DSpace Repository

ความสัมพันธ์ระหว่าง การรับรู้เกี่ยวกับภาวะผู้นําของผู้บริหาร คุณค่าของตนเอง และบรรยากาศองค์กรกับสมรรถนะในการปฏิบัติงาน ของบุคลากรศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยบูรพา

Show simple item record

dc.contributor.author สรร กลิ่นวิชิต
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะแพทยศาสตร์
dc.date.accessioned 2019-03-25T09:07:15Z
dc.date.available 2019-03-25T09:07:15Z
dc.date.issued 2547
dc.identifier.uri http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1599
dc.description.abstract วัตถุประสงค์ ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ภาวะผู้นําของผู้บริหาร คุณค่าของตนเอง บรรยากาศองค์กร กับ สมรรถนะในการปฏิบัติงานของบุคลากรผู้ปฏิบัติงานของศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยบูรพา วิธีดําเนินการวิจัย กลุ่มตัวอย่างจํานวน 117 คนโดยสุ่มจากประชากรกลุ่มบุคลากรผู้ปฏิบัติงานที่ศูนย์วิทยาศาสตร์ สุขภาพ มหาวิทยาลัยบูรพา ทั้งข้าราชการ พนักงานมหาวิทยาลัย ลูกจ้างประจํา และลูกจ้างชั่วคราวที่ไม่ได้มี ตําแหน่ง ผู้บริหารตั้งแต่ระดับ หัวหน้างานขึ้นไป จํานวน 217 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาวิจัยเป็น แบบสอบถามมี 5 ตอน ประกอบด้วย ตอนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป ได้แก่ เพศ อายุ ประสบการณ์ปฏิบัติงานในองค์กรและหน่วยงานที่สังกัด ตําแหน่งหน้าที่ที่ปฏิบัติอยู่ ตอนที่ 2 แบบสอบถามเกี่ยวกับการรับรู้ ภาวะผู้นําของผู้บริหาร ตอนที่ 3 การรับรู้คุณค่าของตนเอง ตอนที่ 4 การรับรู้บรรยากาศองค์กร และตอนที่ 5 แบบสอบถามเกี่ยวกับการรับรู้ด้านสมรรถนะในการปฏิบัติงานของตนเองโดยมีลักษณะคําถามให้เลือกแบบประมาณค่า 5 ระดับ (Rating Scale) ซึ่งผู้วิจัยจัดทําขึ้นเอง และนําไปตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือโดยทดสอบความเที่ยงตรงกับผู้ทรงคุณวุฒิ จํานวน 3 ท่าน และนําไปทดลองใช้แล้วนํามาวิเคราะห์ค่าความเชื่อมั่น ของแบบสอบถาม โดยการวิเคราะห์ความเชื่อมั่นใช้สูตรสัมประสิทธิ์อัลฟา (α coefficient) ของครอนบาค (Cronbach , 1981) ได้ค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ .917 การวิเคราะห์ข้อมูลโดยมาแจกแจงความถี่ และหาค่า ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของคะแนนการรับรู้ภาวะผู้นําของผู้บริหาร คุณค่าของตนเอง บรรยากาศองค์กร และสมรรถนะการปฏิบัติงานของตนเองทั้งภาพรวมและรายด้าน การวิเคราะห์ ความสัมพันธ์ระหว่าง การรับรู้ภาวะผู้นําของผู้บริหาร คุณค่าของตนเอง บรรยากาศองค์กร และสมรรถนะการ ปฏิบัติงานของตนเองโดยการคํานวณหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน (Pearson’Correlation Coefficient) ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยพื้นฐานของบุคลากร และการรับรู้ด้านต่าง ๆ โดยใช้ สูตรสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และทดสอบความมีนัยสําคัญของค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ที่คํานวณ ได้โดยการทดสอบค่าที (t-test) ผลการวิจัย 1. การรับรู้ของบุคลากรผู้ปฏิบัติงานของศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพ เกี่ยวกับภาวะผู้นํา คุณค่าของตนเอง บรรยากาศองค์กร และสมรรถนะในการปฏิบัติงานของตนเอง โดยภาพรวม อยู่ในระดับ สูง และเมื่อจําแนก รายด้าน พบว่า