Abstract:
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อจัดทำฐานข้อมูลแหล่งท่องเที่ยวชุมชน สำรวจพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวเกี่ยวกับการท่องเที่ยวชุมชน และจัดทำ Web Map Services เพื่อเผยแพร่ข้อมูลการท่องเที่ยวชุมชนในจังหวัดชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด โดยการประยุกต์ระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ (Geographic Information System: GIS) และระบบกำหนดตำแหน่งบนโลก (Global Positioning System: GPS) จากการสำรวจพบว่าใน 4 จังหวัดมีแหล่งท่องเที่ยวชุมชนรวมทั้งสิ้น 132 แห่ง จำแนกเป็นจังหวัดชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด เท่ากับ 57, 28, 25 และ 22 แห่ง ตามลาดับ
จากการประเมินความเป็นไปได้ในการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวชุมชนของแต่ละจังหวัด มีแหล่งท่องเที่ยวชุมชนทั้งสิ้น 25 แห่งที่มีคะแนนน้อยกว่า 18 คะแนน อยู่ในจังหวัดชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด เท่ากับ 17, 2, 1 และ 5 แห่ง ตามลำดับ เช่น วัดวังคีรีวนาราม อาเภอบ่อทอง จังหวัดชลบุรี วัดเหมืองแร่ อำเภอเขาชะเมา จังหวัดระยอง ป้อมไพรีพินาศ อาเภอแหลมสิงห์ จังหวัดจันทบุรี และวัดสะพานหิน อาเภอเมืองตราด จังหวัดตราด ส่วนแหล่งท่องเที่ยวชุมชนที่มีค่าคะแนนสูงที่สุด ได้แก่ น้ำตกชันตาเถร อาเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี เท่ากับ 32 คะแนน รองลงมา คือ ศูนย์กสิกรรมธรรมชาติมาบเอื้อง อาเภอบ้านบึง จังหวัดชลบุรี เท่ากับ 31 คะแนน และวัดญาณสังวรารามวรวิหาร อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี และวัดเขาแก้ว อำเภอสอยดาว จังหวัดจันทบุรี เท่ากับ 30 คะแนน เส้นทางการท่องเที่ยวชุมชนแบ่งออกเป็น 8 เส้นทาง ได้แก่ เส้นทางที่ 1 ทำบุญไหว้พระ-ชมวัฒนธรรม มีระยะทางรวม 13.36 กิโลเมตร เส้นทางที่ 2 ตามรอยนิทานตามหาพระรถเมรี มีระยะทางรวม 23.61 กิโลเมตร เส้นทางที่ 3 เที่ยวเมืองระยอง นอนเมืองจันท์ มีระยะทางรวม 121.81 กิโลเมตร เส้นทางที่ 4 ย้อนรอยเส้นทางทัพ สัมผัสวัฒนธรรมชายฝั่งทะเล มีระยะทางรวม 219.66 กิโลเมตร เส้นทางที่ 5 เรียนรู้วิถีชีวิต-วัฒนธรรม-ธรรมชาติ มีระยะทางรวม 122.17 กิโลเมตร เส้นทางที่ 6 มหัศจรรย์แห่งธรรมชาติ มีระยะทางรวม 137.43 กิโลเมตร เส้นทางที่ 7 ความหลากหลายชายฝั่งบูรพาวิถี มีระยะทางรวม 321.85 กิโลเมตร และเส้นทางที่ 8 เส้นทางธรรมะ มีระยะทางรวม 108.69 กิโลเมตร
การสอบถามนักท่องเที่ยวเกี่ยวกับความรู้และประสบการณ์การท่องเที่ยวชุมชนเพื่อนำไปใช้ในการบริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยวชุมชน โดยแบ่งออกได้เป็น 4 แนวทาง ได้แก่ กระตุ้นและส่งเสริมการท่องเที่ยวชุมชน สร้างความประทับใจและภาพลักษณ์ที่ดีให้กับแหล่งท่องเที่ยวชุมชน
การปรับปรุงแหล่งท่องเที่ยวชุมชน และการประชาสัมพันธ์ข้อมูลแหล่งท่องเที่ยวชุมชน ส่วนการพัฒนา Web Map Services เพื่อเผยแพร่ข้อมูลการท่องเที่ยวชุมชนนั้น URL ของเว็บไซต์ คือ www.gi-cbt.buu.ac.th เว็บไซต์แบ่งออกเป็น 2 ส่วนหลัก ได้แก่ ส่วนการแสดงผลหน้าเว็บ (Web Interface) และส่วนการเก็บข้อมูลหลังเว็บไซต์ (Database Backend) โครงสร้างของเว็บไซต์ประกอบด้วย 5 เมนูหลัก ได้แก่ หน้าแรก แหล่งท่องเที่ยวชุมชน ค้นหาเส้นทาง ข้อมูล 4 จังหวัด และเกี่ยวกับโครงการวิจัย