Abstract:
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสามารถในการยืนหยัดเผชิญปัญหาวิกฤตเอกสิทธิ์ในการทำงาน และการตัดสินใจทางคลินิกขณะปฏิบัติงานของพยาบาลเวชปฏิบัติในเขตภาคตะวันออก กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ พยาบาลเวชปฏิบัติที่ปฏิบัติงานในสถานบริการสาธารณสุข สถานีอนามัย โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล โรงพยาบาลชุมชน และโรงพยาบาลทั่วไป ในเขตภาคตะวันออก ทั้งเพศหญิงและเพศชาย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลทั่วไปของกลุ่มตัวอย่างพยาบาลเวชปฏิบัติ แบบสอบถามความสามารถในการยืนหยัดเผชิญปัญหาวิกฤตของ Connor-davidson แบบสอบถามเอกสิทธิ์ในการทำงานของ Dempster และแบบสอบถามการตัดสินใจทางคลิกนิกขณะปฏิบัติของ Chumbler, Geller, and Weier
วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา
ผลการวิจัยพบว่าความสามารถในการยืนหยัดเผชิญปัญหาวิกฤตกลุ่มตัวอย่างพยาบาลเวชปฏิบัติ อยู่ในระดับค่อนข่างดี (ร้อยละ 70.71) เอกสิทธิ์ในการทำงานของกลุ่มตัวอย่างพยาบาลเวชปฏิบัติ อยู่ในระดับค่อนข่างดี (ร้อยละ 766.91) และการตัดสินใจทางคลิกนิกขณะปฏิบัติงานของพยาบาลเวชปฏิบัติ อยู่ในระดับไม่ดี (ร้อยละ 26.79)
จากผลการวิจัยครั้งนี้ บุคลากรสาธารณสุขที่เกี่ยวข้องสามารถนำไปใช้เป็นข้อมูลในการกำหนดแนวทางเพื่อพัฒนาการปฏิบัติของพยาบาลเวชปฏิบัติให้ชัดเจนและเหมาะสมยิ่งขึ้นสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาล ด้านนโยบายสาธารณสุข ในการยกระดับสถานีอนามัยเป็นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล