DSpace Repository

การสังเคราะห์พอลิแล็กติกแอสิดโดยใช้เอนไซม์ไลเพสเป็นตัวเร่งปฏิกิริยาในกระบวนการพอลิเมอไรเซชัน

Show simple item record

dc.contributor.author สุธี วังเตือย
dc.contributor.author ชนิกา ชื่นแสงจันทร์
dc.contributor.author สาโรจน์ ศิริศันสนียกุล
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตสระแก้ว. คณะเทคโนโลยีการเกษตร
dc.date.accessioned 2019-03-25T09:07:13Z
dc.date.available 2019-03-25T09:07:13Z
dc.date.issued 2557
dc.identifier.uri http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1568
dc.description.abstract การสังเคราะห์พอลิเมอร์พอลิแล้กติกแอสิดโดยใช้เอนไซม์ Noveozyme 435 เป็นตัวเร่งปฏิกิริยาในกระบวนการพอลิเมอไรเซชัน สภาวะที่ใช้ในการสังเคราะห์มีปริมาณกรดแล็กติก 36,000 มิลลิกรัม ปริมาตรการสังเคราะห์รวมทั้งกรดแล็กติกและโทลูอีน 100 มิลลิลิตร สามารถสังเคราะห์พอลิแล็กติกแอสิดได้ โดยการวิเคราะห์โครงสรา้งของผลิตภัณฑ์พอลิแล็กแอสิดที่ผลิตได้ โดยการหาองค์ประกอบของหมู่ฟังก์ชันด้วยวิธี Fourier Transform Spectroscopy (FTIR) เมื่อพิจารณาช่วงการดูดกลืนแสงของหมู่ฟังก์ชันที่สำคัญจาก FTIR spectra ของพอลิแล็กติกแอสิดที่น้ำหนักโมเลกุลตามน้ำหนัก (Mw) ของพอลิเมอร์ที่สังเคราะห์ได้สามารถวิเคราะห์โดยใช้ Gel Permeation Chromatograph (GPC) การสังเคราะห์พอลิเมอร์ที่ใช้เอนไซม์ Novozyme 435 เป็นตัวเร่งปฏิกิริยาที่ระดับความเข้มข้น 10 เปอร์เซ็นต์ ระยะเวลาสังเคราะห์ 1 และ 24 ชั่วโมง มีขนาดน้ำหนักโมเลกุลเฉลี่ยตามจำนวน (Mn) 24,598 และ 6ม938Da ตามลำดับ ขณะที่การสังเคราะห์พอลิเมอร์ที่ใช้เอนไซม์ Novozyme 435 เป็นตัวเร่งปฏิกิริยาที่ระดับความเข้มข้น 12 เปอร์เซ็นต์ ระยะเวลาสังเคราะห์ 6 และ 24 ชั่วโมง มีขนาดน้ำหนักโมเลกุลเฉลี่ยตามจำนวน 731 และ 9,073 Da ตามลำดับ ศึกษาสภาวะที่เหมาะสมการสังเคราะห์พอลิเมอร์ที่ใช้เอนไซม์ Novozyme 435 เป็นตัวเร่งปฏิกิริยาด้วยวิธีพื้นที่การตอบสนอง (Response surface methodology: RSM) กับแผนการทดลอง Box-Behnken Design โดยศึกษาผลของระยะเวลาการสังเคราะห์พอลิเมอร์ นาน 1-24 ชั่วโมง (X1) อุณหภูมิการสังเคราะห์ระหว่าง 60-80 องศาเซลเซียส (X2) และความเข้มข้นของเอนไซม์ Novozyme 435 ระหว่าง 5-10 เปอร์เซ็นต์ (X3) ต่อเปอร์เซ็นต์การเปลี่ยนกรดแล็กติกไปเป็นพอลิเมอร์พอลิแล็กติกแอสิด (Y1) (เปอร์เซ็นต์) และค่าน้ำหนักโมเลกุลเฉลี่ยของพอลิแล็กติกแอสิด (Y2) พบว่า การกระจายของข้อมูลที่ได้จากการทดลองเป็นแบบปกติ สมการกำลังสองคือแบบจำลองที่เหมาะสมและแบบจำลองของทุกค่าตอบสนองแสดงค่า R2 ที่ระดับ 0.75079 สภาวะที่เหมาะสมจากการวิเคราะห์ร่วมกันของทุกค่าตอบสนอง คือ ใช้ปริมาณความเข้มข้นของเอนไซม์ประมาณ 10 เปอร์เซ้นต์ (w/w) ทำปฏิกิริยาที่อุณหภูมิ 60 องศาเซลเซียส ใช้ระยะเวลาในการทำปฏิกิริยา 1 ชั่วโมง ซึ่งจะสามารถสังเคราะห์พอลิแล็กติกแอสิดที่มีค่าเปอร์เซ็นต์การเปลี่ยนกรดแล็กติกไปเป็นพอลิติกแอสิด 94.5 เปอร์เซ็นต์ และพอลิแล็กแอสิดมีน้ำหนักโมเลกุลเฉลี่ยตามจำนวน ประมาณ 27,445 Da การใช้กรดแล็กติดที่หมักด้วยกระบวนการหมักไม่สามารถสังเคราะห์เป็นพอลิเมอร์ได้ ส่วนการสังเคราะห์พอลิเมอร์โดยใช้กรดแล็กติกในทางการค้า พบว่าสามารถสังเคราะห์พอลิแล็กติกแอสิดได้ค่าเปอร์เซ็นต์การเปลี่ยนกรดแล็กติกไปเป็นพอลิแล็กติกแอสิด 66.42 เปอร์เซ็นต์ และพอลิแล็กติกแอสิดมีน้ำหนักโมเลกุลเฉลี่ยตามจำนวนประมาณ 5,333 Da พอลิแล็กติกแอสิดที่สังเคราะห์ได้สามารถขึ้นรูปเป็นแผ่นฟิล์มได้โดยผสมกับพอลิแล็กติกแอสิดทางการค้า th_TH
