dc.contributor.author |
กุหลาบ รัตนสัจธรรม |
th |
dc.contributor.author |
ฉันทนา จันทวงศ์ |
th |
dc.contributor.author |
เมธี จันท์จารุภรณ์ |
th |
dc.contributor.author |
วินัย แก้วมุณีวงษ์ |
th |
dc.contributor.author |
ถิรพงษ์ ถิรมนัส |
th |
dc.contributor.author |
รัชนีภรณ์ ทรัพย์กรานนท์ |
th |
dc.contributor.author |
วรรณิภา อัศวชัยสุวิกรม |
th |
dc.contributor.author |
บุญใจ ศรีสถิตย์นรากูร |
th |
dc.contributor.other |
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะพยาบาลศาสตร์ |
|
dc.contributor.other |
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะสาธารณสุขศาสตร์ |
|
dc.date.accessioned |
2019-03-25T08:45:52Z |
|
dc.date.available |
2019-03-25T08:45:52Z |
|
dc.date.issued |
2535 |
|
dc.identifier.uri |
http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/155 |
|
dc.description.abstract |
การวิจัยนี้ เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ โดยให้ชุมชนมีส่วนร่วม เพื่อพัฒนารูปแบบการดำเนินงานวางแผนพัฒนาคุณภาพชีวิตที่เหมาะสมในหมู่บ้าน โดยศึกษารูปแบบการดำเนินงานวางแผนพัฒนาคุณภาพชีวิตในหมู่บ้านทดลองรูปแบบนั้น และประเมินผลรูปแบบที่ใช้ในการวิจัย ในการนี้ได้ศึกษารูปแบบโดยให้ผู้เชี่ยวชาญของประเทศจำนวน 12 คน วิจารณ์รูปแบบที่ผู้วิจัยร่างขึ้นและส่งไปให้ผู้เชี่ยวชาญวิจารณ์กลับคืนมา 7 คน หลังจากแก้ไขตามที่ผู้เชี่ยวชาญ วิจารณ์และให้ข้อเสนอแนะแล้ว ได้เชิญ คปต. ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 13 จังหวัด จำนวน 19 คน ร่วมประชุมพิจารณาหาวิธีการนำรูปแบบนี้ไปใช้ให้เหมาะสมในหมู่บ้านหลังจากนั้นได้นำรูปแบบที่พัฒนาขึ้นใหม่นี้ไป ทดลองใช้ใน 3 หมู่บ้าน โดยมีหมู่บ้านควบคุม 3 หมู่บ้าน ซึ่งสุ่มตัวอย่างกลุ่มหมู่บ้านทั้งสองกลุ่ม โดยใช้การสุ่มแบบหลายขั้นตอน หลังจากทดลองใช้รูปแบบจนครบทุกขั้นตอนแล้ว จึงประเมินผลรูปแบบ โดยประเมินการยอมรับรูปแบบ การเปลี่ยนแปลงความรู้ ความคิดเห็น ของประชาชนและผู้นำหมู่บ้าน การเปลี่ยนแปลงการดำเนินงานของผู้นำหมู่บ้านในการวางแผนพัฒนาคุณภาพชีวิต โดยใช้เกณฑ์ความจำเป็นพื้นฐาน เก็บรวบรวมโดยการสังเกตุ การสัมภาษณ์ และการสรุปผลจากการประชุม วิเคราะห์ข้อมูลการประเมินผลรูปแบบ โดยใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS/pc+ ใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ในการวิเคราะห์ข้อมูลทั่วไป ข้อมูลเกี่ยวกับความรู้ ความคิดเห็นและการดำเนินงานพัฒนาคุณภาพชีวิต ใช้การทดสอบ (t-test) ในการเปรียบเที่ยบความรู้ ความคิดเห็นและการดำเนินงานระหว่างหมู่บ้านทดลองกับหมู่บ้านควบคุม และเปรียบเทียบผลก่อนทดลองรูปแบบกับหลังทดลองรูปแบบ ได้ผลการวิจัยดังนี้ 1. รูปแบบการดำเนินงานวางแผนพัฒนาคุณภาพชีวิตที่พัฒนาขึ้นใหม่ มีลักษณะการดำเนินงานใน 3 ระดับ ดังนี้คือ ระดับที่ 1 ผู้รับผิดชอบการดำเนินงาน จปฐ. ระดับอำเภอประชุมร่วมกับ คปต. หาแนวทางการดำเนินงาน จปฐ. ที่ดีที่สุด ระดับที่ 2 