dc.contributor.author |
ดุจดาว ศุภจิตกุลชัย |
|
dc.contributor.other |
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะแพทยศาสตร์ |
|
dc.date.accessioned |
2019-03-25T09:07:15Z |
|
dc.date.available |
2019-03-25T09:07:15Z |
|
dc.date.issued |
2548 |
|
dc.identifier.uri |
http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1597 |
|
dc.description.abstract |
วัตถุประสงค์
1. เพื่อศึกษาการรับรู้เกี่ยวกับโรคเบาหวานขึ้นจอประสาทตา พฤติกรรมการดูแลตนเอง
ในผู้ป่วยเบาหวาน
2. เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วย
เบาหวาน และการรับรู้เกี่ยวกับโรคเบาหวานขึ้นจอประสาทตาต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวาน
วิธีดําเนินการวิจัย
กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยทั้งเพศชายและเพศหญิงโดยจํากัดอายุ 50 ปีขึ้นไปเนื่องจากเป็นกลุ่มที่มีภาวะ
เสี่ยงมากกว่ากลุ่มอื่น และเป็นกลุ่มที่ได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ว่าเป็นโรคเบาหวาน ซึ่งมารับบริการการ
รักษาพยาบาลที่คลินิกเบาหวาน แผนกผู้ป่วยนอก ของศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยบูรพาและยินดีให้
ข้อมูล จํานวนทั้งสิ้น 274 คน เก็บข้อมูลจากแบบสอบถามการรับรู้เกี่ยวกับโรคเบาหวานขึ้นจอประสาทตาและ
พฤติกรรม การดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวาน ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นตามกรอบแนวคิดการดูแลตนเองของโอเร็ม
(Orem)และวิเคราะห์ข้อมูลลักษณะส่วนบุคคล โดยการแจกแจงความถี่ และหาค่าร้อยละ ข้อมูลเกี่ยวกับการรับรู้
เกี่ยวกับโรคเบาหวานขึ้นจอประสาทตา พฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวาน หาค่าเฉลี่ยและส่วน
เบี่ยงเบนมาตรฐาน เปรียบเทียบพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวาน จําแนกตามเพศ โดยการทดสอบค่า
t-test เปรียบเทียบพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวาน จําแนกตามอายุ รายได้ของครอบครัว ระดับ
การศึกษาสูงสุด ระยะเวลาที่เป็นโรคเบาหวาน สําหรับกลุ่มตัวอย่างมากกว่า 2 กลุ่ม โดยการวิเคราะห์ ANOVA
และใช้วิธีของเชฟเฟ่ (Scheffe) เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยรายคู่ เมื่อพบว่ามีความแตกต่างอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่
ระดับ .05 หาความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้เกี่ยวกับโรคเบาหวานขึ้นจอประสาทตากับพฤติกรรมการดูแลตนเอง
ของผู้ป่วยเบาหวาน โดยการวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน (Pearson product movement
correlation coefficient) โดยนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05
ผลการวิจัย
ผู้ป่วยเบาหวานที่มารับการรักษา ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุอยู่ในช่วง มากกว่า 59-69 ปี มีรายได้ของ
ครอบครัวอยู่ระหว่าง 5,001-10,000 บาท ระดับการศึกษาต่ํากว่าปริญญาตรี มีระยะเวลาที่ป่วยเป็นอยู่ช่วง 0-5 ปี
ผู้ป่วยเบาหวานมีการรับรู้เกี่ยวกับโรคเบาหวานขึ้นจอประสาทตามากที่สุดในด้านการรับรู้ประโยชน์ของการรักษา
รับรู้น้อยที่สุดในด้านอุปสรรคในการปฏิบัติตนในการป้องกันโรคเบาหวานขึ้นจอประสาทตา ผู้ป่วยเบาหวานมี
พฤติกรรมการดูแลตนเองในเรื่องโรคเบาหวานถูกต้องอยู่ในระดับมาก ผู้ป่วยเบาหวานมีพฤติกรรมการดูแลตนเอง
ถูกต้องดีในระดับมากสุด คือ เรื่องการมาตรวจน้ําตาลในเลือดและปัสสาวะตามแพทย์นัด ผู้ป่วยเบาหวานมี
พฤติกรรมการดูแลตนเองในระดับคะแนนต่ําสุดคือเรื่องการรับประทานอาหารรสหวาน นอกจากนี้พบว่าเพศ
อายุ รายได้ของครอบครัว ระดับการศึกษาสูงสุด ระยะเวลาที่เป็นโรคเบาหวาน มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการ
ดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวาน (p< .05) แต่การรับรู้เกี่ยวกับโรคเบาหวานขึ้นจอประสาทตา ไม่มีความสัมพันธ์กับ
พฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวาน ยกเว้นการรับรู้ด้านประโยชน์การรักษาที่มีความสัมพันธ์กับ
พฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวาน (p< .05)
ข้อเสนอแนะ
1. ควรจัดหน่วยบริการสําหรับให้คําปรึกษา ให้ความรู้และคําแนะนําแก่ผู้ป่วยเบาหวานที่มารับบริการตรวจแต่ละ
ครั้ง โดยชี้แจงให้ผู้ป่วยทราบถึงผลของการควบคุมโรค อย่างถูกวิธีโดยมุ่งเน้นการดูแลตนเองที่ถูกต้องและสามารถ
นําไปปฏิบัติได้จริงในชีวิตประจําวัน
2. หน่วยงานหรือโรงพยาบาลควรกําหนดนโยบายในเชิงรุก โดยการปรับปรุงระบบบริการและการให้บริการ
โดยเฉพาะในกลุ่มโรคเรื้อรังให้สอดคล้องกับบุคคล สังคม และวัฒนธรรมโดยให้การสนับสนุนส่งเสริมการดูแล
ตนเองด้านต่าง ๆ ในผู้ป่วยเบาหวาน
การนําไปใช้ประโยชน์
ใช้เป็นแนวทางสําหรับเจ้าหน้าที่ในทีมสุขภาพวางแผนพัฒนาการส่งเสริมการดูแลตนเองของผู้ป่วย
เบาหวานและเป็นข้อมูลพื้นฐานสําหรับผู้บริหารพิจารณาตัดสินใจวางแผน กําหนดนโยบาย การบริการสุขภาพใน
แผนกจักษุกรรม คลินิกเบาหวานหรือหน่วยบริการที่เกี่ยวข้อง |
th_TH |
dc.description.sponsorship |
ได้รับทุนอุดหนุนการวิจัยจากศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพ |
en |
dc.language.iso |
th |
th_TH |
dc.publisher |
คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
th_TH |
dc.subject |
การรับรู้ |
th_TH |
dc.subject |
จอประสาทตา |
th_TH |
dc.subject |
โรคเบาหวาน |
th_TH |
dc.subject |
สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ |
th_TH |
dc.title |
การรับรู้เกี่ยวกับโรคเบาหวานขึ้นจอประสาทตาต่อพฤติกรรม การดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวาน |
th_TH |
dc.type |
Research |
th_TH |
dc.year |
2548 |
|