DSpace Repository

ลักษณะของผู้บาดเจ็บจากการจมน้ำทะเลที่เข้ามารับบริการ ณ ศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยบูรพา

Show simple item record

dc.contributor.author สมชาย ยงศิริ th
dc.contributor.author พวงทอง อินใจ th
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะแพทยศาสตร์
dc.date.accessioned 2019-03-25T09:07:16Z
dc.date.available 2019-03-25T09:07:16Z
dc.date.issued 2547
dc.identifier.uri http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1600
dc.description.abstract วัตถุประสงค์ 1. ศึกษาเกี่ยวกับลักษณะของผู้บาดเจ็บจากการจมน้ำทะเลที่เข้ามารับบริการที่ศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยบูรพา 2. ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลทั่วไป และข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการรักษา ประเภทการรักษา ระดับความรู้สึกตัวและผลการรักษาของผู้ป่วยจมน้ำ วิธีดําเนินการวิจัย การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาวิจัยย้อนหลังเชิงบรรยาย (Descriptive, retrospective study) เพื่อศึกษาเกี่ยวกับลักษณะของผู้บาดเจ็บจากการจมน้ำทะเลที่เข้ามารับบริการที่ศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยบูรพา โดยเก็บข้อมูลย้อนหลังจากเวชระเบียนผู้ป่วยจมน้ำเป็นเวลา 4 ปี ตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2544 ถึง พ.ศ. 2547 คัดเลือกกลุ่มตัวอย่าง โดยวิธีการคัดเลือกแบบเจาะจง (Purposive sampling) ได้กลุ่มตัวอย่าง 51 ราย เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบวิเคราะห์ จากบันทึกเวชระเบียนของผู้ป่วยจมน้ำ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน เปรียบเทียบความสัมพันธ์โดยใช้ Student’s t-test และ Chi square test ผลการวิจัย ผู้บาดเจ็บจากการจมน้ำทะเลส่วนใหญ่เป็นเพศ ชาย วัยเด็กและวัยรุ่น ภูมิลําเนาอยู่ในเขตภาคกลางปัจจัยเสี่ยงและสาเหตุที่ทําให้จมน้ําทะเลได้แก่อุบัติเหตุ การดื่มสุรา มีผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ 18 จาก 51 ราย พบว่าระดับ serum sodium สูง potassium ค่อนข้างต่ํา และ wide anion gap metabolic acidosis ได้บ่อย พบว่าผู้ป่วยที่มีระดับความรู้สึกตัวแย่กว่าจะมีระดับ serum sodium สูงกว่ากลุ่มที่มีระดับความรู้สึกตัวดีอย่างมีนัยสําคัญ (144.00+3.5 vs. 148.67+9.7 p. = 0.023) ในผู้ป่วยที่มี wide anion gap metabolic acidosis จะมีระดับออกซิเจนในเลือดน้อยกว่ารายที่ไม่มี metabolic acidosis อย่างมีนัยสําคัญ (77.44+20.917 กับ 94.75+6.076 p.