Abstract:
แผนงานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาเมืองผู้สูงอายุ มีโครงการวิจัยย่อย ภายใต้แผนการวิจัยจำนวน 11 โครงการวิจัยย่อย ซึ่งมีวัตถุประสงค์ย่อย ดังนี้ 1) เพื่อพัฒนาชุมชนต้นแบบเป็นเมืองผู้สุงอายุแสนสุข 2) เพื่อวินิจฉัยชุมชนด้านสุขภาพของผู้สูงอายุและประเมินศักยภาพของแกนนำสุขภาพครอบครัวและชุมชน 3) เพื่อพัฒนาแกนนำสุขภาพนิสิตมหาวิทยาลัยบูรพาเพื่อการดูแลผู้สูงอายุในชุมชน 4) เพื่อพัฒนาแกนนำสุขภาพครอบครัวและชุมชนเพื่อการดูแลผู้สูงอายุ 5) เพื่อพัฒนารูปแบบและกระบวนการในการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุที่เป็นโรคเบาหวานโดยให้ครอบครัวและชุมชนมีส่วนร่วม 6) เพื่อศึกษาผลการให้คำปรึกษาด้วยเทคนิคเสริมสร้างพลังแห่งตนตามทฤษฎีโปรแกรมภาษาประสาทสัมผัสต่อการพัฒนาสุขภาพจิตของผู้สูงอายุ 7) เพื่อค้นหาและพัฒนาภูมิปะญญาท้องถิ่น สร้างทีมผู้สูงอายุจิตอาสา 8) เพื่อพัฒนารูปแบบการสร้างเสริมสุขภาพผู้สงอายุด้วยการแพทย์แผนไทย 9) เพื่อศึกษาแบบแผนการบริโภคอาหาร ภาวะโภชนาการ และปัจจัยขับเคลื่อนชุมชนผู้สูงอายุสุขภาพดี 10) เพื่อศึกษาและพัฒนากระบวนการเรียนรู้เพื่อการประกอบอาชีพ ของผู้สูงอายุชุมชน ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง เป็นกลุ่มผู้สูงอายุ สมาชิกในครอบครัว และผู้นำชุมชน วิธีการดำเนินการวิจัย ใช้วิจัยเชิงสำรวจ และวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม ระยะเวลาในการศึกษาตั้งแต่ ตุลาคม 2556-กันยายน 2557 ผลการวิจัย พบว่า 1. ผู้สูงอายุในเขตเทศบาลเมืองแสนสุข จังหวัดชลบุรีที่เป็นโรคเบาหวาน เป็นเพศหญิงมาก มีอายุระหว่าง 60-69 ปี สถานภาพ คู่ ประกอบอาชีพค้าขาย รองลงมา คือ ประกอบอาชีพ รับจ้าง มีระดับการศึกษา ระดับประถมศึกษา รายได้ต่อเดือนส่วนใหญ่อยู่ในช่วง 10,000-19,999 บาท ระยเวลาที่ป่วยเป็นโรคเบาหวาน พบว่า ส่วนใหญ่เป็นโรคเบาหวานมาเป็นระยะเวลา 1-5 ปี ส่วนใหญ่ยังไม่มีความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับโรคเบาหวาน พฤติกรรมการดูแลตนเอง ในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง โดยมีพฤติกรรมการจัดการความเครียดอยู่ในระดับต่ำ ยังมีพฤติกรรมการรับประทานยาที่ผิด และมีปัญหาเรื่องการพักผ่อน นอนหลับอย่างเพียงพอทุกวัน มีความพร้อมด้านการสนับสนุนสังคม ซึ่งถือว่าเป็นต้นทุนที่ดี ทำให้เป็นโอกาสและจุดแข็งของชุมชนในการพัฒนาระบบการดูแลผู้สูงอายุที่เป็นโรคเรื้อรังให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น 2. ในกลุ่มของผู้นำชุมชน หรือแกนนำในการดูแลผู้สูงอายุในครอบครัวพบว่าส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุเฉลี่ย 34.86 ± 6.07 ปี อาชีพ รับจ้าง สถานภาพสมรส คู่ ระดับการศึกษา มัธยมศึกษา/ปวช. ศาสนา พุทธ ลักษณะของครอบครัว เป็นครอบครัวเดี่ยว รายได้ที่ได้รับต่อเดือน เฉลี่ย 