Abstract:
รูปแบบการวิจัย การวิจัยเชิงทดลอง (Experimental Research)
จุดประสงค์การวิจัย 1. ศึกษาผลของการให้ความรู้ก่อนการวางยาสลบโดยใช้วีดีทัศน์ร่วมด้วยต่อความกังวลก่อนการผ่าตัดของผู้ป่วยที่มาผ่าตัด 2. ศึกษาเปรียบเทียบความกังวลของผู้ป่วยก่อนและหลังการประเมินก่อนการวางยาสลบของผู้ป่วยที่มาผ่าตัด
กลุ่มตัวอย่าง ผู้ป่วยที่มารับการผ่าตัดและระงับความรู้สึก ที่โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยบูรพาจำนวน 203 คน
วิธีการวิจัย หลังจากผู้ป่วยที่ผ่านการพิจารณาว่าเข้าเกณฑ์การวิจัยผู้ป่วยจะได้รับการประเมินก่อนการระงับความรู้สึกโดยแผนกวิสัญญี โดยการพูดคุย อธิบาย หลังจากนั้นผู้ป่วยจะดูวดีทัศน์เกี่ยวกับการระงับความรู้สึก โดยจะมีการวัดระดับความกังวลของผู้ป่วยโดยใช้ 100 mm. visual analog scale (VAS) ผู้ป่วยจะให้คะแนนความกังวลทั้งหมด 4 ครั้ง คือ ครั้งที่ 1 ก่อนการประเมิน ก่อนการระงับความรู้สึกโดยการพูดคุยกับแผนกวิสัญญี (VAS ก่อนคุย) ครั้งที่ 2 หลังจากพูดคุยกับแผนกวิสัญญีเสร็จแล้ว (VAS หลังคุย) ครั้งที่ 3 หลังจากรับชมวีดีทัศน์เกี่ยวกับการระงับความรู้สึก (VAS หลังดูวีดีทัศน์) ครั้งที 4 ในวันผ่าตัดในช่วงที่ผู้ป่วยรอเข้าห้องผ่าตัด (VAS ก่อนผ่าตัด) ผู้ป่วยจะตอบแบบสอบถามประเมินความพึ่งพอใจในการบริการของแผนกวิสัญญีช่วงก่อนจำหน่ายออกจากโรงพยาบาล
ผลการวิจัย จากการศึกษาผลว่า เมื่อได้รับความรู้เกี่ยวกับการระงับความรู้สึกจากทีมวิสัญญีแล้ว พบว่า ผู้ป่วยมีระดับความกังวล (VASหลังคุย) ลดลงอยู่ในระดับต่ำ ( =3.163, SD=2.853) และลดลงอย่างมีนัยยะสำคัญ เมื่อเปรียบเทียบกับระดับความกังวลก่อนการประเมิน ก่อนการระงับความรู้สึก (VAS ก่อนคุย) ( =3.754, SD=3.145) (p<.01) หลังจากได้รับชมวีดีทัศน์ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการระงับความรู้สึก พบว่า ผู้ป่วยมีระดับความกังวล (VAS หลังดูวีดีทัศน์) ลดลงจากเดิมอยู่ในระดับต่ำ ( =2.857, SD=2.810) และลดลงอย่างมีนัยยะสำคัญ เมื่อเปรียบเทียบกับระดับความกังวล ทั้งในช่วงก่อนการประเมินก่อนการระงับความรู้สึก (VAS ก่อนคุย) และระดับความกังวลหลังพูดคุย (VAS หลังคุย) (p<.01) ในวันที่มาผ่าตัดพบว่าผู้ป่วยมีความกังวล (VAS ก่อนผ่าตัด) เพิ่มมากขึ้นแต่ยังอยู่ในระดับต่ำ ( =3.901, SD=3.142) เมื่อเปรียบเทียบกับระดับความกังวลก่อนการประเมินก่อนการระงับความรู้สึก (VAS ก่อนคุย) พบว่าไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยยะสำคัญ จากการศึกษาความพึงพอใจของการระงับความรู้สึก (วางยาสลบ) คือเป็นร้อยละ 88.86
สรุปการวิจัย จากการศึกษาพบว่าความกังวลก่อนการผ่าตัดของผู้ป่วยลดลง ความกังวลก่อนการผ่าตัดของผู้ป่วยลดลงทั้ง 2 ช่วง ทั้งในช่วงหลังจากพูดคุยกับแผนกวิสัญญีและหลังจากดูวีดีทัศน์ และความพึงพอใจของผู้ป่วยอยู่ในระดับดีมาก การพูดคุยสักถามกับแผนกวิสัญญีเป็นวิธีปฏิบัติทั่วไปในการประเมินก่อนการระงับความรู้สึก การดูวีดีทัศน์เป็นวิธีหนึ่งที่นำมาใช้ร่วมด้วยในการประเมินก่อนการระงับความรู้สึกซึ่งการจากศึกษานี้ยืนยันได้ว่า การใช้วีดีทัศน์ร่วมด้วยสามารถลดความกังวลและความพึ่งพอใจของผู้ป่วยได้