Abstract:
ไวรัสโรตา ซึ่งเป็นเชื้อก่อโรคที่ติดต่อผ่านทางการกินเป็นสาเหตุหลักของโรคท้องร่วงในเด็กแรกเกิดและเด็กเล็กที่มีอายุต่ำกว่า 5 ขวบ ซึ่งมีการแพร่กระจายอยู่ทุกประเทศทั่วโลก ในปัจจุบันวัคซีนที่ใช้ในการป้องกันเชื้อไวรัสโรตายังมีประสิทธิภาพในการป้องกันไม่ครอบคลุมทุกสายพันธุ์ โครงการวิจัยนี้ได้ตรวจหา G-genotype และ P genotype ของเชื้อไวรัสโรตา จากอุจจาระจากผู้ป่วยเด็กที่เข้ารับการรักษาตัวที่สถาบันบำราศนราดูรด้วยอาการท้องเสียอย่างรุนแรง จำนวน 128 ตัวอย่าง อุจจาระจากผู้ป่วยถูกนำมาสกัด RNA จากนั้นนำมาตรวจสอบด้วยเทคนิค RT-PCR และเทคนิค Multiplex Semi-Nested PCR เพื่อตรวจสอบ G- หรือ P- genotype จากการวิเคราะห์ด้วย agarose gel electrophoresis นำ DNA เป้าหมายสกัดออกจาก gel แล้วนาไปหาลำดับนิวคลีโอไทด์ด้วย DNA sequencing และวิเคราะห์ความสัมพันธ์ทางสายสกุล จากผลการศึกษาพบ G1-G3 genotype ร้อยละ 72.66,7.03, 3.91 ตามลำดับ ร่วมกับ G8 และ G9 genotype ร้อยละ 14.06 และ 1.56 ตามลำดับ ส่วน P genotypes พบ P[8] และ P[4] เท่านั้นที่ร้อยละ 64.85 และ 6.25 ตามลำดับ และไม่พบ P[6] และ P[9] genotypes และสามารถรายงาน ผล G/P combination ได้ทั้งหมด 91 ตัวอย่างจากจำนวนทั้งหมด 128 ตัวอย่าง ได้แก่ G1P[8] จำนวน 58 , G2P[4] จำนวน 8, G2P[8] จำนวน 1, G3P[8] จำนวน 4, G8P[8] จำนวน 18 และ G9P[8] 2 ตัวอย่าง การติดตามความชุกของเชื้อโรตาไวรัสจึงมีประโยชน์มากในการพัฒนาวัคซีนที่มีประสิทธิภาพในการป้องกันเชื้อไวรัสโรตาสายพันธุ์ที่กำลังแพร่ระบาดอยู่