Abstract:
การวิ่งเป็นการเคลื่อนไหวพื้นฐานที่สุดของมนุษยือย่างหนึ่งในกิจวัตรประจำวัน ซึ่งพัฒนามาจากการเดินเพื่อใช้เคลื่อนที่ นิยมใช้เป็นการออกกำลังกายกันอย่างแพร่หลาย มีประโยชน์หลายอย่าง ในขณะที่อุตสาหกรรมรองเท้าเริ่มพัฒนาอย่างมากเพื่อรองรับความต้องการหลากหลายรูปแบบของการใช้งาน แต่การพัฒนาโครงสร้างที่ดีของเท้านั้นเกิดขึ้นได้ในสภาวะเท้าเปลือยเปล่า ยังเป็นข้อโต้แย้งกันอยู่ว่ารองเท้าจะจำกัดการเคลื่อนไหวของเท้าซึ่งจะส่งผลถึงข้อต่าง ๆ ในรยางค์ขา ทำให้รูปแบบการเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงไปเมื่อเทียบกับเดิน-วิ่งเท้าเปล่า การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างตัวแปรด้านคิเนมาติกส์ของการเคลื่อนไหวในการวิ่งเท้าเปล่ากับการวิ่งใส่รองเท้าระหว่างเพศชายและเพศหญิง กลุ่มตัวอย่างจำนวน 30 คน (ชาย 15 คน และหญิง 15 คน) เข้าร่วมการวิจัยในครั้งนี้ ให้วิ่งสวมรองเท้ากีฬาและวิ่งเท้าเปล่าเพื่อเก็บข้อมูลคิเนมาติกส์ของรยางค์ขาในขณะวิ่งที่ความเร็ว 3.5 เมตร/วินาที (+-5%) แล้วเข้าโปรแกรมฝึกการวิ่งด้วยเท้าเปล่าเป็นระยะเวลา 4 สัปดาห์ จึงเก็บข้อมูลทางคิเนมาติกส์ของรยางค์ขาในขณะวิ่งสวมรองเท้าและวิ่งเท้าเปล่า ผลการวิจัยพบว่า ของพิสัยการเคลื่อนไหวของข้อต่อต่าง ๆ ในรยางค์ขา ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ทั้งในช่วงเท้าสัมผัสพื้นครั้งแรก และในวงรอบของการวิ่ง แต่พิสัยการเคลื่อนไหวของข้อเท้ามีแนวโน้มเปลี่ยนแปลงจากการวางส้นเท้าสัมผัสพื้นเป็นวางเต็มเท้ามากยิ่งขึ้น ส่วนค่าเฉลี่ยระยะก้าวหลังการฝึกลดลงกว่าก่อนการฝึก และเพศหญิงลดลงต่ำกว่าเพศชายที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติเท่ากับ .02 สรุปได้ว่าการวิ่งเท้าเปล่าภายหลังจากผ่านการฝึกวิ่งด้วยเท้าเปล่าเป็นระยะเวลา 4 สัปดาห์แล้ว พิสัยการเคลื่อนไหวของข้อเท้ามีแนวโน้มเปลี่ยนแปลงจากวางส้นเท้าสัมผัสพื้นเป็นวางเต็มเท้า และระยะก้าวลดลง
Running is one of the most basic movements in activity daily living which is modified from walking for moving body from one to another place. It is widely popular because there are several benefits. While the footwear industries have begun to develop for supporting the functional needs but the construction of human foot is suitable in barefoot. There are several debates that footwear would limit the foot's motion. This limitation would effect to other joints in lower extremities. The objective of the study was to compare the differences of kinematic variables of lower extremities in barefoot
and should running between male and female 15 females, participated in the study, were asked to run barefoot and run with athletic footwear for kinematic data collection at 3.5+-5% m/s. Subjects had been trained barefoot running for 4 weeks. The data were collected after training. The results showed that ROMs of lower extremities were not significantly different in both initial contact and the whole running cycle but the ROM of ankle tended to change from dorsiflexion to plantarflexion at initial contact. The step length decreased after training and female's step length is significantly lower than male (p<.5). In conclusion, ROM of ankle tended to changefrom dorsiflexion to plantarflexion in barefoot running after 4-week training.