Abstract:
การศึกษาข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับค่าโลหิตวิทยาของปลาการ์ตูนมะเขือเทศที่ได้จากการเพาะเลี้ยง จำนวน 30 ตัว โดยแบ่งเป็นปลาที่มีอาการปกติ 21 ตัว ซึ่งมีน้ำหนักตัวเฉลี่ย 34.63 +- 11.71 กรัม และปลาที่แสดงอาการผิดปกติ 9 ตัว ซึ่งมีน้ำหนักเฉลี่ย 61.95+-16.76 กรัม มาทำการเก็บตัวอย่างเลือดเพื่อหาค่าโลหิตวิทยา ได้แก่ ปริมาณเม็ดเลือดแดง (RBC) เม็ดเลือดขาว (WBC) ค่าเม็ดเลือดแดงอัดแน่น (PVC) ค่า Blood Urea Nitrogen (BUN) ค่า Creatinine (CREAT) ค่า Total Protien (TP) ค่าเอนไซม์ Alanine Aminotransferase (ALT) และค่าเอนไซม์ Aspatate Amninotransfarase (AST) ผลการศึกษา พบว่าปลาการณีตูนที่มีอาการปกติมีปริมาณเม็ดเลือดแดงเฉลี่ย 2.21+-0.43x10 6 เซลล์/ไมโครลิตร ปริมาณเม็ดขาวเฉลี่ย 11.7+-0.37 x 10 3 เซลล์/ไมโครลิตร, ค่าเม็ดเลือดแดงอัดแน่นเฉลี่ย 43.57+-6.35 เปอร์เซ็นต์ ส่วนค่า Blood Urea Nitrogen (BUN) 3.14+-0.38 มิลลิกรัม/เดซิลิตร, ค่า Creatinine (CREAT) 0.957+-0.61 มิลลิกรัม/เดซิลิตร ค่า Total Protein (TP) 3.2+-0.34 กรัม/เดซิลิตร, ค่าเอนไซม์ Alanine Aminotrasferase (ALT) 15.5+-4.37 ยูนิต/ลิตร และค่าเอนไซม์ Aspatate Amninotransfarase (AST) 174.1+-32.36 ยูนิต/ลิตร และเมื่อนำค่าดังกล่าวมาเปรียบเทียบกับปลาการ์ตูนที่แสดงอาการผิดปกติพบว่า ทุกค่าไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติยกเว้นค่า TP (Total Protein) ซึ่งพบว่าปลาที่แสดงอาการผิดปกติมีค่ามากกว่าปลาที่แสดงอาการปกติอย่างมีนัยสำคัญ (p , 0.05) ข้อมูลที่ได้จากการศึกษาครั้งนี้สามารถใช้เป็นข้อมูลเบื้องต้นในการจัดทำค่ามาตรฐานทางโลหิตวิทยาของปลาการ์ตูน เพื่อใช้ในการตรวจติดตามและประเมินสุขภาพของปลาการ์ตูนต่อไปได้