Abstract:
กรดโอคาดาอิด คือสารพิษที่สะสมอยู่ในสัตว์ทะเลชนิดมีเปลือก เป็นสาเหตุของพิษท้องร่วงจากอาหารทะเลในคน มีฤทธิ์ยับยั้งการทำงานของเอนไซน์ฟอสฟาเทส ชนิด 1A และ 2A มีการรายงานว่าการให้กรดโอคาดาอิก เหนี่ยวนำให้เกิดภาวะ hyperphosphorylation ของโปรตีน tau ส่งผลให้สัตวืทดลองสูญเสียความจำในภาวะปรกติฮอร์โมนเอสโตรเจนมีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมกระบวนการสรา้งความจำของเซลล์ประสาท เป็นไปได้หรือไม่ว่ากรดฌอคาดาอิกทำให้ความจำและการเรียนรู้ลดลงอาจเกี่ยวข้องกับกระบวนการสังเคราะห์ฮอร์โมนเอสโตรเจนของเซลล์ประสาทฮิปโปแคมปัสและเป็นสาเหตุของภาวะการสูญเสียความจำ งานวิจัยนี้ทำการศึกษาผลของกรดโอคาดาอิกโดยใช้เซลล์ประสาทเพาะเลี้ยง H19-7 hippocampaส นำมาบ่มด้วยกรดโอคาดาอกที่ความเข้มข้นและเวลาต่างกันเพื่อศึกษาความเป้นพิษต่อเซลล์เพาะเลี้ยงด้วยวิธี MTT assay ศึกษาการแสดงออกของ synaptic genes ด้วยวิธี real -time PCR และศึกษาปริมาณของเอสโตรเจนด้วยวิธี ELISA ผลการทดลองแสดงให้เห็นว่าการบ่มด้วยกรดโอคาดาอิกที่ความเข้มข้นสูง (0.1 และ uM) เป็นเวลา 24 ชั่วโมง ลดอัตราการมีชีวิตของเซลล์เพาะเลี้ยงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุม และเมื่อบ่มด้วยกรดโอคาดาอิกที่ความเข้มข้นต่ำ (0.01 uM) อัตราการมีชีวิตของเซลล์เพาะเลี้ยงลดลงเมื่อบ่มเป็นเวลา 48 ชั่วโมง โดยมีค่าร้อยละของการมีชีวิตประมาณ 70 และคงที่ไปถึง 120 ชั่วโมง นอกจากนี้การให้กรดโอคาดาอิก เป็นเวลา 24 และ 96 ชั่วโมงลดการแสดงออกของยีน NR2 และ PSD-95 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุมตามลำดับ และเป็นการลดลงแบบขึ้นกับเวลา การให้กรดโอคาดาอิกส่งเป็นเวลา 120 ชั่วโมง มีแนวโน้มลดปริมาณของเอสโตรเจนที่สังเคราะห์จากเซลล์ประสาทเพาะเลี้ยง H19-7 จากผลการทดลองของงานวิจัยนี้สามารถสรุปได้ว่า กรดโอคาดดอิกมีการลดการแสดงออกของ synaptic gene (NR2 และ PSD-95) ซึ่งอาจมีส่วนเกี่ยวข้องกับความจำและการเรียนรู้