=0.018) ได้รับการรักษาพยาบาล ด้วยการ ให้ออกซิเจน คิดเป็นร้อยละ 100.0 การให้สารน้ําทดแทนทางหลอดเลือดดําร้อยละ 98.0 ได้รับการช่วยฟื้นคืน ชีพแบบพื้นฐาน ร้อยละ 43.1 ผู้ป่วย 23จาก 51 รายได้รับการรักษาในโรงพยาบาล ผู้ป่วยเสียชีวิต 10 ราย คิดเป็นร้อยละ 19.6 ส่วนมากเสียชีวิตตั้งแต่แรกรับที่แผนกฉุกเฉิน ความผิดปกติของดุลเกลือแร่ที่พบได้บ่อย คือภาวะโซเดียมสูง ภาวะเลือดเป็นกรด ข้อเสนอแนะ 1. จากการศึกษาครั้งนี้แม้จะพบว่าผู้ป่วยส่วนใหญ่มีอาการทุเลาและกลับบ้านได้แต่ก็มีจํานวน ร้อยละ 19.6 ที่ต้องเสียชีวิตด้วยอุบัติเหตุจมน้ํา ดังนั้นการพัฒนาแนวทางการช่วยเหลือผู้ป่วยจมน้ําในชุมชน การหาแนวทางการป้องกันการจมน้ํา โดยนําข้อมูลที่ได้จากการศึกษาเป็นพื้นฐานในการประสานกับองค์กร บริหารส่วนท้องถิ่น และองค์กรของรัฐที่เกี่ยวข้องเพื่อหามาตรการและการดําเนินการป้องกันการบาดเจ็บจาก การจมน้ํา การวางแผนการช่วยเหลือเบื้องต้นและแนวทางการปฏิบัติเพื่อการส่งต่อไปรับการรักษาใน โรงพยาบาลในเขตพื้นที่ชายฝั่งภาคตะวันออก 2. จากข้อมูลที่ได้จากการศึกษาพบว่ามีความแตกต่างด้านการเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับค่าอิเลคโตรไลท์ในกลุ่ม ตัวอย่างนี้ น่าจะเป็นข้อมูลพื้นฐานสําคัญสําหรับสถานพยาบาลในการกําหนดนโยบายและวางแนวทาง ให้บริการทางการพยาบาล และการรักษาผู้ป่วยจมน้ําที่ถูกต้อง มีประสิทธิภาพสอดคล้องกับพยาธิสภาพของ ผู้ป่วย ป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนและลดอัตราการเสียชีวิต การบาดเจ็บจากการจมน้ํา และการจัดทํา คู่มือปฏิบัติงานการรักษาพยาบาลแก่ผู้ป่วยที่ได้รับบาดเจ็บจากการจมน้ําให้ครอบคลุมและเป็นไปในทิศทาง เดียวกัน 3. ควรมีการศึกษาเพิ่มเติมโดยละเอียดเกี่ยวกับความผิดปกติของระดับเกลือแร่ในเลือดผู้ป่วยเนื่องจากพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความผิดปกติของดุลเกลือแร่และกรดด่างเป็นจํานวนมากโดยจัดทําการศึกษาแบบไปข้างหน้า ( Prospective Study) เพื่อความสมบูรณ์ของข้อมูล และศึกษาแนวทางการป้องกันการบาดเจ็บจากการจมน้ํา เพิ่มเติม 4. ควรมีการทดลองการจัดโปรแกรมการปฏิบัติเพื่อการรักษา การป้องกัน ภาวะแทรกซ้อนหรือการบาดเจ็บ จากการจมน้ํา และเปรียบเทียบผลลัพธ์หลังการใช้โปรแกรม การนําไปใช้ประโยชน์ ข้อมูลที่ได้นํามาใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานสําคัญสําหรับการพัฒนาแนวทางการช่วยเหลือผู้ป่วยจมน้ำในชุมชน และการประสานงานกับองค์กรบริหารส่วนท้องถิ่นและองค์กรของรัฐเพื่อร่วมกันหามาตรการและการดําเนินงานเพื่อการป้องกันการบาดเจ็บจากการจมน้ำ การช่วยเหลือเบื้องต้นและการส่งต่อ (refer) ไปรับการรักษา th_TH
dc.description.sponsorship ได้รับทุนอุดหนุนการวิจัยจากศูนยฺวิทยาศาสตร์สุขภาพ en
dc.language.iso th th_TH
dc.publisher คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา th_TH
dc.subject ผู้บาดเจ็บ th_TH
dc.subject ผู้ป่วยจมน้ำ th_TH
dc.subject สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ th_TH
dc.title ลักษณะของผู้บาดเจ็บจากการจมน้ำทะเลที่เข้ามารับบริการ ณ ศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยบูรพา th_TH
dc.type Research
dc.year 2547


Files in this item

Files Size Format View

There are no files associated with this item.

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account