Abstract:
จากที่ได้คัดเลือกเชื้อแอคติมัยซีทที่สามารถสรา้งสารออกฤทธิ์ยับยั้งจุลินทรีย์ และที่ได้แยกเชื้อได้ไหม จากป่าชายเลนในอำเภอขนอม จังหวัดนครศรีธรรมราช มาศึกษาเพื่อพัฒนาการผลิตเซลล์ เพื่อการวิเคราะห์หาสารต้านอนุมูลอิสระ ปริมาณกรดไขมัน และเพื่อหาสูตรโครงสร้างของสาร การศึกษาการเลี้ยงในอาหารชนิดต่าง ๆ และในอาหารที่มี pH ต่างๆ กันพบว่า ในอาหาร ISP2 เป็นอาหารที่แอคติโนมัยซีทเจริญได้ดีเป็นส่วนใหญ่ และ pH ระหว่าง pH 7.5-8.0 เป็นช่วง pH ที่แอคติโนมัยซีทสร้างสารออกฤทธิ์ได้ดีที่สุด แม้ในบางไอโซเลต pH ไม่มีผลต่อการสรา้งสารก็ตาม แอคติโนมัยซีทที่แยกเชื้อได้ใหม่นั้น รวมทั้งหมด 52 ไอโซเลต และในจำนวนนี้มี 27 ไอโซเลตที่สามารถสรา้งสารออกฤทธิ์ยับยั้งจุลินทรีย์ (คิดเป็น 51.2%) การสร้างแอคติโนมัยซีทปริมาณมากเพื่อการวิเคราะห์สารต้านอนุมูลอิสระ และการวิเคราะห์กรดไขมัน ในโครงการที่ 3 และโครงการที่ 3 และโครงการที่ 4 นั้น ได้ปริมาณเซลล์ (wet weight) รวมทั้งหมด 833.26 กรัม จากอาหารเลี้ยงเชื้อ 14.850 ลิตร จากจำนวนเชื้อแอคติโนมัยซีททั้งหมด 25 ไอโซเลต ส่วนการศึกษาการเจริญของยีสต์ BS6-1 และ BS6-2 นั้น การเลี้ยงใน YM ซึ่งเป็นอาหารสำเร็จรูปให้ปริมาณเซลล์ได้มากกว่า เมื่อเลี้ยงด้วยกากชานอ้อย ภายในเวลาที่เท่ากัน