DSpace Repository

การดูแลสุขภาพผู้สูงอายุที่เป็นโรคเบาหวานโดยให้ครอบครัวและชุมชนมีส่วนร่วม (ปีที่ 1)

Show simple item record

dc.contributor.author พิสิษฐ์ พิริยาพรรณ th
dc.contributor.author เวธกา กลิ่นวิชิต th
dc.contributor.author ผกาพรรณ ดินชูไท th
dc.contributor.author สุริยา โปร่งน้ำใจ th
dc.contributor.author เพ็ชรงาม ไชยวานิช th
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะแพทยศาสตร์
dc.date.accessioned 2019-03-25T09:07:06Z
dc.date.available 2019-03-25T09:07:06Z
dc.date.issued 2557
dc.identifier.uri http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1481
dc.description.abstract การวิจัยนี้เป็นโครงการย่อยที่ 4 เรื่อง “การดูแลผู้สูงอายุที่เป็นโรคเบาหวานโดยให้ครอบครัวและชุมชนมีส่วนร่วม” ในชัดแผนงานวิจัยเรื่อง “การพัฒนาเมืองผู้สูงอายุแสนสุข” ซึ่งในปีที่ 1 มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินภาวะสุขภาพและศักยภาพในการดูแลตนเองเกี่ยวกับความรู้พฤติกรรมสุขภาพ และการสนับสนุนทางสังคมของผู้สูงอายุที่เป็นโรคเบาหวานในชุมชนเทศบาลเมืองแสนสุข จังหวัดชลบุรี ใช้รูปแบบการวิจัยเชิงพรรณนา ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ผู้สูงอายุ ที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่เทศบาลเมืองแสนสุข จังหวัดชลบุรี ที่ได้มาจากการสุ่มตัวอย่างโดยกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างจากตารางเครจ์ซี่และมอร์แกน (Robert V. Krejcie and Earyle W. morgan 1970) ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 368 คน ตัวแปรที่ศึกษา ได้แก่ คุณลักษณะทั่วไปของผู้สูงอายุที่เป็นโรคเบาหวาน ความรู้ พฤติกรรมสุขภาพ การสนับสนุนทางสังคม เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อการศึกษาวิจัยครั้งนี้ คือ แบบสอบถาม ที่ผ่านการตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือด้านความเที่ยงตรงจากผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 3 ท่าน และมีค่าความเชื่อมั่น 0.97 และผ่านการพิจารณาจากคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยมนุษย์ มหาวิทยาลัยบูรพา สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วย ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1. ข้อมูลทั่วไปของกลุ่มตัวอย่าง พบว่า ผู้สูงอายุที่เป็นโรคเบาหวาน ในเขตเทศบาลเมืองแสนสุข จังหวัดชลบุรี ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงมากที่สุด (ร้อยละ 65.76) มีอายุระหว่าง 60-69 ปี (ร้อยละ 48.1) มีสถานภาพคู่ (ร้อยละ 42.12) ประกอบอาชีพค้าขาย (ร้อยละ 26.90) มีระดับการศึกษา ระดับประถมศึกษา (ร้อยละ 63.59) รายได้ต่อเดือนส่วนใหญ่อยู่ในช่วง 10,000-19,999 บาท (ร้อยละ 26.63) ระยะเวลาที่เป็นโรคเบาหวาน มาเป็น 1-5 ปี มากที่สุด (ร้อยละ 33.97) 2. ความรู้ของผู้สูงอายุที่เป็นโรคเบาหวาน พบว่า ส่วนใหญ่ยังไม่มีความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับโรคเบาหวาน เนื่องจากไม่มีข้อคำถามใดเลยที่มีผู้ตอบถึงร้อยละ 50 3. พฤติกรรมการดูแลตนเอง พบว่า ในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง โดยมีพฤติกรรมการจัดการความเครียด อยู่ในระดับต่ำ นอกนั้นมีพฤติกรรมการดูแลตนเองอยู่ในระดับปานกลาง ได้แก่ พฤติกรรมการรับประทานยา พฤติกรรมการรับประทานอาหาร พฤติกรรมการออกกำลังกาย โดยมีรายละเอียดของพฤติกรรมการมีระดับการดูแลตนเองต่ำที่สุด ในประเด็นต่าง เรื่องการปรับลดปริมาณยารับประทานด้วยตนเองและ 2) การพักผ่อน นอนหลับที่ไม่เพียงพอ 4. การสนับสนุนทางสังคมของการดูแลผู้สูงอายุที่เป็นโรคเบาหวาน ในเขตเทศบาลเมืองแสนสุข จังหวัดชลบุรี พบว่า คู่สมรสของผู้สูงอายุส่วนใหญ่ยังมีชีวิตอยู่ (ร้อยละ 82.61) มีอายุเฉลี่ย 69.18 ± 6.14 ปี ประกอบอาชีพค้าขาย (ร้อยละ 34.24) บุตรของผู้สูงอายุส่วนใหญ่มีบุตรและยังมีชีวิตอยู่ (ร้อยละ 93.75) จำนวนบุตรเฉลี่ย 6.39 ± 1.8 คน อายุเฉลี่ย 36.42 ±6.23 ปี ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง (ร้อยละ 71.75) พักอาศัยอยู่บ้านเดียวกัน (ร้อยละ 63.59) มีจำนวนสมาชิกในครัวเรือนปัจจุบันเฉลี่ย 10.12 ±4.15 คน สัมพันธภาพส่วนใหญ่เป็น บุตร/ ธิดา (ร้อยละ 35.75) การประกันสุขภาพของผู้สูงอายุ ส่วนใหญ่คือ บัตรประกันสุขภาพ (ร้อยละ 41.16) ผู้สูงอายุส่วนใหญ่สามารถจ่ายและจัดการค่ารักษาพยาบาลของตนเองได้ (ร้อยละ 85.33) ผู้สูงอายุส่วนใหญ่ไม่เคยได้รับคำแนะนำเกี่ยวกับการวางแผนเรื่องการเงินสำหรับการดูแลตนเองในระยะยาว (ร้อยละ 92.57) และมีความวิตกกังวลเรื่องการเงิน (ร้อยละ 76.90) แหล่งสนับสนุนด้านผู้ดูแล เมื่อผู้สูงอายุเจ็บป่วย ผู้ดูแลหลักในครอบครัว คือ บุตร/ธิดา (ร้อยละ 59.42) โดยผู้ดูแลหลักส่วนใหญ่มีงานทำ (ร้อยละ 100.00) ซึ่งเป็นการทำงานที่บ้าน (ร้อยละ 66.03) ผู้ช่วยเหลือในการทำงานบ้านให้ผู้สูงอายุ เช่น การทำความสะอาด ทำอาหาร ส่วนใหญ่เป็นการช่วยกันทำระหว่างผู้สูงอายุเองและสมาชิกในครอบครัว (ร้อยละ 41.57) แหล่งสนับสนุนด้านจิตใจ ส่วนใหญ่ผู้สูงอายุมีบุคคลที่ไว้วางใจ (ร้อยละ 95.11) มีบุคคลที่ช่วยเหลือเกื้อหนุนด้านจิตใจเมื่อต้องการ (ร้อยละ 53.53) มีบุคคลที่สามารถพูดคุยด้วยเมื่อเกิดความกังวลใจ (ร้อยละ 55.98) เมื่อผู้สูงอายุเจ็บป่วยมีผู้มาเยี่ยมเยียน (ร้อยละ 84.78) th_TH