dc.description.sponsorship สนับสนุนโดย สำนักบริหารโครงการส่งเสริมการวิจัยในอุดมศึกษาและพัฒนามหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติ สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา en
dc.language.iso th th_TH
dc.publisher คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตสระแก้ว th_TH
dc.subject กรดแลคติก th_TH
dc.subject พอลิเมอร์สังเคราะห์ th_TH
dc.subject สาขาวิทยาศาสตร์เคมีและเภสัช th_TH
dc.title การสังเคราะห์พอลิแล็กติกแอสิดโดยใช้เอนไซม์ไลเพสเป็นตัวเร่งปฏิกิริยาในกระบวนการพอลิเมอไรเซชัน th_TH
dc.title.alternative Synthesis of polylactic acid by lipase-catalysed polymerization en
dc.type Research
dc.year 2557
dc.description.abstractalternative Synthesis of polylactic acid using Novozyme 435-catalysed polymerization, the condition was done by using 36,000 mg of lactic acid with 100 ml of reaction volume. This condition could synthesized polylactic acid which confirmed by Fourier Transform Infrared Spectroscopy (FTIR). FTIR spectra showed the main functional groups of polylactic acid, whild its molecular weight (Mw) was determined by using gel permeation chromatograph (GPC). The Mw of polylactic acid from 10% Novozyme 435-catalysed at 1 and 24 h were 24,598 and 6,938 Da, respectively. While the Mw of polylactic acid from 12% Novozyme 435-catalysed at 1 and 24 h were 731 and 9,073 Da, respectively. An optimization of polylactic acid synthesis by using Novozyme 435-catalysed polymerization was studied. The effects of enzyme concentration, reaction temperature, and reaction time on the conversion yield of lactic acid and number average molecular weight were investigated using response surface methodology (RSM) with Box-Behnken design to ascertain the optimum conditions of Novozyme 435 in synthesis process of polylactic acid. The effect of the reaction time (1-24 h, X1), the reaction temperature (60-80 'C, X2) and the enzyme concentration (5-10%, X3) were determined. The responses included the conversion yield of lactic acid (%, Y1) and number average molecular weight (Mn, Y2). The normalitydistribution of experimental data was determined and adequately fitted to a 2nd order model with multiple regression coefficients (R2) range of 0.75-0.79. The optimization of the multiple responses was developed using desirability functions with all responses to be maximied. The results showed that the optimum conditions for the best values of each tworesponses occurred with a 10% enzyme concentration, reaction temperature 60'C and reaction time 1 h. The predicted responses were a 94.5% of conversion yield of lactic acid and 27,445 of number average molecular weight. Fermented lactic acid could not use for a substrate of polylactic acid synthesis. The responses were a 66.42% of conversion yield of lactic acid and 5,333 of number average molecular weight for polylactic acid synthesis by using commercial lactic acid. The mixing of syntheyic polylactic acid and commercial polylactic acid could be used as a film forming. en


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account