การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต พ.ศ. 2549 คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ใน 4 ด้าน คือ 1) ด้านบริบทของหลักสูตร 2) ด้ายปัจจัยนำเข้าของหลักสูตร 3) นกระบวนการการบริหารและการจัดการเรียนการสอน 4) ด้านผลลัพธ์ของหลักสูตรใช้วิธีการวิเคราะห์หลักสูตร แบบซิปป์ (CIPP Model) ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ มีจำนวนประชากรทั้งสิ้น 327 คน คือ 1) กลุ่มผู้เชี่ยวชาญตามคุณสมบัติที่กำหนด และกลุ่มผู้บริหารหลักสูตร2) กลุ่มอาจารย์ผู้สอนประจำหลักสูตรและกลุ่มอาจารย์พิเศษสถาบันร่วมผลิตแพทย์ 3) กลุ่มผู้ใช้บัณฑิตสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น (Stratified random sampling) และกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างจากตารางกำหนดกลุ่มตัวอย่าง ของเครจ์ซี่และมอร์แกน (Krejcie and Morgan, 1960) ได้จำนวนกลุ่มตัวอย่าง 175 คน ระยะเวลาที่ใช้ในการศึกษาตั้งแต่เดือน มีนาคม พ.ศ. 2556- กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557 เครื่องมือประกอบด้วย แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ ผ่านการพิจารณาเครื่องมือ ค่าความเชื่อมั่น 0.92 สถิคิที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ การวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการศึกษาวิจัย พบว่า
1. ด้านบริบทของหลักสูตร ทุกกลุ่มมีความเห็นสอดคล้องกันว่า มีความเหมาะสมและความพึงพอใจในระดับมากและสุงกว่าเกณฑ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านเนื้อหาวิชา แนวคิดพื้นฐานของหลักสูตร และจุดมุ่งหมายของหลักสูตร สำหรับด้านโครงสร้งหลักสูตร มีความเห็นว่าจำนวนหน่วยกิตมากเกินไปและแผนการเรียนรู้ ชั้นคลินิกควรปรับลดภาคทฤษฎีในชั้นปีที่ 6 และเน้นภาคปฏิบัติให้มากขึ้น
2. ด้านปัจจัยนำเข้า ทุกกลุ่มมีความเห็นสอดคล้องกันว่า มีความเหมาะสมและความพึงพอใจในระดับมากและสูงกว่าเกณฑ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านผู้สอน สำหรับด้านผู้เรียน ควรพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ เนื่องจากบางคนขาดทักษะในการปรับตัวทำให้ผลการเรียนไม่ดีหรือลาออกก่อนจบหลักสูตร
3. ด้านกระบวนการจัดการการเรียนการสอน ทุกกลุ่มมีความเห็นสอดคล้องกันว่ามีความเหมาะสมและความพึงพอใจในระดับมากและสูงกว่าเกณฑ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านการประเมินหลักสูตร สำหรับด้านการประเมินการสอน ควรพัฒนาระบบการประเมินการสอนให้ผู้สอนมีความเชื่อมั่นและสามารถนำผลการประเมินไปใช้ในการพัฒนาตนเองและการจัดการเรียนรู้ สอนให้มีคุณภาพยิ่งขึ้น และพัฒนาวิธีการและการจัดการเรียนรู้ให้นิสิตแพทย์ได้พัฒนาด้านความรู้ ความสามารถ และทักษะทางปัญญาให้มากขึ้น
4. ด้านผลที่ได้จากการใช้หลักสูตร ทุกกลุ่มมีความเห็นสอดคล้องกันว่า มีความเหมาะสมและความพึงพอใจในระดับมากและสูงกว่าเกณฑ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ด้านประสิทธิผลหรือผลผลิตของหลักสูตรโดยสัดส่วนของผู้เรียนที่การสำเร็จการศึกษาตามหลักสูตรมีจำนวนมากและสามารถสอบใบประกอบวิชาชีพเวชกรรมได้ร้อยละ 100 และผลการประเมินของผู้ใช้บัณฑิต พบว่า มีความพึงพอใจในระดับมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในด้านคุณธรรม จริยธรรมของบัณฑิตแพทย์
สรุป หลักสูตรแพทย์ศาสตรบัณฑิต ฉบับ พ.ศ. 2549 ของคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา มีผลการประเมิน จากนิสิตแพทย์ บัณฑิตแพทย์ อาจารย์ อาจารย์พิเศษ ผู้เชี่ยวชาญและผู้บริหารหลักสูตร ในภาพรวมในระดับ มากและสูงกว่าเกณฑ์ และมีข้อเสนอแนะให้คิดตามประเมินผลลัพธ์ของหลักสูตรในระยะต่อไป.
The purpose of this research was to evaluate the Doctor of Medicine Prgrame B.E.2549 at Faculty of Medicine, Burapha University by using CIPP Evaluation Model which included context, input, process and product. The 175 samples were stratified random sampling from 327 person of 1) expertise and program administrators 2) lecturers and special teachers 3) students and graduates in 2012
4) graduates’ employers by using Krejcie and Morgan table for determining sample size. The research instruments were considered by Burapha University’s Ethics Committee, it consisted of the a document analyze, questionnaire and semi-construction question for interview, statistics including frequency, percentage, mean, standard deviation, and content analysis were used for data analysis. It revealed that ;
1. Context evaluation found that the perspective of all groups were appropriate and satisfied more than minimum criteria and in high level, especially in content of subjects, fundamental of curriculum and purpose of curriculum. In structure of curriculum, and study showed that have too many credits and learning plan should be reduce theoretical in sixth year of clinical level and increase practical learning more.
2. Input evaluation found that the perspective of all groups were appropriate and satisfied more than minimum criteria and in high level, especially in lecturer factor, On the contrary, in student factor should developing interpersonal skill and responsibility because of some students lack of these skills affected to achievement of their learning and drop out.
3. Process evaluation found that the perspective of all groups were appropriate and satisfied more than minimum criteria and in high level, especially in curriculum evaluation. By the way, the lecturer evaluation should develop the reliable lecturer evaluation system for improving by themselves. Moreover, the faculty should be developed variety of learning process for enhance cognitive domain and critical thinking skill of the medical students.
4. Product evaluation found that the perspective of all groups were appropriate and satisfied more than minimum criteria and in high level, especially in efficiency of curriculum by all of graduates had pass the National License of Medicine 100% and satisfaction of the graduates’ employers were in high level, especially in ethics.
In conclusion, finding of A Curriculum Evaluation of the B.E.2549 in Doctor of Medicine Program at Faculty of Medicine, Burapha University showed that all groups were appropriate and satisfied more than minimum criteria at high level in all aspects. The expertise suggestion to follow up and than should be impact evaluation in long term.