DSpace Repository

การพัฒนาโปรแกรมชุมชนเข้มแข็งและผลการพัฒนาต่อการจัดการสุขภาพประชาชนในเขตอุตสาหกรรม

Show simple item record

dc.contributor.author ยุวดี ลีลัคนาวีระ th
dc.contributor.author ฉันทนา จันทวงศ์ th
dc.contributor.author นิสากร กรุงไกรเพชร th
dc.contributor.author อริสรา ฤทธิ์งาม th
dc.contributor.author ปวีณา มีประดิษฐ์ th
dc.contributor.author แอนนา สุมะโน th
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะพยาบาลศาสตร์
dc.date.accessioned 2019-03-25T09:07:06Z
dc.date.available 2019-03-25T09:07:06Z
dc.date.issued 2557
dc.identifier.uri http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1479
dc.description.abstract การวิจัยเชิงปฎิบัติการแบบมีส่วนร่วมนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ชุมชนมีศักยภาพในการคิดวิเคราะห์และแก้ไขปัญหาเชิงระบบด้านสุขภาพและสิ่งแวดล้อมได้ โดยสามารถค้นคว้าและจัดเก็บข้อมูลเรื่องสิ่งแวดล้อมได้อย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง มีระบบการเฝ้าระวังและการดูแลสุขภาพให้ปลอดภัยจากมลพิษ และมีเครือข่ายความร่วมมือในการดูแลสุขภาพและสิ่งแวดล้อมที่ทำให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืน กิจกรรมหลักคือ 1) การคัดเลือกชุมชนในเขตเทศบาลนครแหลมฉบังที่มีกลุ่มแกนนำชุมชนที่เข้มแข็งและสมัครใจเข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 3 ชุมชน 2) การประเมินความตระหนักด้านสุขภาพและสิ่งแวดล้อมของชุมชน โดยการสนทนากลุ่มกับกลุ่มผู้นำในชุมชน และกลุ่มประชาชนในชุมชน 3)การประสานงานและวางวางแผนการดำเนินกิจกรรมร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งภาครัฐ เอกชน และสถานประกอบการต่างๆ 4) อบรมอาสาสมัครพิทักษ์สุขภาพและสิ่งแวดล้อมในชุมชน 5) การจัดทำโครงการพิทักษ์สุขภาพและสิ่งแวดล้อมโดยชุมชน 6) ดำเนินการตามโครงการและประเมินผลโครงการ ผลการดำเนินงานสรุปได้ดังนี้ 1) ผู้นำชุมชน ประชาชน รวมทั้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมีการรับรู้และตระหนักถึงความสำคัญของผลกระทบจากมลพิษทางอากาศที่มีต่อสุขภาพ สามารถระบุประเภทและแหล่งที่มา รวมทั้งผลกระทบของมลพิษต่อสุขภาพได้สำหรับมลพิษประเภทฝุ่น 2) อาสาสมัครพิทักษ์สุขภาพและสิ่งแวดล้อมในชุมชนที่ผ่านการอบรมจำนวน 34 คน มีความรู้สามารถจัดแผนงานโครงการเรื่องการเฝ้าระวังสุขภาพและสิ่งแวดล้อม ร่วมกับผู้นำและประชาชนในชุมชนได้ โดยสามารถทำกิจกรรมที่สำคัญได้ดังนี้ (ก)การจัดทำแผนที่ชุมชนที่แสดงความเชื่อมโยงระหว่างแหล่งที่อาจก่อปัญหามลพิษ กับการเจ็บป่วยด้วยโรคหรืออาการที่อาจเป็นผลจากมลพิษทางอากาศ ซึ่งผลการดำเนินการในเบื้องต้นพบว่าในช่วงหนึ่งสัปดาห์ก่อนการสำรวจประชาชนมีอาการหวัดมากที่สุดร้อยละ 11.0 รองลงมาคือ ไข้ ร้อยละ 3.8 อาการปวด/เวียนศรีษะ คลื่นไส้ อาเจียน ร้อยละ 2.0 และมีอาการทางผิวหนังประมาณร้อยละ 1.0 ซึ่งพบว่าอาการเจ็บป่วยเหล่านี้ไม่สามารถระบุได้อย่างแน่ชัดว่ามีสาเหตุมาจากสถานประกอบการใด (ข)สามารถตรวจปริมาณฝุ่นด้วยแผ่นสติกเกอร์ทุกวันในชุมชนๆ ละ 4-6 แห่ง (ค) สามารถประสานกับเทศบาลนครแหลมฉบังเพื่อตรวจคุณภาพอากาศในชุมชน และมีระบบการจัดเก็บข้อมูลสุขภาพโดยชุมชนอย่างต่อเนื่องและนำมาเชื่อมโยงกับแหล่งที่อาจปล่อยมลพิษในชุมชน คุณภาพอากาศที่ตรวจโดยกรมควบคุมมลพิษอากาศและปริมาณฝุ่นที่ตรวจโดยชุมชน เพื่อการป้องกันและแก้ไข คาดว่าชุมชนจะสามารถดำเนินกิจกรรมเหล่านี้ได้อย่างยั่งยืน หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรนำรูปแบบการพัฒนาโปรแกรมชุมชนเข้มแข็งต่อการจัดการสุขภาพในเขตอุตสาหกรรมไปขยายผลในชุมชนอื่นต่อไป และควรสนับสนุนให้ชุมชนที่ดำเนินการแล้วมีการเฝ้าระวังสุขภาพด้วยการสังเกตุและบันทึกอาการเจ็บป่วยของตนเองและสมาชิกในครัวเรือนเป็นประจำ พร้อมทั้งเฝ้าระวังสิ่งแวดล้อมด้วยการวัดปริมาณฝุ่นด้วยแผ่นสติกเกอร์ กับการติดตามวัดคุณภาพอากาศของกรมควบคุมมลพิษอย่างต่อเนื่อง th_TH
