DSpace Repository

การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้สูงอายุครบวงจรแบบบูรณาการ (ปีที่ 2)

Show simple item record

dc.contributor.author พิสิษฐ์ พิริยาพรรณ th
dc.contributor.author เวธกา กลิ่นวิชิต th
dc.contributor.author ไพบูลย์ พงษ์แสงพันธ์ th
dc.contributor.author เพ็ชรงาม ไชยวาณิช th
dc.contributor.author ยุวดี รอดจากภัย th
dc.contributor.author ศิริลักษณ์ โสมานุสรณ์ th
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะแพทยศาสตร์
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะพยาบาลศาสตร์
dc.contributor.other มหาวิทยลัยบูรพา. คณะสาธารณสุขศาสตร์
dc.date.accessioned 2019-03-25T09:07:06Z
dc.date.available 2019-03-25T09:07:06Z
dc.date.issued 2557
dc.identifier.uri http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1477
dc.description.abstract แผนงานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการดูแลผู้สูงอายุ โดยมีวัตถุประสงค์ย่อย ดังนี้ 1) เพื่อพัฒนาสารสนเทศและจัดการความรู้ด้านสุขภาพผู้สูงอายุ 2) เพื่อพัฒนามาตรฐานการดูแลผู้สูงอายุที่เป็นโรคเรื้อรัง 3) เพื่อพัฒนามาตรฐานการดูแลผู้สูงอายที่เป็นโรคเรื้อรัง 4) เพื่อพัฒนารูปแบบและประเมินศักยภาพการดูแลภาวะโภชนาการในผู้สูงอายุ 5) เพื่อพัฒนารูปแบบการพัฒนาชุมชนและครอบครัวต้นแบบเพื่อดูแลผู้สูงอายุแบบบรูณาการ 6) เพื่อพัฒนามาตรฐานการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุในศูนย์บริการแบบพักค้างและแบบช่วงกลางวัน 7) เพื่อพัฒนารูปแบบการเตรียมความพร้อมของผู้สูงอายุและครอบครัวสู่การตายอย่างสงบที่บ้านและโรงพยาบาล ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง เป็นผู้สูงอายุ ผู้ให้บริการ ผู้ดูแลและผู้ที่เกี่ยวข้องใสนการดูแลผู้สูงอายุในภาคตะวันออกของไทย วิธีดำเนินการวิจัย ใช้วิจัยเชิงพัฒนาการวิจัยเชิงปฎิบัติการอย่างมีส่วนร่วม การวิจัยเชิงสำรวจ การวิจัยเชิงพรรณนา และการวิจัยเชิงคุณภาพ ระยะเวลาในการศึกษา ตั้งแต่ ตุลาคม 2556-กันยายน 2557 ผลการวิจัยในแต่ละโครงการวิจัยย่อย พบว่า 1.การพัฒนาสารสนเทศด้านสุขภาพผู้สูงอายุ พบว่า 1) สถานการณ์และปัญหาของระบบข้อมูลสุขภาพผู้สูงอายุ ได้แก่ การจัดเก็บข้อมูลที่หลากหลาย และมีหลายหน่วยงานที่รับผิดชอบ การเก็บข้อมูลเป็นลักษณะการส่งต่อข้อมูลจากหน่วยงานย่อยไปสู่ส่วนกลาง ไม่ได้มีฐานข้อมูลที่หน่วยงานตนเองสามารถสืบค้นหรือนำมาใช้ในการวางแผนหรือประเมินผลงานได้ บัญชีรายงานมีจำนวนมาก เป็นภาระของผู้จัดเก็บ เทคโนโลยีในการจัดเก็บไม่เพียงพอ 2) ความต้องการระบบสารสนเทศ ได้แก่ การมีข้อมูลบริการแก่ผู้สูงอายุหรือผู้ให้บริการตามความจำเป็นและเหมาะสมกับบริบท ข้อมูลมีความถูกต้อง รวดเร็ว ทันเวลาและได้มาตรฐานสามารถเชื่อถือได้ สามารถเข้าถึงได้ง่ายโดนเฉพาะอย่างยิ่ง ในภาคตะวันออกควรมีศูนย์กลางบริการข้อมูลเกี่ยวกับสุขภาพของผู้สูงอายุในภาคตะวันออกเพื่อสามารถนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ได้ 3) การพัฒนาระบบฐานข้อมูลสุขภาพผู้สูงอายุในภาคตะวันออกประกอบด้วย 1.ฐานข้อมูลด้านระบบบริการสุขภาพผู้สูงอายุในภาคตะวันออก 2.ฐานข้อมูลสถานการณ์สุขภาพผู้สูงอายุในภาพตะวันออก และ 3.ฐานข้อมูลด้านพฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุในภาคตะวันออก 2.รูปแบบการสร้างเสริมสุขภาพผู้สูงอายุโดยใช้การมีส่วนรวมของชุมชน พบว่า กระบวนการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุในชุมชนนั้น จะต่องอาศัยการมีส่วนร่วมของชุมชน และกระบวนการอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องต่อเนื่องกันเพื่อดูแลสุขภาพประชาชน เช่น แนวคิดเกี่ยวกับการพัฒนาสุขภาพภาคประชาชนแนวคิดเกี่ยวกับสุขภาพ แนวคิดการสร้างพลังอำนาจ และแนวคิดการทำงานโดยอาศัยภาคเครือข่าย 3.การพัฒนารูปแบบการดูแลภาวะโภชนาการในผู้สูงอายุ คือ การให้ความความรู้ด้านโภชนาการเพื่อการดูแลตนเองอย่างต่อเนื่องเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต ควบคู่ไปกับการออกกำลังกาย 4.เมื่อเปรียบเทียบรูปแบบการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุในประเทศไทยและประเทศญี่ปุ่น มีความเหมือนกันเป็นส่วนใหญ่ เช่น มีนโยบายการดูแลผู้สูงอายุระยะยาว การดูแลผู้สูงอายุโดยครอบครัวและชุมชน สวัสดิการสำหรับผู้สูงอายุ แนวปฏิบัติที่ดี/สถาปัตยกรรม/ สิ่งประดิษฐ์ สำหรับผู้สูงอายุแต่มีความแตกต่างกันในรายละเอียดบางอย่าง เช่น มาตรการในการดูแลผู้สูงอายุในญี่ปุ่นจะเหมือนกันทั้งภาครัฐและเอกชนการดูแลผู้สูงอายุจะมีบริบททางวัฒนธรรมเข้ามาเกี่ยวข้องด้วยการดูแลผ้สูงอายุโดยครอบครัวและชุมชนในประเทศไทยและประเทศญี่ปุ่นมีการดำเนินการที่จะลดการพึ่งพิงของผู้สูงอายุและพยายามให้ผู้สูงอายุได้พึ่งตนเองได้ในขณะเดียวกันจากจำนวนผู้สูงอายุที่เพิ่มมากขึ้นและผู้สูงอายุที่มีอายุยืนนานขึ้น ซึ่งจำเป็นต้องมีระบบการดูแลระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุ ที่ชัดเจนมากขึ้น ดังนี้ 1) ใช้ครอบครัวและชุมชนเป็นฐานในการดูแล มีสังคมของผู้สูงอายุให้ผู้สูงอายุได้ทำกิจกรรมร่วมกัน 2) มีการดูแลในวิถีชีวิตประจำวัน การดูแลอนามัยพื้นฐาน 3) มีการอบรม อาสาสมัครเพื่อการดูแลผู้สูงอายุ 4) ธุรกิจการรับจ้างดูแลผู้สูงอายุ และ 5) มีเครือข่ายในการดูแลผู้สูงอายุ 5. การเตรียมความพร้อมผู้สูงอายุและครอบครัวสู่การตายอย่างสงบที่บ้าน ตามบริบทของภูมิภาคตะวันออก ของไทย มี ความหมาย 2 แบบ คือ 1) ผู้ป่วยที่เจ็บป่วยที่บ้าน และมีอาการทรุดลง ก่อนเสียชีวิต 2) ผู้ที่รักษาที่โรงพยาบาลไม่ได้แล้ว ต้องมาดูแลเพื่อเสียชีวิตที่บ้าน การตายอย่างสงบที่บ้านหมายถึง การตายที่หมดอายุขัย และจากไปแบบไม่ทรามาน การตายที่สงบและอบอุ่น ณ บ้านของตนเอง การตายที่ไม่รบกวนลูกหลาน การตายที่มีลูกหลานมาอยู่รอบข้าง และการตายธรรมชาติที่ทำให้ลูกหลานมีความสุข สบายใจ ความต้องการของผู้สูงอายุที่อยู่ในระยะสุดท้ายของชีวิต มี2 ข้อได้แก่ 1) การได้ทำบุญก่อนจากไป 2) การมีโอกาศได้สั้งเสียลูกหลาน การเตรียมผู้สูงอายุและญาติเพื่อให้ผู้สูงอายุตายอย่างสงบ ควรประกอบไปด้วย องค์ประกอบ 7 ข้อ ดังต่อไปนี้ 1.การที่ลูกหลานอยู่เคียงข้างตลอดเวลา 2.การมีเสียงพูดบอกนำทางก่อนสิ้นใจ 3.การช่วยให้ได้ทำบุญที่บ้าน 4.การที่ลูกหลานช่วยให้หมดความห่วงกังวล 5.การดูแลความสุขสบาย คอนช่วยเหลือกิจวัตรประจำวัน 6.การที่ลูกหลานทำให้ตามที่ปากไว้ 7.การจัดเตรียมสื่งของตามความเชื่อไว้ให้ก่อนตาย 6. การเตรียมความพร้อมของผู้สูงอายุและครอบครัวสู้การตายอย่างสงบที่โรงพยาบาล ตามบริบทของภาคตะวันออก ของไทย พบว่า 1) ในทัศนะของผู้สูงอายุ มีความต้องการการดูแล ในระดับมากที่สุด ส่วนใหญ่เป็นเรื่องเกี่ยวกับจิตใจและเสริมสร้างคุณค่าและศักด์ศรีความเป็นมนุษย์ เช่น การต้องการให้ครอบครัวยอมรับการตายของตนไม่เศร้าเสียใจมาก การต้องการให้อภัยและขอบคุณผู้คน การขอจากไปโดยแวดล้อมท่ามกลางคนที่ตนรัก และลูกหลาน 2) ในทัศนะของญาติและสมาชิกในครอบครัว มีความต้องการดูแลผู้สูงอายุด้านร่างกาย การป้องกันและแก้ไขปัญหารายบุคคลแก่ผู้สูงอายุรวามทั้งการได้รับข้อมูลเกี่ยวกับสุขภาพของผู้สูงอายุอย่างเพียงพอ 3) ทัศนะต่อการตายอย่างสงบที่โรงพยาบาลของผู้สูงอายุและครอบครัว มีทัศนะในเชิงบวก โดยเชื่อมั่นได้ว่าการตายนี้ได้รับการช่วยเหลืออย่างดีที่สุดและจากแพทย์พยาบาลเพื่อให้มีชีวิตรอด โดยญาติและครอบครัวจะได้รับการช่วยเหลือดูแลหลังที่ตนเสียชีวิตและจากบุคลากรทางการแพทย์ที่เป็นผู้มีความรู้ มีจรรยาบรรณวิชาชีพ สภาพของผู้เสียชีวิต จะได้รับการปกป้ปงดูแลอย่างสมศักด์ศรีความเป็นมนุษย์ และต้องการให้เพิ่มความไกล้ชิด เห็นอกเห็นใจ ให้ความยืดหยุ่นแก่ญาติและผู้ป่วยระยะสุดท้ายโดนให้ความดูแลอย่างเอื้ออาทร และผ่อนปรนกฏระเบียบลงบ้าง ควรมีการจักสถานที่เฉพาะ มีความเป็นส่วนตัวสำหรับผู้ป่วยที่จะเสียชีวิตให้ญาติและครอบครัวมีโอกาสได้ล่ำลาเป็นครั้งสุดท้ายอย่างสมเกียรติและมีความเหมาะสมควรมีการอบรมการใช้คำพูดและกิริยาที่แสดงความเคารพและให้เกียรติแก้ผู้เสียชีวิตและครอบครัว แพทย์ควรแจ้งพยากรณ์ของโรคและสื่อสาร ถ่ายทอดให้ผู้ป่วยและญาติรับรู้อย่างเข้าใจเพื่อสามารถเตรียมการได้อย่างมีสติก่อนที่ผู้ป่วยจะเสียชีวิตหรือใกล้เสียชีวิต th_TH
dc.description.sponsorship แผนงานวิจัยฉบับนี้ได้รับทุนสนับสนุนจากาำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ ประจำปีงบประมาณ 2556. en
dc.language.iso th th_TH
dc.publisher คณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา th_TH
dc.subject ผู้สูงอายุ th_TH
dc.subject สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ th_TH
dc.title การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้สูงอายุครบวงจรแบบบูรณาการ (ปีที่ 2) th_TH
dc.title.alternative Development of Integrative Aging Care Model (Phase ll) en
dc.type Research
dc.year 2557
dc.description.abstractalternative The purpose of this research project was developing integrated care model and sub-objectives were 1) developing and sharing aging health information 2) development health promotion model and evaluation health promotion potential in elderly 3) developing health care standard for elderly with chronic illness 4) development care model and nutritional assessment in elderly 5)development prototype of community and family for integrated aging health care 6) developing aging health care standard in nursing home and day care 7) development home-based peaceful dying preparation for elderly at the end of life. The population of this research was elderly, the provider and the care giver in eastern region of Thailand. Research methodologies were research and developing. Participatory action research, survey and descriptive research and qualitative research. Study time since October 2013 to September 2014. Lt was found that; 1. The health information for elderly revealed that 1) the problems situation in health information of the elderly were various data collected, several authorizes responsibility, data transfer system usually transfer from the unit optimize to the cannot use this data to draw their plan or evaluate their works, many report and not enough technology for storage data. 2) Health information needs for elderly were necessary and appropriate information system for elderly and providers and easy to access for using. 3) the development of health information systems for the elderly in eastern region contained of 1.Database on health care system for the elderly consisting service, access to health service, standard of the hospital, rate of service and health assurance 2.Database on health situation consisting of infectious diseases, emerging diseases, chronic diseases, mental health and risk factors for the diseases. 3. Database on health behaviors for the elderly consisting of health factors, wisdom in health care of community, health behaviors and health care potential. 2. The health promotion model for elderly in the eastern region needs participatory processes with empowerment for developing working with health care network. 