dc.contributor.author |
กฤษณา นรนราพันธ์ |
|
dc.contributor.other |
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะแพทยศาสตร์ |
|
dc.date.accessioned |
2019-03-25T09:07:16Z |
|
dc.date.available |
2019-03-25T09:07:16Z |
|
dc.date.issued |
2547 |
|
dc.identifier.uri |
http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1601 |
|
dc.description.abstract |
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงบรรยาย มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการใช้กระบวนการพยาบาลของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยบูรพา ศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยบูรพา และเปรียบเทียบการใช้กระบวนการพยาบาลของพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในหอผู้ป่วยที่แตกต่างกัน
กลุ่มตัวอย่างได้แก่ บันทึกทางการพยาบาลและคาร์เด็กซ์ของผู้ป่วย ที่บันทึกโดยพยาบาลวิชาชีพ เลือกกลุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการสุ่มอย่างง่าย และกำหนดขนาด
ของกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรของยามาเน (Yamane, 1970) ได้จำนวนกลุ่มตัวอย่าง 319 ฉบับ เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลคือ แบบตรวจสอบรายการการบันทึกตามขั้นตอนของกระบวนการพยาบาล 5 ขั้นตอน ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นซึ่งผ่านการตรวจสอบความเที่ยงตรงตามเนื้อหาและความเชื่อมั่น โดยนำคะแนนที่ได้มาคำนวณหาค่าดัชนีความสอดคล้องของการสังเกต (Interrater reliability)
ตามวิธีการของโพลิทและฮังเลอร์ (Polit & Hunger) ได้ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ .93 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และทดสอบความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยรายคู่ด้วยวิธี
LSD (Least – Significant Different)
ผลการวิจัยพบว่า
1. พยาบาลวิชาชีพมีการใช้กระบวนการพยาบาลโดยรวมอยู่ในระดับน้อยที่สุด
เมื่อพิจารณาแต่ละขั้นตอนของกระบวนการพยาบาล พบว่า มีการใช้ขั้นการพยาบาลสูงที่สุด และขั้นการวางแผนการพยาบาลต่ำที่สุด
2. พยาบาลวิชาชีพในหอผู้ป่วย 4 ลักษณะ คือ หอผู้ป่วยสามัญชาย / หญิง หอผู้ป่วยพิเศษ 5 – 6 แผนกสูติกรรม แผนกบําบัดวิกฤต มีการใช้กระบวนการพยาบาลโดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยพยาบาลวิชาชีพแผนกสูติกรรมมีการใช้กระบวนการพยาบาลระดับสูงที่สุด และแผนกบําบัดวิกฤตมีการใช้กระบวนการพยาบาลต่ำที่สุด
3. การใช้กระบวนการพยาบาลของพยาบาลวิชาชีพใน 4 ลักษณะหอผู้ป่วย ในขั้นการประเมินสภาพของผู้ป่วย ขั้นการวินิจฉัยการพยาบาล ขั้นการปฏิบัติการพยาบาล และขั้นการประเมินผลการพยาบาล แตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 แต่การใช้ในขั้นการวางแผนการพยาบาลไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ |
th_TH |
dc.description.sponsorship |
ได้รับทุนสนับสนุนจากศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพ |
en |
dc.language.iso |
th |
th_TH |
dc.publisher |
คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
th_TH |
dc.subject |
กระบวนการทางการพยาบาล |
th_TH |
dc.subject |
พยาบาลวิชาชีพ |
th_TH |
dc.title |
การใช้กระบวนการพยาบาลของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยบูรพา |
th_TH |
dc.title.alternative |
The Nursing Process Implementation of Professional Nurses in Burapha University Hospital |
en |
dc.type |
Research |
|
dc.year |
2547 |
|
dc.description.abstractalternative |
The purposes of this descriptive research were to examine the nursing process implementation of professional nurses in Burapha University Hospital, Health Science Center, Burapha University and to compare the implementation in different units. A random sample of three hundred nineteen nursing process records of professional nurses were recruited in this study. The research instrument was a check list of five steps of nursing process, generated by the researcher. The content validity of the instrument was obtained by using a panel of experts. The interrater reliability of Polit & Humgler was .93. Percentage, mean, one way analysis of variances and LSD method were used to analyze data.
The findings of the study were as follows:
1. The nussing process implementation of overall steps of professional nurses was at lowest level. When each step of nursing process was considered, the results indicated that implementation step was at the highest level whereas the planning of care was at the lowest level.
2. The nursing process implementation performed by professional nurses in common ward, special ward, obstetric unit and intensive care unit had statistically significant difference at .05 level. When the nursing specialty was considered, it was found that professional nurses in obstetric unit had the highest level of implementation whereas the professional nurses in intensive care unit had lowest level of implementation.
3. There was statistically significant difference at .05 level in each step of nursing process implementation performed by professional nurses in four different units. Howerver, the results indicated no statistically significant difference at .05 level in the step of planning of care
Conclusion: It was recommended that professional nurses should be encouraged to perform nursing process implementation. |
en |