Abstract:
การติดตามการดื้อยาของเชื้อมาลาเรียชนิด Plasmodium falciparum และ Plasmodium vivax เป็นส่วนหนึ่งของการเฝ้าระวังการดื้อยา Artemisinin ขององค์การอนามัยโลก (Global Plan for Artemisinin Resistance Containment: GPARC) ซึ่งพื้นที่ที่มีการแพร่เชื้อตลอดทั้งปีหรือ hot spot ในบริเวณลุ่มแม่น้ำโขง (Greater Mekong Sub-region) โดยเฉพาะบริเวณพื้นที่ชายแดนไทย-พม่า และชายแดนไทย-กัมพูชา เพื่อให้การดำเนินงานคู่ขนานไปกับ GPARC การเฝ้าระวังและการติดตามการดื้อยามาลาเรียโดยใช้ Marker base PCR Method จากยุง anopheles vector จึงควรได้รับการพัฒนาการเฝ้าระวังทางกีฏวิทยา จากการสำรวจการดื้อยาจากต่อมน้ำลายยุง Anopheles ที่จับโดยวิธี hum landing catch ในบ้านและนอกบ้านผู้ป่วยมาลาเรียจากชายแดนทั้งสองชายแดน พบ Positive P. vivax จาก An. dirus 1 ตัวอย่างจาก 9 ตัวที่จับได้ในบ้านตอนฤดูฝน และ positive P. vivax จาก An. aconitus 2 ตัวอย่าง จาก 6 ตัว ที่จับได้นอกบ้านในฤดูหนาว เมื่อนำมาตรวจสอบกับ Drug resistance marker, dihydrofolate reductase (dhfr) gene และ Multidrug resistance gene (mdr1) พบว่า P. vivax จากยุง 3 ตัวอย่างมี 1 ตัวอย่างที่มีตำแหน่งผ่าเหล่า F1076L และมี 2ตัวอย่างที่มี dhfr haplotype ที่พบตำแหน่งผ่าเหล่า 4 ตำแหน่ง F57L, S58R, T61M และ S117T ซึ่งมีส่วนที่คล้ายกันมากเมื่อเปรียบเทียบกับ sample จากผู้ป่วยในภูมิภาคลุ่มน้ำโขง อินเดียและเอชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่น่าสนใจมากคือพบ point mutation ตำแหน่งใหม่ จาก An. aconitus 1 ตัวอย่างที่ตำแหน่ง D105N และ V145L จากการค้นพบดังกล่าวเป้นที่น่าสนใจในการใช้ MDR gene base PCR ในการเฝ้าระวังทางด้านกีฏวิทยาเพื่อติดตามการเคลื่อนย้ายของ gene ที่เกี่ยวข้องกับการดื้อยาของ P. vivax และประยุกต์ใช้กับ P.falciparum ได้ด้วย
Multidrug-resistant (MDR) Plasmodium falciparum and Plasmodium vivax malaria parasites of which MDR malaria parasites of which MDR malaria monitoring has recently been put in place for the Global Plan for Artemisinin Resistance Containment (GPARC) needs to be warranted in certain endemic areas or hotspots in the Greater Mekong Sub-region (GMS), particularly Thai-Cambodia and Thai-Myanmar borders. In parallel to GPARC, a drug resistance marker-based PCR method for monitoring MDR malaria parasites in anophiline vectors is an ideal augment for entomological surveillance. Using Plasmodium-specific and species-specific nested PCR methods, only the P. vivax was detected in salivary gland DNA extracts one Anopheles dirus Thai-Cambodia border isolate and two Anopheles aconitus from Thai-Myanmar border isolate. Based on drug resistance markers, dihydrofolate reductase (dhfr) gene involved in antifolate pressure and multidrug resistance transporter (mdr1) gene involved in quinoline pressure, P. vivax MDR gene-specific nested PCR methods provided the proof that these Anopheles vectors carried one mdr1 haplotype with a mutation F1076L and two dfhr haplotypes with quadruple point mutations F57L, S58R, T61M and S117T, sharing high homology against that of other patient isolates originally obtained from geographic area in the GMS, India and Southeast Asia regions. Interestingly, one An. aconitus isolate had dfhr haplotype with novel point mutations D105N and V145L. Such findings suggest a potential interest of the use of MDR gene-based PCR methods for vector surveillance and monitoring of the migration of P. vivax resistant genes.