dc.description.abstract |
วัตถุประสงค์
เพื่อเปรียบเทียบผลลดน้ําตาลในเลือดของผู้ที่มีภาวะทนต่อกลูโคสบกพร่อง เมื่อรับประทาน
มะระขี้นกผงแห้งฟรีซดราย ครั้งเดียว และยาหลอก
วิธีดําเนินการวิจัย
คัดกรองกลุ่มตัวอย่างจากผู้ที่มีภาวะก่อนเบาหวานซึ่งมีความทนต่อกลูโคสบกพร่องเมื่อวัด
ระดับน้ําตาลในเลือดด้วยวิธีอดอาหาร (IFG; FPG 100-125 มก/ดล) จํานวน 30 คน และยินดีเข้าร่วม
โครงการวิจัย ในจํานวนนี้ พบว่า เป็นผู้ที่มีความทนต่อกลูโคสบกพร่องเมื่อวัดระดับน้ําตาลในเลือด
หลังจากรับประทานกลูโคส 2 ชั่วโมง (IGT subgroup; 2 hr postprandial 140-199 มก/ดล)
14 คน ผู้ถูกศึกษาทั้งหมดถูกสุ่มโดยวิธี randomized, double blind, cross over design ให้ได้รับ
มะระขี้นกผงแห้ง ฟรีซดรายในขนาด 1,800 มิลลิกรัม/4 แคปซูล และ ยาหลอก ห่างกัน 1 อาทิตย์
ก่อนได้รับสิ่งทดลองผู้ถูกศึกษาจะถูกวัดระดับน้ําตาลในเลือด และหลังจากได้รับสิ่งทดลอง ½ ชั่วโมง
ผู้ถูกศึกษาจะต้องรับประทานน้ําตาลกลูโคส 75 กรัม แล้วจึงวัดระดับน้ําตาลในเลือด ทําการวัดซ้ําทุก
½ ชั่วโมง จนกว่าจะครบ 5 ครั้ง ค่าระดับน้ําตาลในเลือดที่วัดได้จะถูกนํามาแสดงเป็นกราฟความทน
น้ําตาลของผู้ถูกศึกษาแต่ละราย (OGT curve 0-2½ hr) กลุ่มตัวอย่างจะได้รับการติดตามอาการไม่
พึงประสงค์โดยการวัดระดับการทํางานของตับ และ ไต ก่อน และหลังเข้าร่วมการศึกษา และได้รับ
การติดตามอาการไม่พึงประสงค์ในระหว่างที่ถูกศึกษา
ผลการวิจัย
ผลการศึกษา: พบว่ากลุ่มตัวอย่างมีค่าพื้นใต้กราฟความทนน้ําตาล (AUC0-2½ hr) และระดับ
น้ําตาลในเลือดที่เวลา ½, 1, 1½, 2 และ 2½ ชั่วโมง หลังจากรับประทานมะระขี้นกผงแห้ง ฟรีซด
รายในขนาด 1,800 มิลลิกรัม แตกต่างจากที่ได้รับยาหลอกอย่างไม่มีนัยสําคัญทางสถิติ ในขณะที่ผู้ที่
มีความทนต่อกลูโคสบกพร่องเมื่อวัดระดับน้ําตาลในเลือดหลังจากรับประทานกลูโคส 2 ชั่วโมง มีพื้นที่
ใต้กราฟความทนน้ําตาล (AUC0-2½ hr) (408.21) และระดับน้ําตาลในเลือดที่เวลา 1½ (189.21), 2
(168.14) และ 2½ (133.00) ชั่วโมง ลดลงอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (P = 0.008, 0.01, 0.04,
0.015 )หลังจากรับประทานมะระขี้นกผงแห้ง ฟรีซดรายในขนาด 1,800 มิลลิกรัม เปรียบเทียบกับ
เมื่อได้รับยาหลอก(AUC = 451.79, ระดับน้ําตาล = 217.07, 187.00 และ 158.82 มก/ดล
ตามลําดับ) กล่าวคือ มะระขี้นกผงแห้ง ฟรีซดรายในขนาด 1,800 มิลลิกรัม/4 แคปซูล รับประทาน
ครั้งเดียวไม่ช่วยให้ความทนต่อน้ําตาลของผู้ที่มีภาวะก่อนเบาหวานดีขึ้น แต่สามารถทําให้ความทนต่อ
น้ําตาลของผู้ที่มีภาวะก่อนเบาหวานเมื่อวัดระดับน้ําตาลในเลือดหลังจากรับประทานกลูโคส 2 ชั่วโมง
ดีขึ้น โดยพบว่ามะระขี้นกสามารถลดระดับน้ําตาลในเลือดของผู้ป่วยกลุ่มนี้ได้หลังจากรับประทานยา
ไปแล้วตั้งแต่ 1½-2 ชม. โดยไม่พบอาการข้างเคียงที่เป็นอันตราย ส่วนกลไกการออกฤทธิ์ที่น่าจะ
เป็นไปได้ของมะระขี้นก ได้อภิปรายไว้ในการศึกษาครั้งนี้แล้ว ควรมีการศึกษาต่อไปในระยะยาว ทั้ง
ในกลุ่มภาวะก่อนเบาหวาน และผู้ป่วยเบาหวานเพื่อยืนยันผลลดระดับน้ําตาลในเลือด ของมะระขี้นก
ว่าสามารถช่วยให้การควบคุมระดับน้ําตาลในเลือดดีขึ้นได้
ข้อเสนอแนะ
กําลังดําเนินการศึกษาวิจัยต่อในระยะที่ 2-3 การนําไปใช้ประโยชน์ |
th_TH |