dc.contributor.author | นฤมล ชูชินปราการ | |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะการจัดการและการท่องเที่ยว | |
dc.date.accessioned | 2019-03-25T09:07:14Z | |
dc.date.available | 2019-03-25T09:07:14Z | |
dc.date.issued | 2557 | |
dc.identifier.uri | http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1581 | |
dc.description.abstract | งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาถึงการใช้พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (อี-คอมเมิรซ์) ในวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ท่องเที่ยวของไทย รวมทั้งศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการนำอีคอมเมิรซ์มาใช้ใน SMEs ท่องเที่ยวของไทย โดยศึกษาอยู่บนบริบทของเทคโนโลยี-องค์กร-สิ่งแวดล้อม (TOE) และตัวแบบการนำอินเทอร์เน็ตมาใช้ในทางการค้า (eMICA) สมการถดถอยพหุคุณถูกนำมาใช้ในการวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยทั้งแปดของ TOE และการนำอีคอมเมิรซ์มาใช้ในระยะต่าง ๆ ทั้งสามระยะ ตามสมมติฐานของการวิจัยที่ได้ตั้งไว้ ตัวแปรอิสระทั้งแปด ได้แก่ (1) การได้เปรียบเชิงเปรียบเทียบ (Relative advantage) (2) ความเข้ากันได้ (Compatibility) (3) ความพร้อมขององค์การ (Organization readiness) (4) การมีส่วนร่วมของการจัดการ (Managerial involvement) (5) นวัตกรรมของผู้บริหาร (CEOs innovativeness) (6) แรงกดดันจากซัพพลายเออร์/ลูกค้า (Pressure from suppliers/ customers) (7) ความเข้มของการแข่งขัน (Competition intensity) และ (8) การสนับสนุนจากผู้ขายเทคโนโลยีภายนอก (External support from technology vendors) การเก็บรวบรวมข้อมูลใช้แบบสอบถามออนไลน์ โดยเก็บข้อมูลจาก SMEs บริษัทตัวแทนการท่องเที่ยวของไทยที่มีเว็บไซต์ไว้ให้บริการลูกค้า การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนาและการวิเคราะห์การถดถอย ผลการศึกษาจาก 114 SMEs บริษัทตัวแทนการท่องเที่ยวของไทยที่ตอบแบบสอบถาม พบว่าส่วนใหญ่ของ SMEs บริษัทตัวแทนการท่องเที่ยวของไทยมีการใช้ประโยชน์จากเว็บไซต์อยู่ในระยะที่สองของ eMICA ซึ่งหมายความว่าบริษัทเหล่านี้ใช้เว้บไซต์ไปในการให้ข้อมูลและบริการลูกค้า นอกจากนี้ผลจากการวิเคราะห์การถดถอย พบว่า ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อระยะต่อ ๆ ของการนำมาใช้นั้นแตกต่างกันไป โดยจากการศึกษาพบว่า ปัจจัยด้านการแข่งขันมีความสัมพันธ์กับการยอมรับอี-คอมเมิร์ซมาใช้ในระยะแรก (ระยะของการโปรโมชั่น) นอกจากนี้ การศึกษาครั้งนี้พบว่าปัจจัยด้านการได้เปรียบเชิงเปรียบเทียบมีบทบาทสำคัญต่อการนำอี-คอมเมิร์ซมาใช้ในระยะที่สอง ซึ่งเป็นการนำเว็บไซต์มาใช้เพื่อให้ข้อมูลและบริการลูกค้า SMEs ท่องเที่ยวของไทยที่มีการใช้เว็บไซต์ถึงระยะที่สองนี้เป็นเพราะบริษัทเหล่านี้มีการรับรู้ถึงผลประโยชน์ต่าง ๆ ที่จะได้รับจากการนำของอี-คอมเมิร์ซมาใช้ ประการสุดท้าย การศึกษาครั้งนี้พบว่า ปัจจัยด้านความพร้อมขององค์กรมีอิทธิพลต่อการนำอี-คอมเมิร์ซมาใช้ในระยะที่สาม ซึ่งเป็นขั้นตอนที่ก้าวหน้าที่สุด โดยมีการนำเว็บไซต์มาใช้เพื่อการประมวลธุกรรมต่าง ๆ SMEs ท่องเที่ยวของไทยที่มีการใช้เว็บไซต์ถึงระยะที่สามนี้ให้ความสำคัญกับควมพร้อมขององค์กร ทั้งทางด้านการเงินและทางด้านเทคนิค ผลจากการศึกษานี้ แสดงให้เห็นว่า (1) ปัจจัยภายนอก อันได้แก่ ปัจจัยด้านการแข่งขันที่รุนแรง (2) ปัจจัยด้านเทคโนโลยี อันได้แก่ การได้เปรียบเชิงเปรียบเทียบ และ (3) ปัจจัยภายในองค์กร อันได้แก่ ความพร้อมขององค์กร เป็นสามปัจจัยที่สำคัญที่มีผลต่อการนำอี-คอมเมิร์ซมาใช้ใน SMEs ท่องเที่ยวของไทย เพื่อสร้างการได้เปรียบในการแข่งขันและมีใช้ประโยชน์จากเว้บไซต์ให้เต็มประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น SMEs ท่องเที่ยวของไทยควรมีการเตรียความพร้อมทั้งทางด้านการเงินและโดยเฉพาะอย่างยิ่งทางด้านบุคลากรที่มีความชำนาญทางด้านเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตและเว็บไซต์ และการที่จะบรรลุสู่เป้าหมายนี้ได้นั้น SMEs ท่องเที่ยวของไทย คงต้องได้รับการสนับสนุนส่งเสริมจากหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องทั้งหน่วยงานภาครัฐ และผู้ขายเทคโนโลยีให้มากขึ้น และอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ การศึกษาครั้งนี้เป็นการเพิ่มผลงานวิจัยเชิงประจักษ์ที่มีคุณค่าให้กับวรรณกรรม โดยเน้นการใช้งานเว็บไซต์ใน SMEs ท่องเที่ยวของไทยและสนับสนุนทฤษฎีที่เกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยต่าง ๆ ที่มีผลต่อการนำอี-คอมเมิร์ซมาใช้ในระยะต่าง ๆ | th_TH |
