Abstract:
ไวรัสตับอับอักเสบชนิดเอและไวรัสโรต้าเป็นไวรัสสำคัญที่ติดต่อสู่คนผ่านการบริโภคหอยนางรมสด การตรวจหาไวรัสในหอยนางรมสดก่อนที่จะไปถึงมือผู้บริโภค จึงมีประโยชน์ในเชิงป้องกันโรคได้เทคนิค Multiplex RT-PCR ได้ถูกนำมาใช้ตรวจหาไวรัสตับอักเสบและไวรัสโรต้าพร้อมกันในหอยนางรมสายพันธุ์ Saccostrea commercialis ที่เพาะเลี้ยงตามชายฝั่งทะเลในเขตจังหวัดชลบุรี ระยอง และจันทบุรี โดยการสกัดสารพันธุกรรมของไวรัสด้วยวิธี Glycine-Arginine PEG และขยายเพิ่มจำนวนสารพันธุกรรมด้วย primer ที่ออกแบบจากผลการทดลองพบว่าเทคนิค multiplex RT-PCR มีความไวในการตรวจสอบสารพันธุกรรมของเชื้อไวรัสโรต้าสูงกว่า monoplex PCR เมื่อใช้เทคนิค nested PCR ร่วมกับ multiplex RT-PCR นอกจากจะเพิ่มความไวของเทคนิค RT-PCR ในการตรวจสอบสารพันธุกรรมบริสุทธิ์ของไวรัสเป้าหมายและไวรัสที่ปนเปื้อนจำลองในหอยนางรมแล้วยังสามารถยืนยันความจำเพาะของผลผลิตจากปฏิกิริยา RT-PCR ด้วย ด้วยเทคนิค multiplex RT-PCR และ nested PCR สามารถตรวจสอบการปนเปื้อนในหอยนางรมด้วยไวรัสโรต้าและไวรัสตับอักเสบเอ เพียงชนิดเดียวเท่ากับ 21.95% และ 34.15% ตามลำดับ และมีการปนเปื้อนของไวรัสทั้งสองชนิดเท่ากับ 7.32% โดยสายพันธุ์ของไวรัสโรต้าที่พบทั้งหมดเป็น Genotype [8] ดังนั้น เทคนิค multiplex RT-PCR-nested PCR จึงเป็นเทคนิคที่มีความไวและรวดเร็วในการตรวจสอบการปนเปื้อนของไวรัสตับอักเสบเอและไวรัสโรต้าพร้อมกันและสามารถนำมาใช้ในการตรวจคัดกรองหอยนางรมที่ปนเปื้อนไวรัสเป้าหมายได้