Abstract:
การวิจัยนีั้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างรูปแบบและแนวทางที่เหมาะสมในการบริบาลทางเภสัชกรรมแก่ผู้ป่วยเบาหวาน และสืบค้นปัญหาที่เกี่ยวกับการใช้ยาของผู้ป่วย พร้อมทั้งหาแนวทางในการแก้ไข ป้องกัน หรือติดตามเฝ้าระวังปัญหาที่เกี่ยวกับการใช้ยา การศึกษานี้เริ่มดําเนินในระหว่างวันที่ 1 กรกฎาคม ถึง 30 ตุลาคม 2545 ที่ฝ่ายเภสัชกรรม ศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยบูรพา
ผู้ป่วยเบาหวาน 40 คนที่ได้รับการบริบาลทางเภสัชกรรม เป็นเพศหญิงร้อยละ 65.0 เพศชายร้อยละ 35 ผู้ป่วยร้อยละ 80.0 เป็นผู้ป่วยที่มีอายุตั้งแต่ 55 ปีขึ้นไป และร้อยละ 60.0 เป็นผู้ป่วยเบาหวานที่มีภาวะโรคอื่นร่วมด้วย โดยผลการศึกษาภายหลังการให้บริบาลทางเภสัชกรรมและติดตามประเมินผล 2 ครั้ง
พบว่า ผู้ป่วยเบาหวานกลุ่มที่ 1 และ 2 (กลุ่มที่มีระดับน้ำตาลในเลือด ≤ 180 mg%) มีจํานวนเพิ่มขึ้น และผู้ป่วยกลุ่มที่มีระดับน้ําตาลในเลือดสูงกว่า 180 mg% มีจํานวนลดลง สําหรับปัญหาที่เกี่ยวกับการใช้ยาของผู้ป่วยที่พบก่อนการให้บริบาลทางเภสัชกรรมมี 48 ปัญหา (76.2%) , หลังการติดตามประเมินผลครั้งที่ 1 ลดลงเป็น 12 ปัญหา (19%) และ 3 ปัญหา (4.8%) ในการติดตามประเมินผลครั้งที่ 2 โดยปัญหาที่พบมากที่สุด คือ ปัญหาการใช้ยาน้อยกว่าที่กําหนด (49.2%) รองลงมา คือ ปัญหาการใช้ยาในเวลาที่ไม่เหมาะสม (23.8%) และปัญหาการไม่ได้รับยา หรือได้รับยาไม่ครบจํานวน (15.9%)
การให้บริบาลทางเภสัชกรรมในผู้ป่วยเบาหวานตามรูปแบบที่กําหนด มีส่วนช่วยให้ผลการรักษาของผู้ป่วยดีขึ้น และช่วยลดปัญหาที่เกี่ยวกับการใช้ยาของผู้ป่วย นอกจากนี้รูปแบบที่ได้ยังสามารถใช้เป็นแนวทางในการบริบาลทางเภสัชกรรมผู้ป่วยในโรคระบบอื่น ๆ ต่อไป