dc.description.sponsorship | สนับสนุนโดย สำนักบริหารโครงการวิจัยในอุดมศึกษาและพัฒนามหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติ สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา | en |
dc.language.iso | th | th_TH |
dc.publisher | คณะการจัดการและการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยบูรพา | th_TH |
dc.subject | วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม | th_TH |
dc.subject | สาขาเศรษฐศาสตร์ | th_TH |
dc.subject | พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ | |
dc.title | กลยุทธ์การใช้พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ท่องเที่ยวของไทย | th_TH |
dc.title.alternative | Strategic uses of electronic commerce for Thai travel SMEs | en |
dc.type | Research | |
dc.year | 2557 | |
dc.description.abstractalternative | This study examines the uses of e-commerce (EC) by Thai travel small and medium enterprises (SMEs) and investigates factors that influence e-commerce adoption of Thai travel SMEs based on technological, organizational, and environmental (TOE) contexts and extended Model of internet commerce Adoption (eMICA). Multiple regression was used to analyze the relationships between eight TOE factors and the three stages if EC adoptions. Eight independent variables (1) Relative advantage, (2) Compatibility, (3) Organization readiness, (4) Managerial involvement, (5) CEOs innovativeness, (6) Pressure from suppliers/ customers, (7) Competition intensity, and (8) External support from technology vendors- were used in order to test the hypotheses derived from the existing literature. Online survey questionnaire was used to collect data from Thai travel SMEs that have company websites. Data were analysed using descriptive statistics and regression analysis. Results from 114 respondents showed that majority of Thai travel SMEs in the study were in the second stage of EC adoption. They used their website to provide information and service to customers. In addition, results from regression analysis revealed that factors affected each stage of EC adoption were different. The study found that the relationship between competition intensity and the first stage of EC adoption. Thai travel SMEs in this stage used their websites because of the competitive environment in its industry. More, this study found that relative advantage played a significant role in adopting EC in the second stage. Thai travel SMEs used their website in this stage because they perceived the potential benefits of EC. Lastly, this study found that organizational readiness infuenced the adoption of EC in the third stage. Thai travel SMEs that moved to the advance stage of EC adoption, processing stage, emphasized at the readiness of organization both financial and technical resources. The results from this study show that (1) environmental factor (competition intensity), (2) technological factor (relative advantage), and (3) organizational factor (organizational readiness) are the three significant factors on EC adoption of Thai travel SMEs. To create competitive advantages and fully utilize the website, Thai travel SMEs should prepare both financial and skill personnel in Internet and Web technology. And to achieve this goal, Thai travel SMEs need to get more support and continually from various agencies, both government agencies and technology vendors. This study also adds valuable empirical findings to the literature by highlighting the use of website in the Thai travel SMEs and provides theoretical support for the factors affecting EC adoption stages model. | en |
Files | Size | Format | View |
---|---|---|---|
There are no files associated with this item. |