DSpace Repository

เปรียบเทียบความคาดหวังของผู้ป่วยในต่อคุณภาพบริการ และคุณภาพบริการที่ได้รับในหอผู้ป่วยสามัญ ศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยบูรพา

Show simple item record

dc.contributor.author นพรัตน์ โขวิฑูรกิจ
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะแพทยศาสตร์
dc.date.accessioned 2019-03-25T09:07:16Z
dc.date.available 2019-03-25T09:07:16Z
dc.date.issued 2546
dc.identifier.uri http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1606
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาเปรียบเทียบความคาดหวังของผู้ป่วยในต่อคุณภาพบริการและคุณภาพบริการที่ได้ รับในหอผู้ป่วยสามัญ ศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยบูรพา ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพบริการกับบริการที่ได้รับและศึกษาปัจจัยที่สามารถร่วมทํานายคุณภาพบริการ กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาเป็นผู้ป่วยในที่มารับบริการ ณ หอผู้ป่วยสามัญ ศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยบูรพา จํานวน 176 คน เครื่องมือที่ใช้ในการทําวิจัยเป็นแบบสอบถามความคาดหวังและแบบสอบถามการรับรู้ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นเอง มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.94 และ 0.94 ตามลําดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว วิเคราะห์หาความสัมพันธ์ และ สมการถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. ค่าเฉลี่ยคะแนนของความคาดหวังต่อคุณภาพบริการโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก แต่จําแนกรายด้านพบว่าอยู่ในระดับปานกลาง 1 ด้าน 2. ค่าเฉลี่ยคะแนนของการรับรู้ต่อคุณภาพบริการโดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลางแต่จําแนกรายด้านพบว่าอยู่ในระดับมาก 2 ด้าน และอยู่ในระดับปานกลาง 3 ด้าน 3. ผลการเปรียบเทียบคุณภาพบริการตามความคาดหวังและการรับรู้ของผู้ป่วยใน หอผู้ป่วยสามัญศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยบูรพา พบว่า คุณภาพบริการของศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโดยภาพรวมและจําแนกรายด้านมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4. ผลการเปรียบเทียบคุณภาพบริการตามการรับรู้ของผู้ป่วยในหอผู้ป่วยสามัญ ศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยบูรพา แยกตาม เพศ สถานภาพสมรส ระดับการศึกษา อาชีพ สิทธิการเบิกจ่าย ในภาพรวมไม่แตกต่างกันแต่จําแนกรายด้านแตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ในประเด็นของสถานภาพ สมรส อาชีพ สิทธิการเบิกจ่าย 5. ผลความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพบริการตามการรับรู้กับ อายุ รายได้ จํานวนครั้งที่เข้ารับการรักษาและระยะเวลาการนอนในโรงพยาบาลโดยภาพรวมไม่แตกต่างกัน เมื่อจําแนกรายด้านพบว่าการรับรู้คุณภาพบริการด้านความเข้าใจและเห็นอกเห็นใจมีความสัมพันธ์ในทางลบกับจํานวนครั้งที่เข้ารับการรักษาอย่างมีนัยสําคัญ ทางสถิติที่ระดับ .05 6. ตัวแปรที่สามารถทํานายคุณภาพบริการได้อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 คือผู้ป่วยที่มีอาชีพรับจ้างมีความสําคัญสูงสุดในการทํานายคุณภาพบริการ รองลงมาคืออาชีพรัฐวิสาหกิจ ได้สมการรูปคะแนนมาตรฐาน ดังนี้ Z คุณภาพบริการ=.176 ( อาชีพรับจ้าง) -.159( อาชีพพนักงานรัฐวิสาหกิจ) ข้อเสนอแนะ ควรศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมบริการของผู้ให้บริการเพื่อเป็นข้อมูลในการพัฒนาคุณภาพและพฤติกรรมบริการ เนื่องจากผลการศึกษาที่ได้นั้นผู้รับบริการยังมีการรับรู้คุณภาพบริการน้อยกว่าคุณภาพบริการที่คาดหวังไว้การนําไปใช้ประโยชน์ เป็นรายงานใช้ในการวางแผนพัฒนาคุณภาพบริการสุขภาพภายในหอผู้ป่วยใน th_TH
dc.language.iso th th_TH
dc.publisher คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา th_TH
dc.subject คุณภาพการบริการ
dc.title เปรียบเทียบความคาดหวังของผู้ป่วยในต่อคุณภาพบริการ และคุณภาพบริการที่ได้รับในหอผู้ป่วยสามัญ ศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยบูรพา th_TH
dc.title.alternative Comparative of Inpatient's Expectation on service quality and Perception on service quality at General Ward Health Science Center, Burapha University en
dc.type Research th_TH
dc.year 2546
dc.description.abstractalternative The purposes of this study were compare service quality between expectation and perception of patients in Health Science Center, Burapha University. The samples were one thousand five hundred and twenty patients by purposive sampling. The tools were the expectative and perspective questionnaire (r = 0.94, 0.94). Statistics employed were means, percentage, standard deviation, t-test, one way ANOVA, Correlation and Step-wise multiple regression. The studies were found that: 1. As the whole the expectation on quality of service were in high level but the tangibles was in medium level. 2. The perception on quality of services were in medium level. The most inpatient's perception were reliability and empathy. 3. The comparative of inpatient's expectations and perception on service quality at general ward were difference with the statistical significance (p <.05). 4. As the whole sex, status, education, vocation, welfare were not difference with the statistical significance (p<.05) by comparative of inpatient's expectations and perceptions on service quality at general ward. The Tangibels, Reliability and Assurance were difference with the statistical significance (p<.05) in the view of status vocation and welfare. 5. Relative of Age, Income and During time of admission were not difference with the statistical significance (p<.05). 6. The effect that predicted quality of service was vocation (employee) with the statistical significance (p <.05) Z score = .0176. The second of effect that predicated quality of service was a state enterprise Z score = .059. en


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account