่างเดียว อีกทั้ง celecoxib มีแนวโน้มเพิ่มน้ำหนักตัวซึ่งบ่งชี้ว่าน่าจะมีภาวะบวมน้ำ 2) หนูที่ซึมเศร้าจะมีระดับสารสื่ออักเสบในเลือดเพิ่มขึ้น การให้ fluoxetine สามารถลด plasma PGE2 และ CRP ได้บางส่วน และลด plasma TNF- ได้อย่างสมบูรณ์ แต่ไม่สามารถลด plasma IL-1
การให้ยา celecoxib ร่วมกับ fluoxetine ให้ผลต่อ PGE2, TNF- และ CRP ใกล้เคียงกับการให้ fluoxetine อย่างเดียว แต่สามารถ
ลด plasma IL-1 ได้อย่างสมบูรณ์ อย่างไรก็ตามการให้ยาทั้ง 2 แบบยังคงมีระดับสารสื่ออักเสบสูงกว่าปกติ 3) หนูที่ซึมเศร้ามีการเพิ่ม plasma MDA บ่งบอกว่าเกิด oxidative stress การให้ยา fluoxetine อย่างเดียวสามารถลดระดับ plasma MDA ในขณะที่การให้ fluoxetine ร่วมกับ celecoxib กลับลดได้เพียงเล็กน้อยและมีระดับสูงกว่าการให้ fluoxetine อย่างเดียว ยาทั้ง 2 แบบมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระในระดับปานกลางเท่านั้นจึงยังไม่สามารถต้าน oxidative stress ได้อย่างสมบูรณ์ 4) หนูที่ซึมเศร้าจะมี SDNN index (HRV) ลดลง การให้ fluoxetine อย่างเดียวไม่มีผลต่อ SDNN index ในขณะที่การให้ยา celecoxib ร่วมกับ fluoxetine กลับมีผลเพิ่ม SDNN index แสดงว่าการให้ยาต้านอักเสบน่าจะให้ผลดีต่อการทำงานของประสาทอัตโนมัติที่ควบคุมหัวใจ ทำให้หัวใจสามารถปรับตัวต่อสิ่งรบกวนต่าง ๆ ได้ดีกว่า 5) การให้ fluoxetine อย่างเดียวหรือให้ร่วมกับ celecoxib ไม่มีผลเปลี่ยนแปลง PWV ซึ่งเสนอแนะว่าการให้ยาทั้ง 2 แบบ ในระยะเวลา 5 สัปดาห์ยังไม่มีผลให้เกิดภาวะหลอดเลือดแข็ง 6) หนูที่ซึมเศร้าจะมีความดันโลหิตเพิ่มขึ้น fluoxetine สามารถลดความดันโลหิต แต่เมื่อให้ celecoxib ร่วมกลับทำให้ความดันโลหิตเพิ่มขึ้น 7) หลอดเลือดจากหนูที่มีอาการซึมเศร้ายังคงตอบสนองต่อสารตีบหลอดเลือด phenylephrine (PE, 1-adrenergic receptor agonist) แบบปกติ แต่ตอบสนองต่อสารคลายหลอดเลือด Isoproterenol (Iso, -adrenergic receptor agonist) และ acetylcholine (ACh, muscarinic receptor agonist) ลดลง การให้ fluoxetine สามารถลดการตอบสนองต่อ PE เล็กน้อย แต่ไม่สามารถคืนการตอบสนองต่อ Iso และ ACh ในขณะที่เมื่อให้ celecoxib ร่วมกับ fluoxetine การตอบสนองต่อ PE มีแนวโน้มเพิ่มเล็กน้อย แต่สามารถคืนการตอบสนองต่อ Iso ได้อย่างสมบูรณ์ และคืนการตอบสนองต่อ ACh ได้เพียงบางส่วนซึ่งบ่งชี้ว่าหลอดเลือดยังมีภาวะ endothelial dysfunction โดยสรุปการศึกษานี้แสดงให้เห็นว่า การให้ยา fluoxetine ร่วมกับยา celecoxib ไม่สามารถช่วยให้พฤติกรรมซึมเศร้าดีขึ้นได้มากกว่าการให้ fluoxetine อย่างเดียว อีกทั้งยังทำให้ความดันโลหิตเพิ่มซึ่งสัมพันธ์กับการคั่งของน้าในร่างกายและการเกิด endothelial dysfunction นอกจากนี้การให้ยาทั้ง 2 แบบยังคงมีระดับสารสื่ออักเสบในเลือดสูงและยังมีภาวะ oxidative stress ซึ่งอาจมีผลทำลายหลอดเลือด