DSpace Repository

การเปรียบเทียบประสิทธิภาพการรักษาระหว่างการทำกายภาพบำบัดและการนวดแผนไทยในผู้ป่วยปวดคอระยะกึ่งเฉียบพลันและเรื้อรัง

Show simple item record

dc.contributor.author สุพรรณี อำนวยพรสถิตย์ th
dc.contributor.author จารุวรรณ กิตติวราวุฒิ th
dc.contributor.author พลอยชนก ปทุมานนท์ th
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะแพทยศาสตร์
dc.date.accessioned 2019-03-25T09:07:03Z
dc.date.available 2019-03-25T09:07:03Z
dc.date.issued 2556
dc.identifier.uri http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1420
dc.description.abstract การศึกษาวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบควบคุมสุ่ม โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพการรักษาระหว่างการทำกายภาพบำบัดด้วยวิธีอัลตร้าซาวน์และการนวดแผนไทยแบบราชสำนัก ในผู้ป่วยที่มีอาการปวดคอระยะกึ่งเฉียบพลันและเรื้อรัง ในช่วงอายุ 30-65 ปี จำนวน 48 คน แบ่งเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มละ 24 คน กลุ่มที่ 1 ได้รับการรักษาโดยวิธีการนวดไทยแบบราชสำนักและประคบสมุนไพร รวมเวลาประมาณ 30-40 นาที กลุ่มที่ 2 ได้รับการประคบร้อน 15-20 นาที และทำอัลตร้าซาวน์บริเวณจุดปวด 1-3 จุด จุดละ 10 นาที ด้วยคลื่นความถี่ 1 MHz ความแรงไฟฟ้า 1 watt/cm2 รวมระยะเวลาให้การบำบัดประมาณ 30-50 นาที ให้การบำบัดจำนวน 2 ครั้ง/สัปดาห์ ห่างกันอย่างน้อย 2 วัน เป็นระยะเวลารวม 4 สัปดาห์ และผู้เข้าร่วมวิจัยจะได้รับการประเมินโดยให้ตอบแบบสอบถามเกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคล ความรุนของอาการปวด (Visual Analog Scale) ดัชนีชี้วัดความบกพร่องในการทำงานของคอ (Neck disability index-Thai version) และคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย (thai SF-36 version 2) ที่ระยะเวลาก่อนการรักษา หลังการรักษาที่เวลา 2 และ 4 สัปดาห์ตามลำดับ ผลการวิจัยพบว่า การนวดไทยแบบราชสำนักและการทำกายภาพบำบัดด้วยเครื่องมืออัลตราซาวน์ต่างเพิ่มประสิทธิภาพในการลดอาการปวด ลดดัชนีชี้วัดความบกพร่องในการทำงานของคอและเพิ่มคุณภาพชีวิตทางด้านร่างกายและทางจิตใจอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) โดยพบประสิทธิภาพการบำบัดตั้งแต่ที่เวลา 2 สัปดาห์หลังการบำบัด และประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้นที่เวลา 4 สัปดาห์หลังการบำบัด โดยกลุ่มที่ได่้รับการทำกายภาพบำบัดนั้นมีค่าความแตกต่างของประสิทธิภาพสูงกว่ากลุ่มนวดไทยในทุก ๆ ด้านเล็กน้อย แต่ยังไม่พบความแตกต่างทางด้านคลินิกชัดเจน ดังนั้นจากผลการศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นถึงว่าการนวดไทยแบบราชสำนักร่วมกับการประคบสมุนไพรและการทำกายภาพบำบัดด้วยเครื่องมืออัลตราซาวน์ร่วมกับการประคบร้อนเป็นทางเลือกในกลุ่มผู้ป่วยที่มีอาการปวดคอกึ่งเฉียบพลันและเรื้อรัง th_TH
dc.description.sponsorship งานวิจัยฉบับนี้ได้รับทุนสนับสนุนจากคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา งบประมาณเงินรายได้ ประจำปีงบประมาณ 2555 en
dc.language.iso th th_TH
dc.publisher คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา th_TH
dc.subject การทำกายภาพบำบัด th_TH
dc.subject การนวด - - ไทย th_TH
dc.subject ปวดคอ th_TH
dc.subject สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ th_TH
dc.title การเปรียบเทียบประสิทธิภาพการรักษาระหว่างการทำกายภาพบำบัดและการนวดแผนไทยในผู้ป่วยปวดคอระยะกึ่งเฉียบพลันและเรื้อรัง th_TH
dc.title.alternative Comparison of the effectiveness between physical therapy and traditional Thai massage in patients with subacute and chronic mechanical neck pain en
dc.type Research
dc.year 2556
dc.description.abstractalternative The purpose of this randomize clinical trial is to study the effectiveness of traditional Thai massage compared with ultrasound therapy among patients with subacute and chronic mechanical neck pain in age between 30-65 years old divided into 2 groups equally in total 48 cases. One group was treated with traditional Thai massage with herb compression about 30-40 minutes and the other group was treated with warm compression 15-20 minutes with ultrasound in 1-3 trigger or tender points by 10 minutes per point, total treatment time about 30-50 minutes. The both frequency of treatments are 2 times/week for 4 weeks separated at least 2 days in each treatment and the subjects was complete the questionnaire about personal data, pain severity, neck disability and quality of life in before treatment, 2 weeks and 4 weeks after treatment. The research showed that traditional Thai massage with herb compression and ultrasound therapy with warm compression had statistical significant (p<0.05) in the effects of decreasing in pain severity, improving in neck disability and quality of life both physical and mental health since the second week of treatment and more effective at the fourth week of treatment. Moreover the data showed that the physical therapy had a little bit more effect than traditional Thai massage in every aspect by statistical at time difference, however no clinical significant. The conclusion is traditional Thai massage with herb compression and ultrasound therapy with warm compression are the optional treatments for the patients with subacute and chronic mechanical neck pain. en


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account