คปต. แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับผู้นำหมู่บ้านเพื่อให้เกิดแนวคิดในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน ระดับที่ 3 ผู้ใหญ่บ้านและผู้นำหมู่บ้านเรียกประชุมชี้แจงหัวหน้าครอบครัวทุกคนถึงการดำเนินงานพัฒนาคุณภาพชีวิตของตนเองและคนในครอบครัวโดวยใช้ตัวชี้วัดต่างๆ ตามความจำพื้นฐาน หลังจากนั้นจึงมอบ จปฐ.1 ให้ไปสำรวจบ้านของตนเอง โดยสามารถขอคำแนะนำได้จากผู้นำหมู่บ้านที่อยู่ใกล้เคียง เพื่อให้ชาวบ้านได้รู้ปัญหาของตนเองและผู้นำหมู่บ้านนำข้อมูลมารวมเป็นปัญหากลุ่ม และของหมู่บ้าน รวมวิเคราะห์สาเหตุของปัญหา จัดลำดับความสำคัญของปัญหา แล้วจึงร่วมมือกันวางแผนแก้ไขปัญหาของหมู่บ้าน 2. หลังจากนำรูปแบบนี้ไปทดลองใช้ในหมู่บ้านทดลอง ในขณะที่ให้หมู่บ้านควบคุมได้ดำเนินการขั้นตอนที่ 1 2 และ 3 ตามรูปแบบ เดิมที่กำหนดโดยศูนย์ประสานการพัฒนาชนบทแห่งชาติแล้ว ผลการประเมินรูปแบบได้ข้อสรุปดังนี้ 2.1 ในช่วงเวลาก่อนทดลองรูปแบบ ประชาชนในหมู่บ้านทดลองและในหมู่บ้านควบคุม มีความรู้เกี่ยวกับการดำเนินงานวางแผนพัฒนาคุณภาพชีวิต ไม่แตกต่างกัน โดยพบมีประชาชนมีความรู้น้อยกว่า ร้อยละ 5 เป็นส่วนใหญ่ 2.2 ในช่วงเวลาหลังทดสอบรูปแบบประชาชนในหมู่บ้านทดลองและในหมู่บ้านควบคุม มีความรู้เกี่ยวกับการดำเนินงานวางแผนพัฒนาคุณภาพชีวิต ไม่แตกต่างกัน แต่พบว่าประชาชน มีความรู้เพิ่มขึ้นกว่าก่อนช่วงการทดลองรูปแบบ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 2.3 ประชาชนในหมู่บ้านทดลองสามารถสำรวจข้อมูล จปฐ. 1 ได้ด้วยตนเองไม่มีปัญหาในการสำรวจ และการสำรวจ จปฐ.1ครั้งต่อไป ควรให้แต่ละครอบครัวสำรวจกันเอง และในการสำรวจ จปฐ. 1 นี้ มีประโยชน์สำหรับครอบครัวและหมู่บ้าน 2.4 ในช่วงก่อนการทดลองรูปแบบ ผู้นำหมู่บ้านและในหมู่บ้านควบคุม มีความรู้เกี่ยวกับงานการวางแผนพัฒนาคุณภาพชีวิต ไม่แตกต่างกัน โดยพบว่าผู้นำหมู่บ้านมีความรู้น้อยกว่า ร้อยละ 50 เป็นส่วนใหญ่ 2.5 ในช่วงเวลาหลังการทดลองรูปแบบ ผู้นำหมู่บ้านทดลองและในหมู่บ้านควบคุม มีความรู้เกี่ยวกับการดำเนินงานการวางแผนพัฒนาคุณภาพชีวิต แตกต่างกนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติโดยพบว่าผู้นำสองกลุ่ม มีความรู้มากขึ้นมากกว่าร้อยละ 50 เป็นส่วนใหญ่เมื่อทดสอบความแตกต่างของความรู้ในช่วงก่อนการทดลองรูปแบบ เปรียบเทียบกับในช่วงหลังการทดลองรูปแบบ พบว่ามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติทั้งในหมู่บ้านทดลองและในหมู่บ้านควบคุม 2.6 ความคิดเห็นของผู้นำชุมชน เกี่ยวกับการดำเนินงานวางแผนพัฒนาคุณภาพชีวิต ในช่วงกอนการทดลองรูปแบบ และในช่วงหลังการทดลองรูปแบบ พบว่าไม่แตกต่างกันโดยพบว่าผู้นำทั้งสองกลุ่มมีความคิดเห็นด้วยในทางบวกมากกว่า ร้อยละ 70 เป็นส่วนใหญ่ 2.7 ความคิดเห็นของผู้นำชุมชน เกี่ยวกับการดำเนินงานการวางแผนพัฒนาคุณภาพชีวิตฯ เมื่อเปรียบเทียบในช่วงก่อนและหลังการทดลองรูปแบบ ในหมู่บ้านควบคุมพบว่าไม่แตกต่างกัน ส่วนในหมู่บ้านทดลองพบว่ามีความแตกต่างกันอย่าง ส่วนในหมู่บ้านทดลองพบว่าทีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 