dc.language.iso th th_TH
dc.publisher สุขภาพ - - การจัดการ th_TH
dc.subject การจัดการสุขภาพ th_TH
dc.subject สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ th_TH
dc.title การพัฒนาโปรแกรมชุมชนเข้มแข็งและผลการพัฒนาต่อการจัดการสุขภาพประชาชนในเขตอุตสาหกรรม th_TH
dc.title.alternative Development and effect of community empowerment program on community health management in industrial estate area en
dc.type Research
dcterms.publisher คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.year 2557
dc.description.abstractalternative The purpose of this participatory Action Research were to develop the community potential in critical thinking and systematic problem solving of health and environment problems including systematically searching and collecting environment data manipulating health surveillance system and corroborating network for sustainable development in health and environment. The main activities were 1) selecting 3 communties in Laemchabang City Municipality which have the active community leaders and willingness 2) assessment of Community awareness by focus group activity of the community leaders and villagers 3)coordination and planning together with associated organization both governmental and private sectors and enterprivate 4) training health and environmental village volunteers 5) creating project work of health and environment guardian in community 6) implementation of the project and evaluation. The results are as follows: 1) community leaders, villagers and associated sectors perceived and kept awareness of air pollution impacts to their health and they could identify pollution types, sources of pollution and the health impact from dust pollution. 2) the 34 health and environmental village volunteers who participated training indicated their knowledge managed project plan entitled health and environment awareness which main activity were (a) spot mapping showing the relationship between pollution sources and health problems or symptoms related to air pollution. The initial results indicated that before this study there were health problems percentages as 11% common cold, 3.8% fever,2 % pain/dizziness,nausea, vomiting , and 1% irritated skin. In addition, these problems did not identify the source of air pollution which the cause of sickness. (b) measurement amount of daily dust via stickers in 4-6 stations in each communities. (c) coordination with Laemchabang City Municipality for air quality monitoring and set a good data management about health by community participation continuously which can be linked to establishments that may produce pollution in community. As well air quality control by air pollution Control Department and amount of dust in community will promote the sustainable development in community. The associated organization should utillza the community empowerment model to other communities and support the community to run on their activities as well as health surveillance and air pollution surveillance system by observing and recording the family’s member health status and checking dust quantity in community. en


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account