14,413.33 ± 7,699.79 บาท รายได้โดยรวมของครอบครัวต่อเดือน เฉลี่ย 26,721.67 ± 6,669.51 บาท มีรายได้ความเพียงพอกับการจ่ายสิทธิบัตรประกันสุขภาพ ระยะเวลาที่ดูแลผู้สูงอายุในครอบครัว/ชุมชุนเฉลี่ย 5.77 ± 1.29 ปี ส่วนใหญ่ไม่เคยฝึกอบรมเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุ เคยได้รับความรู้ในการดูแลผู้สูงอายุจากเจ้าหน้าที่พยาบาลหรือเจ้าหน้าที่สาธารณสุขบ้าง จากการให้คำแนะนำเมื่อพาผู้สงอายุไปตรวจสุขภาพ การรับรู้ภาวะสุขภาพของผู้สูงอายุที่อยู่ในความดูแลในปัจจุบัน อยู่ในระดับปานกลาง ทั้งสุขภาพในอดีตและแนวโน้มในอนาคต มีจุดเด่นคือ แกนนำในครอบครัวมีความตระหนัก/ความกังวลเกี่ยวกับสุขภาพของผู้สูงอายุ อยู่ในระดับมาก และสามารถการยอมรับความเจ็บป่วยของผู้สูงอายุได้ในระดับมากที่สุด ไม่ปฏิเสธความเจ็บป่วยของผู้สูงอายุและมีทัศนคติบวกต่อการพาผู้สูงอายุไปรับการรักษาจากแพทย์ 3. ผลการประเมินภาวะสุขภาพจิตของผู้สูงอายุที่เป็นโรคเรื้อรังในชุมชนเทศบาลเมืองแสนสุข จังหวัดชลบุรี ส่วนใหญ่มีภาวะเครียดปานหลาง ถึง สูง ซึ่งความเครียด ส่งผลต่อการเกิดภาวะซึมเศร้า ซึ่งถือว่าเป็นปัญหาสุขภาพจิตในระดับที่สูงขึ้น ถึงแม้ว่า ภาวะซึมเศร้า จะไม่สัมพันธ์กับปัจจัยส่วนบุคคลแต่ภาวะเครียดมีความสัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้า อาชีพ และการศึกษา ดังนั้นจึงยังคงเป็นปัญหาทางสุขภาพจิตในผู้สูงอายุที่ต้องให้ความสำคัญและเฝ้าระวังไม่ให้มีความรุนแรงเกิดความเสี่ยงและส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของบุคคลและสังคมได้ 4. ปัญหาสุขภาพของผู้สูงอายุในเขตเทศบาลเมืองแสนสุข จังหวัดชลบุรี พบว่าส่วนใหญ่ผู้สูงอายุจะเป็นโรคเรื้อรัง มีอาการของการปวดเข่าและข้อเสื่อมตามวัยที่สูงขึ้น และมีโรคไม่ติดต่อเรื้อรังเป็นโรคประจำตัว คือ โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวานและไขมันในเลือดสูง 5. การสร้างเสริมสุขภาพผู้สงอายุด้วยการแพทย์แผนไทยเป็นทางเลือกที่น่าสนใจเป็นการส่งเสริมภูมิปัญญาไทยและส่งผลต่อสภาพจิตใจทำให้รู้สึกภาคภูมิใจและสร้างค่านิยมรักษ์วัฒนธรรมไทย อันจะเป็นมรดกส่งต่อไปชนรุ่นหลังได้ 6. การเข้าร่วมกิจกรรมทางศาสนาเป็นสิ่งที่ผู้สูงอายุให้ความสำคัญและร่วมทำบุญอย่างสม่ำเสมอ เป็นอีกช่องทางหนึ่งที่สามารถพัฒนาจิตวิญญาณให้แก่ผู้สูงอายุ และสร้างความรักความผูกพัน ความสมัครสมานสามัคคี มีกิจกรรมเชื่อมโยงสายใยในครอบครัวได้เป็นอย่างดี 7. พบว่า ในปัจจุบันผู้สูงอายุให้ความสำคัญกับการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ เพิ่มขึ้น เพื่อเป็นการพัฒนาตนเองแต่ยังพบปัญหาด้านการได้รับการพัฒนาทักษะในการเรียนรู้ในการประกอบอาชีพในกลุ่มของผู้สูงอายุที่ยังประกอบอาชีพดังนั้น ในชุมชนควรหากลวิธีในการพัฒนาการเรียนรู้ของผู้สูงวัยให้เหมาะสมกับสภาพปัญหาและความต้องการที่ผู้สูงอายควรได้รับ