DSpace Repository

การเปรียบเทียบคุณภาพบริการตามความคาดหวังและการรับรู้ตามที่เป็นจริง ของผู้รับบริการทันตกรรม ในศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยบูรพา

Show simple item record

dc.contributor.author แก้วใจ หงอสกุล
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะแพทยศาสตร์
dc.date.accessioned 2019-03-25T09:07:16Z
dc.date.available 2019-03-25T09:07:16Z
dc.date.issued 2546
dc.identifier.uri http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1608
dc.description.abstract วัตถุประสงค์ 1. ศึกษาระดับความคาดหวังในคุณภาพบริการและระดับคุณภาพบริการตามการรับรู้จริงหลังรับบริการของ ผู้มารับบริการทันตกรรม ในศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยบูรพา 2. เปรียบเทียบคุณภาพบริการตามความคาดหวังและการรับรู้จริงหลังรับบริการของผู้มารับบริการทันตกรรม 3. ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพบริการตามการรับรู้จริงหลังรับบริการในผู้มารับบริการทันตกรรม 4. ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยต่างๆที่มี ผลต่อคุณภาพบริการตามการรับรู้จริงหลังรับบริการใน ผู้มารับบริการทันตกรรม วิธีดําเนินการวิจัย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ เป็นการคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างจากประชากรที่มารับบริการทันตกรรม ในศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยบูรพา ได้จํานวน 350 ราย เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับ ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม แบบสอบถามความคาดหวัง และการรับรู้ที่เป็นจริงต่อคุณภาพบริการของ การบริการทันตกรรม5 ด้าน คือด้านความเป็นรูปธรรมของบริการ , ด้านความเชื่อถือไว้วางใจ , ด้านการ ตอบสนองผู้มารับบริการ , ด้านความเชื่อมั่นในบริการ และด้านการเข้าใจและรู้จักผู้มารับบริการ มีค่าความ เชื่อมั่นของแบบสอบถาม .9850 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบ ค่า ที (T-test) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (Oneway ANOVA) และการวิเคราะห์ ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน (Pearson’s product moment correlation coefficient) ผลการวิจัย 1. ความคาดหวังของผู้มารับบริการแผนกทันตกรรม ศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพในภาพรวมและจําแนกรายด้าน พบว่าอยู่ในระดับมาก 2. การรับรู้จริงของผู้มารับบริการแผนกทันตกรรม ศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพ ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด 3. การเปรียบเทียบคุณภาพบริการของผู้มารับบริการแผนกทันตกรรม ตามความคาดหวัง และตามการรับรู้จริงของผู้ป่วยพบว่าคุณภาพบริการตามความคาดหวังและตามการรับรู้จริงทั้งในภาพรวมและ จําแนกรายด้าน ทั้ง 5 ด้าน มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .001 โดยมีการรับรู้จริง มากกว่า ความคาดหวังในคุณภาพบริการ 4. การเปรียบเทียบคุณภาพบริการตามการรับรู้จริงกับ เพศ ที่อยู่ปัจจุบัน อาชีพ ระดับการศึกษา และ ประเภทของผู้มารับบริการจําแนกตามสิทธิการรักษา โดยภาพรวมและจําแนกรายด้าน พบว่าไม่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 5. เปรียบเทียบคุณภาพบริการตามการรับรู้จริงของผู้มารับบริการแผนกทันตกรรมที่มีสถานภาพสมรสและ รายได้ต่างกัน พบว่า แตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ .05 ในผู้มารับบริการที่มีช่วงอายุ ต่างกัน 6. ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของคุณภาพบริการตามการรับรู้จริงของผู้มารับบริการแผนกทันตกรรมกับ ปัจจัยด้านรายได้ ในภาพรวมและจําแนกเป็นรายด้านพบว่า ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิต ที่ระดับ .05 ข้อเสนอแนะ 1. ควรมีการปรับปรุงสิ่งแวดล้อมทางกายภาพเช่น เครื่องมือและอุปกรณ์ทางการแพทย์ ระบบสาธารณูปโภค ให้มีความพร้อม และทันสมัยมากขึ้นเพื่อสร้างความประทับใจและความเชื่อมั่นในการรับบริการมากขึ้น 2. ควรมีการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพในด้านที่มีผลการศึกษาวิจัยที่พบว่าคุณภาพบริการตามการรับรู้ของ ผู้รับบริการอยู่ในระดับที่ดีที่สุด เพื่อหาประเด็นที่เป็นจุดสร้างความพึงพอใจให้แก่ผู้รับบริการและสามารถให้ หน่วยงานอื่นๆ ใช้เป็นต้นแบบหรือแนวทางในการให้บริการได้ การนําไปใช้ประโยชน์ เป็นรายงานสําหรับประเมินคุณภาพบริการในปัจจุบันและการพัฒนาคุณภาพบริการของงานทันตกรรม th_TH
dc.language.iso th th_TH
dc.publisher คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา th_TH
dc.subject คุณภาพการบริการ th_TH
dc.subject ทันตกรรม th_TH
dc.subject สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ th_TH
dc.title การเปรียบเทียบคุณภาพบริการตามความคาดหวังและการรับรู้ตามที่เป็นจริง ของผู้รับบริการทันตกรรม ในศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยบูรพา th_TH
dc.type Research
dc.year 2546


Files in this item

Files Size Format View

There are no files associated with this item.

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account