dc.description.sponsorship ได้รับทุนอุดหนุนการวิจัยจากสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2556 มหาวิทยาลัยบูรพา ชลบุรี en
dc.language.iso th th_TH
dc.publisher คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา th_TH
dc.subject ผู้สูงอายุ th_TH
dc.subject โรคเบาหวาน th_TH
dc.subject สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์
dc.title การดูแลสุขภาพผู้สูงอายุที่เป็นโรคเบาหวานโดยให้ครอบครัวและชุมชนมีส่วนร่วม (ปีที่ 1) th_TH
dc.title.alternative Family and Community Participatory Health Care in Elderly with Diabetic Mellitus (Phase I) en
dc.type Research th_TH
dc.year 2557
dc.description.abstractalternative The purpose of this research were to asses potential of self care in elderly of Saensuk Municipality ,Chon Buri, Thailand. The samples which were selected from the total elderly population of 90,180 persons in Saensuk Municipality ,Chon Buri, Thailand were 368 person. The study variables were potential of elderly self care consisted of 1) Perceived of Elderly health status 2) Self health care behaviors and 3) Social support for elderly care. Questionnaire were validity and reliability (r = 0.97) and accredited from Burapha university Ethics Committee. Statistics including frequency, percentage, mean and standard deviation were used for data analysis. The study revealed that 1. The most of samples were female (65.76%) , age range between 60-69 years (48.10%) ,couples (42.12%), the most of occupation was merchant (26.90%) and education in primary school (63.59%) average of income per month was 10,000-19,999 baht (26.63%) during of illness in DM. 1-5 years (33.97%) 2. Perceived of self health care in DM were not appropriate (less than 50% in each items) 3. Self health care behaviors were in medium level ( =2.54 , SD= 0.73), especially low in stress management. Drug compliance ( =2.60 , SD= 0.69) , nutrition ( =2.51 , SD=0.73), and exercise behaviors ( =2.82 , SD=0.54), were in medium level. 4. Social support for elderly care showed that spouses of the elderly still alive (82.61%), mean age 69.18 ± 6.14 years, were merchant (34.24%) Children of the elderly, lived (93.75%), number of children average 6.93 ± 1.8 , mostly female (71.75%) together (63.59%), have household members currently average 10.12 ± 4.15, most of the relationship were son/daughter (40.63%) , the financial support of the most elderly people are son / daughter (35.75%). Health insurance for most elder was national health insurance (41.16%). Most of the elder can afford and manage the care of their own (85.33%). Most of them have never received advice on planning of financing long-term plan (92.57%) and felt anxiety about their finance (76.90%). The care giver of the elderly were sons/daughters (59.42%), the primary caregivers are employed (100.00%) by working at home (66.03%). Daily housekeeper were the elderly and family members done together (41.57%). Phychological resources for help the elderly, They had some persons they trust (95.11%), some persons who can support their mind (53.53%), some persons can talk to when they felt anxiety (55.98%). on the elderly had sick they have visitors (84.78%) Suggestions should develop model or guideline to enhance ability of elderly self health care by using family and community based with participatory process for sustainably improvement. en


Files in this item

Files Size Format View

There are no files associated with this item.

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account