3. The nutrition care model for elderly consisted of nutritional education continuously and exercise for improving their quality of life.. 4. The comparative health care in elderly between japan and Thailand found similar in long term care policy, community and family based, welfare and innovative universal architected designs for elderly and different in some details such as; in Japan protocol for the elderly in public and private were the same protocol but in Thailand was different, cultural of the country. The important issues for improving health care pattern for elderly in Thailand were 1) Community and family based help for setting elderly society and created more activities together. 2) Daily care with hygiene care for elderly 3) Volunteer training for elderly health care 4) Elderly care business and 5)the elderly care worker network. 5. Preparing of death and dying peaceful in home-based for the eastern elderly and their family were 2 types; 1) Sickness and dying at home 2)Sickness in hospital and refer to dying at home. Home-based dying peaceful means de-function, dying at their home, dying around their descendant and doesn’t obligate their family. The end of life care at home of the eastern elderly needs 2 aspects namely;1) Make merit before die and 2) Give parting instructions and has 7 items to prepare;1) Beside 2) Softly voice to passing this moment 3)Make merit 4)Help to release their 5) Comfortably daily care 6)Do covenant and 7)Prepare on their believe. 6. Preparing of death and dying peaceful in hospital-based for the eastern elderly And their family found that 1) The most of elderly end-of-life care needs were mental and spiritual needs for support and promote their value and dignity such as they need their family will not grief when they die, they need to forgive and say thank you to some people, they need to die surrounding with people who love and their children. 2) the most of family member’s end-of-life care needs were physical health care for prevent and solving elderly problems including get enough health information from the physicians and health care workers 3) Perception of peaceful end-of-life at hospital in elderly and family members were in positive way by trustful they has been optimally help from the medical doctor to have survived. Relatives and family members assure to get help and care from medical personnel with professional ethics after they die. Condition of deceased will be completely protected human dignity. Wish to increase the intimacy to the relatives and family members of the elderly who pass away and flexibility for providing caring or lenient the rules of hospital. Death at hospital should be provided room or location for privacy patient, the relatives and their family have a last farewell with honor and decency. Should be trained to use words and actions to show respect and honor to the deceases and their family. Physicians should indentify predictors and communication to patients and their family to family to realized that in order to prepared before elderly patient death or near death. en


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account