DSpace Repository

ผลของความหนาแน่นของลูกปลา โรติเฟอร์ และระยะเวลาเปลี่ยนชนิดของอาหารต่ออัตรารอดและการเจริญเติบโตของลูกปลาแมดาริน, Synchiropus splendidus (Herre, 1927)

Show simple item record

dc.contributor.author ดวงทิพย์ อู่เงิน
dc.contributor.author วรเทพ มุธุวรรณ
dc.contributor.author เสาวภา สวัสดิ์พีระ
dc.contributor.author ศิรปะภา ฟ้ากระจ่าง
dc.contributor.author ภาวินี ภัทรปราการ
dc.contributor.author ปรารถนา ควรดี
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล
dc.date.accessioned 2019-03-25T09:07:04Z
dc.date.available 2019-03-25T09:07:04Z
dc.date.issued 2557
dc.identifier.uri http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1448
dc.description.abstract การทดลองครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ทีจะหาความหนาแน่นของลูกปลาที่เหมาะสม สำหรับการอนุบาลลูกปลาแมนดารินวัยอ่อน โดยไม่มีผลต่ออัตราการรอดและการเจริญเติบโต การทดลองครั้งนี้ทำให้ตู้กระจกความ จุน้ำ 5 ลิตร จำนวน 12 ตู้ แบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม (ชุดทดลอง) กลุ่มละ 3 ตู้(ซ้ำ) โดยทำการอนุบาลลูกปลาวัยอ่อนที่ระดับความหนาแน่น 5 ตัวต่อลิตร 10 ตัวต่อลิตร 15 ตัวต่อลิตร ตามลำดับ ระยะเวลาทำการทดลอง 30 วัน ผลการทดลองแสดงให้เห็นว่าการอนุบาลลูกปลาที่มีความหนาแน่นตางกัน มีผลต่ออัตรารอดของลูกปลา (p<0.05) แต่ไม่มีผลการเจริญเติบโตและการพัฒนาการเปลี่ยนแปลงรูปร่าง (Metamorphosis) ของลูกปลา(p<0.05) มีอัตรารอดต่ำที่สุด (3.56±1.09%ᵇ) เมื่ออนุบาลที่มีความหนานแน่น 15 ตัวต่อลิตร แตกต่างกับลูกปลาที่อนุบาลที่มีความหนาแน่น 5 ตัวต่อลิตร 10 ตัวต่อลิตร และ 20 ตัวต่อลิตร ที่มีอัตรารอดเฉลี่ย (±SE) 10.67±1.09%ᵃ6.67±1.33%ᵃᵇและ 7.00±2.08%ᵃᵇ ตามลำดับ เมื่อสิ้นสุดการทดลองลูกปลามีความยาวมาตรฐาน (Standard length) (±SE) ต่ำที่สุดเท่ากับ 4.17±0.51 มิลลิเมตร สูงสุดเท่ากับ 5.00±0.07 มิลลิเมตร ความยาวเหยียด (total length) (±SE) ต่ำที่สุดเท่ากับ 5.25±0.64 มิลลิเมตร สูงสุดเท่ากับ 6.37±0.06 มิลลิเมตร สำหรับพัฒนาการเปลี่ยนแปลงรูปร่างนั้น พบว่าลูกปลาที่อนุบาลด้วยความหนาแน่นต่างกัน (±SE) สามารถเปลี่ยนแปลงรูปร่างได้เร็วที่สุดมีค่า 13.67±2.19 วัน และได้ช้าสุด 24.67±2.67 วัน สรุปได้ว่าความหนาแน่นที่เหมาะสมสำหรับการอนุบาลลูกปลาแมนดารินวัยอ่อน เท่ากับ 20 ตัวต่อลิตร เพราะผู้เลี้ยงจะได้ผลผลิตต่อหน่วยปริมาตรสูงโดยไม่มีผลกระทบต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการเปลี่ยนแปลงรูปร่างของลูกปลาแมนดาริน An experiment was conducted to evaluate the evaluate the optimal stocking density for rearing of the newly hatched Green mandarinfish larvae. Twelve units of 5-litre glass tank were divided into 4 triplicate treatments. The larvae (1.44±0.03 mm standard length(±SE) and1.75±0.03 mm total length (±SE) were stocked in different densities at 5,10,15, and 20 larvae L ˉ¹ of the experiment. The experiment was conducted over a period of 30 days. The results showed that stocking densities affect survival of the larvae (p<0.05) but there were no significant differences in growth and development (metamorphosis) of the larvae among treatments (p>0.05). The larvae at a stocking density of 15 larvae Lˉ¹ had the lowest survival rate (3.56±1.09%ᵇ) while there were no significant differences in survival rates (±SE) at stocking densities of 5 (10.67±1.09%ᵃ),10 (6.67±1.33ᵃᵇ), and 20 larvae Lˉ¹ (7.00±2.08%), respectively. Average final standard length (±SE) and total length(±SE) in mm. of the larvae from 4 treatment were 4.56±0.16,4.05±0.51,5.00±0.07, 4.43±0.64 and 5.73±0.17, 5.25±0.64, 6.37±0.06, 5.60±0.83, respectively. The earliest metamorphosis of the larvae occurred within 13.67±2.19 days (±SE) while the latest metamorphosis occurred within 24.67±2.67 days. The overall results suggest that stocking density at 20 larvae Lˉ¹ of the Green mandarinfish larvae can be considered to obtain the highest production without any effects on survival, growth and development. th_TH
dc.description.sponsorship ภายใต้แผนงานวิจัยการพัฒนาเทคโนโลยีการเพาะเลี้ยงปลาแมนดาริน, Synchiropus splendidus (Herre, 1927) เพื่อการอนุรักษ์และการผลิตเชิงพาณิชย์ en
dc.language.iso th th_TH
dc.publisher สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล มหาวิทยาลัยบูรพา th_TH
dc.subject ปลา - -การเจริญเติบโต th_TH
dc.subject ปลาแมนดาริน th_TH
dc.subject สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา th_TH
dc.title ผลของความหนาแน่นของลูกปลา โรติเฟอร์ และระยะเวลาเปลี่ยนชนิดของอาหารต่ออัตรารอดและการเจริญเติบโตของลูกปลาแมดาริน, Synchiropus splendidus (Herre, 1927) th_TH
dc.title.alternative Effects of larval density, rotifer density and weaning age on survival rate and growth of mandarinfish, Synchiropus splendidus (Herre, 1927) larvae en
dc.type Research th_TH
dc.year 2557


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account