การรับรู้เกี่ยวกับสมรรถนะในการปฏิบัติงาน การรับรู้คุณค่าของตนเอง และการรับรู้เกี่ยวกับ ภาวะผู้นําของผู้บริหาร อยู่ในระดับสูง ส่วน การรับรู้บรรยากาศองค์กร อยู่ในระดับปานกลาง 2. การรับรู้เกี่ยวกับภาวะผู้นําผู้บริหาร การรับรู้คุณค่าของตนเอง และการรับรู้บรรยากาศองค์กร มี ความสัมพันธ์ทางบวกกับสมรรถนะในการปฏิบัติงานของบุคลากรผู้ปฏิบัติงานของศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพ อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .001( r = .321 , .554 และ .365 ตามลําดับ) 3. ปัจจัยพื้นฐานด้าน ช่วงอายุของบุคลากรผู้ปฏิบัติงานของศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพ มีความสัมพันธ์ทางบวก กับบรรยากาศองค์กร และสมรรถนะในการปฏิบัติงานของตนเอง อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ระยะเวลาในการปฏิบัติงานมีความสัมพันธ์ทางบวกกับบรรยากาศองค์กร อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และมีความสัมพันธ์ทางบวกกับสมรรถนะในการปฏิบัติงานของตนเอง อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ส่วนสถานะในการปฏิบัติงานของบุคลากรผู้ปฏิบัติงาน มีความสัมพันธ์ทางบวกกับการรับรู้ภาวะผู้นําของ ผู้บริหารและการรับรู้ความมีคุณค่าในตนเอง อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ข้อเสนอแนะ 1. ควรมีการวิเคราะห์บรรยากาศองค์กรอย่างละเอียดต่อไปเพื่อศึกษาถึงรูปแบบและลักษณะที่เป็นบุคลิกภาพ ขององค์กรเพื่อการพัฒนาการรับรู้ของบุคลากรต่อบรรยากาศองค์กรที่ดีขึ้น 2. ในการพัฒนาสมรรถนะการทํางานของบุคลากร ผู้บริหารต้องคํานึงถึงปัจจัยที่เกี่ยวกับการรับรู้ต่างๆ ทั้ง การรับรู้เกี่ยวกับภาวะผู้ยําของผู้บริหาร การรับรู้คุณค่าของตนเอง และการรับรู้บรรยากาศองค์กร และ ผู้บริหารควรพัฒนาความรู้ ทักษะและพฤติกรรมการเป็นผู้นํา ให้ความสําคัญ ฝึกฝน สร้างสรรค์กิจกรรมที่ พัฒนาความมีคุณค่าในตนเองของบุคลากร 3. ควรนําข้อมูลที่ได้ไปใช้ในการพัฒนาปรับปรุงแนวทางการพัฒนาสมรรถนะการทํางานของบุคลากรอย่าง เป็นรูปธรรม 4. เนื่องจากการศึกษานี้ มุ่งศึกษาเฉพาะกลุ่มผู้ปฏิบัติงาน จึงควรศึกษาเชิงลึกในกลุ่มผู้บริหารด้วยเพื่อนํามา เป็นฐานข้อมูลสํารับปรับปรุงการบริหารจัดกรองค์กรให้มีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผลสูงสุด การนําไปใช้ประโยชน์ นําผลการวิจัยมาใช้เป็นแนวทางในการบริหารจัดการเพื่อส่งเสริมบุคลากรให้มีความสามารถในการ ปฏิบัติงานที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น th_TH
dc.description.sponsorship ได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยจากศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพ en
dc.language.iso th th_TH
dc.publisher คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา th_TH
dc.subject บรรยาการศองค์การ th_TH
dc.subject ภาวะผู้นำ th_TH
dc.subject สมรรถนะในการปฏิบัติงาน th_TH
dc.subject สาขาเศรษฐศาสตร์ th_TH
dc.title ความสัมพันธ์ระหว่าง การรับรู้เกี่ยวกับภาวะผู้นําของผู้บริหาร คุณค่าของตนเอง และบรรยากาศองค์กรกับสมรรถนะในการปฏิบัติงาน ของบุคลากรศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยบูรพา th_TH
dc.type งานวิจัย
dc.year 2547


Files in this item

Files Size Format View

There are no files associated with this item.

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account