2.8 การดำเนินงานในช่วงการทดลองรูปแบบ พบว่า คปต. อบรม กม. และผู้นำหมู่บ้านคนอื่นได้ครบถ้วน ตามรูปแบบที่กำหนดไว้ทั้งสองกลุ่ม แต่เมื่อถึงขั้นตอนที่ผู้นำหมู่บ้านเตรียมชาวบ้านนั้นพบการดำเนินงานแตกต่างกันไป 2.9 ในขั้นตอนของการสำรวจพบว่า ผู้นำในหมู่บ้านทดลองร่วมสำรวจ จปฐ.1 มากกว่าผู้นำในหมู่บ้านควบคุม จำนวนหลังคา เรือน ที่สำรวจ 10-14 หลัง ผู้นำในหมู่บ้านควบคุม เก็บรวบรวมข้อมูลโดยเดินไปสำรวจในบ้านที่รับผิดชอบ ในขณะที่ผู้นำในหมู่บ้านทดลอง ให้ชาวบ้านเก็บรวบรวมข้อมูลบ้านของตนเอง เวลาที่ใช้ในขั้นตอนนี้ 2-4 วัน 2.10 ขั้นตอนการดำเนินงานสรุป จปฐ.1 สำรวจ จปฐ.2 ทำจปฐ.3 การวิเคราะห์สาเหตุ การจัดลำดับความสำคัญของปัญหา และการวางแผนแก้ไขปัญหาพบว่าผู้นำในหมู่บ้านทดลองทำครบทุกกิจกรรม ส่วนผู้นำในหมู่บ้านควบคุมทำเฉพาะกิจกรรมการสรุป จปฐ.1เท่านั้น 2.11 ผู้นำในหมู่บ้านทดลองให้การยอมรับการดำเนินงาน จปฐ. รูปแบบใหม่นี้ โดยมีความเห็นว่าทำได้ และมีความเห็นว่า เมื่อให้ชาวบ้านสำรวจ จปฐ.1 เองช่วยให้ชาวบ้านรู้หัวข้อคุณภาพชีวิตที่ชาวบ้านยังขาดอยู่ การสำรวจ จปฐ. เป็นประโยชน์ต่อหมู่บ้านและชาวบ้านโดยตรง เป็นหน้าที่ของชาวบ้านที่จะต้องทำ การสำรวจ จปฐ.2 การทำ จปฐ.3 การจัดลำดับความสำคัญของปัญหา และการวางแผนแก้ไขปัญหาที่หมู่บ้านสามารถทำได้เอง เป็นประโยชน์กับหมู่บ้าน และเป็นหน้าที่ของผู้นำชุมชนที่จะต้องทำ การให้ชาวบ้านมีส่วนร่วมในการกำหนดแนวทางแก้ไขปัญหาที่ได้จาก จปฐ.1 ของตนเองเป็นสิ่งที่เหมาะสมดี การดำเนินงาน จปฐ. ในรูปแบบใหม่นี้เหมาะสมดี แต่ก็ยังมีผ้นำชุมชนบางส่วนที่รู้สึกไม่มั่นใจในการชี้แจงรายละเอียดการกรอกข้อมูล จปฐ.1 แก่ชาวบ้านแต่ละครัวเรือนและรู้สึกลำบากใจในการติดตามการทำ จปฐ.1 ของชาวบ้าน ควรมีการนำ จปฐ.รูปแบบใหม่นี้ไปใช้ให้กว้างขวางขึ้น โดยเฉพาะการให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการดำเนินการสำรวจ และเปรียบเกณฑ์ จปฐ. ของตนเอง และควรมีการเตรียมชุมชนอย่างจริงจังมากขึ้น โดยเน้นให้เห็นประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นกับหมู่บ้าน และประชาชน อย่างชัดเจน ผู้นำหมู่บ้านควรมีส่วนรับผิดชอบการดำเนินงานทุกขั้นตอน ตั้งแต่เตรียมชุมชนจนถึงการเขียนแผน เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องควรวางบทบาทของตนให้ดี ควรแสดงบทบาทเป็นผู้ประสาน และให้คำปรึกษาหารือตามที่ประชาชนต้องการเท่านั้น |
th_TH |
dc.publisher |
คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
th_TH |
dc.subject |
ความจำเป็นพื้นฐาน |
th_TH |
dc.subject |
สาขาสังคมวิทยา |
th_TH |
dc.subject |
สุขภาพ |
th_TH |
dc.title |
การพัฒนารูปแบบที่เหมาะสมในวิธีดำเนินงานวางแผนพัฒนาคุณภาพชีวิตตามเกณฑ์ความจำเป็นพื้นฐานในระดับหมู่บ้าน |
th_TH |
dc.title.alternative |
Developing appropriate technology for quality of life development planning process by using basic minimym needs criterior |
th_TH |
dc.type |
Research |
th_TH |
dc.year |
2535 |
|